ทูไนท์ ไลฟ์
ทูไนท์ ไลฟ์ (อังกฤษ: 2 Nite Live) เป็นรายการเสนอเพลงมิวสิกวิดีโอของค่ายอาร์เอส ออกอากาศสด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 ทางช่อง 7 สี ทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี[2] จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 และได้ย้ายมาออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[3] จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โดยออกอากาศทุกคืนวันเสาร์และวันอาทิตย์ในเวลา 00.40-01.55 น.[4] พิธีกรซีซั่นที่ 1
ซีซั่นที่ 2 [5]
ซีซั่นที่ 3
ป๊อป ซีซั่นที่ 4
ช่วงต่างๆ ในรายการซีซั่นที่ 1 (2548 - 31 มกราคม 2551)เป็นการสัมภาษณ์และตอบปัญหาชีวิตเกี่ยวกับวัยรุ่นจากทางบ้านพร้อมทั้งมีการตั้งประเด็นปัญหาหรือเรื่องราว สถานการณ์ต่างๆผ่านทางSMS ในรูปแบบ ปลดทุกข์ ระบายสุข ซีซั่นที่ 2 (6 กุมภาพันธ์ - 28 กันยายน 2551)เปิดประเด็นจะมีการสำรวจว่าเรื่องที่เป็นประเด็นในแต่ละครั้งมีความคิดเห็นอย่างไร โดยมีตัวเลือก 2 ตัวเลือก (ซึ่งเปลี่ยนไปตามหัวข้อนั้นๆ) และพิธีกรแต่ละคนจะต้องอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งจะมีการเปิดเผยผลโพลในช่วงท้ายของแต่ละช่วงว่าผลโพลฝ่ายใดมากกว่ากัน และในช่วงสุดท้ายของรายการถ้าฝ่ายใดมีผลโพลน้อยกว่าจะต้องถูกลงโทษ (เช่น จับสิ่งของภายในกล่องโดยปิดตา) เป็นต้น ช่วงสัมภาษณ์ศิลปินเป็นการสัมภาษณ์ศิลปินหรือนักแสดงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น แต่ในซีซั่นนี้พิธีกรจะเชิญศิลปินที่เข้ามาสัมภาษณ์มาอยู่ฝ่ายของพิธีกรคนนั้นๆ ซีซั่นที่ 3 (4 ตุลาคม 2551 - เมษายน 2553)รูปแบบรายการในซีซั่นที่3 จะมีทั้งหมด2แบบ
ฮอต ฮอต ฮอต (Hot Hot Hot)เป็นการนำเสนอมิวสิกวีดีโอที่มาใหม่หรือกำลังได้รับความนิยมในขณะนั้น โดยจะเปิดเพลงสลับกับช่วงต่างๆ ของรายการ ประตูเดา (Amazing Door)ในช่วงนี้จะเปิดมิวสิกวีดีโอแล้วให้ผู้ร่วมสนุกทายว่าสิ่งที่เห็นอยู่ในมิวสิกวีดีโอช่วงนั้น โดยจะมีปรัศนีออกมา 2 คน ให้ผู้ร่วมสนุกเลือกมา 1 คน ถ้าเป็นคำตอบที่ถูกต้อง จะได้รับของรางวัลจากทางรายการ Was up Man และ น็อค น็อค น็อค (Knock Knock Knock)เป็นการนำเสนอข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับศิลปินค่ายอาร์เอสและวัยรุ่น แต่ในช่วง น็อค น็อค น็อค จะมีการร่วมสนุกจากผู้ชมทางบ้าน โดยถ้าเป็นคำตอบที่ถูกต้อง จะได้รับของรางวัลจากทางรายการ 1900 Okeช่วงนี้จะให้ผู้ชมสามารถฝากเสียงร้องคาราโอเกะ โดยจะมีเพลงโจทย์กำหนดให้ในแต่ละเดือนๆละ4เพลง โดยเมื่อถึงสิ้นเดือนนั้นๆ จะทำการตัดสินว่าใครจะได้ของรางวัลไป โดยพิธีกรทั้งหมดจะเป็นคนตัดสิน แต่ถ้าวันนั้นมีแขกรับเชิญมาร่วมรายการก็จะให้แขกรับเชิญเป็นผู้ตัดสินให้ ช่วงสัมภาษณ์ศิลปินเป็นการสัมภาษณ์ศิลปินหรือนักแสดงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น ซีซั่นที่ 4 (พฤษภาคม 2553 - มิถุนายน 2554)ดาวประจำเดือนสัมภาษณ์และเจาลึกศิลปินคนนั้น ทั้งหมด 8 เทปหรือ 1 เดือนเต็ม เป็นการสอบถาม อัปเดตข่าวคราวของศิลปินคนนั้นรวมถึงเสียงสัมภาษณ์ผ่านโทรศัพท์นั่นเอง ฟังเพลงร้อนก่อนใครช่วงนี้เป็นช่วงแรกที่เปิดตัวเพลงหรือศิลปินใหม่ จะมีการสัมภาทย์ในบางเทป เม้น มัน มันช่วงที่อัปเดตข่าวคราวของศิลปินในค่าย RS และ Kamikaze ทั้งหมด ช่วงนี้แบ่งออกเป็นหลายรอบของรายการ หมายความว่าช่วงนี้อาจจะมีมากกว่า 2 - 3 รอบต่อคืน เด็กมีปัญหาเป็นช่วงที่ผู้เล่นมีส่วนร่วมมากอีกช่วงนึง เป็นการโทรเข้ามาถามปัญหาแก่พิธีกรให้ตอบ หากถามแล้วพิธีกรตอบไม่ได้เกิน 2 ข้อก็ได้เสื้อจากร้าน Pixara และมีการถามคำถามกลับไปให้ผู้ชมส่ง SMS มาร่วมที่ 4747333 อีกด้วย จัดไป วัยรุ่นช่วงแจกของแบบเดียวกับช่วงแจกแหลก เมื่อซีซี่นที่ผ่านมา แต่กติกามีอยู่ว่าต้องใช้เสียงรอสายของบริการ SUPER MAO *339 ของ RS ก่อน ส่วนรางวัลจะเป็นเสื้อจากศิลปินต่าง ๆ ข่าวด่วนชวนเล่าเรื่องช่วงของการรายงานบรรยากาศสดภาคสนาม จากสถานที่ต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์แต่ละเรื่อง เช่น การเมือง กิจกรรม หรืองานประเพณีต่างๆ รวมไปถึงเรื่องราวเกี่ยวกับต่างประเทศและกีฬา เกร็ดข้อมูล
กระแสวิพากย์วิจารณ์นับตั้งแต่ ทูไนท์ไลฟ์ เริ่มออกอากาศครั้งแรก ได้มีกระแสวิพากย์วิจารณ์ในแง่ลบเกี่ยวกับเรื่องการลอกเลียนรูปแบบรายการ โดยเฉพาะการลอกเลียนรูปแบบรายการไฟว์ไลฟ์ ซึ่งมีลักษณะรูปแบบที่เหมือนกัน โดยรูปแบบรายการทูไนท์ ไลฟ์เมื่อครั้งที่ออกอากาศทางช่อง 7 สีนั้นเป็นมีลักษณะคล้ายกับไฟว์ไลฟ์ รูปแบบปรึกษาปัญหาคลายทุกข์ ซึ่งมีพิธีกรคือ นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล และ ภูวนาท คุนผลิน โดยทูไนท์ ไลฟ์ และ ไฟว์ไลฟ์ ในขณะนั้นต่างมีรูปแบบรายการที่ปรึกษาปัญหาจากผู้ฟังทางบ้านเหมือนกัน จนกระทั่งทั้ง 2 รายการได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการทำให้กระแสวิจารณ์ด้านการลอกเลียนรายการได้ยุติลง ในปัจจุบัน ทูไนท์ ไลฟ์ ยังคงมีการลอกเลียนรายการไฟว์ไลฟ์ อย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบของซีซั่นที่ 3 เนื้อหาบางช่วงได้มีการจงใจลอกเลียนรูปแบบของไฟว์ไลฟ์อย่างเห็นได้ชัดเช่น
นอกจากจะลอกเลียนรูปแบบรายการแล้วนั้น ทูไนท์ ไลฟ์ ได้ลอกเลียนสัญลักษณ์ของช่อง NBC จากสหรัฐอเมริกา โดยเปลี่ยนหัวนกยูงเป็นรูปโคนเห็ด แทน อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia