ต้อกระจก(cataract) ภาพขยายของต้อกระจกในดวงตามนุษย์ ที่เห็นได้จากการตรวจตาด้วยแสงจากโคมร่องแสงโดยการใช้การส่องสว่างแบบกระจาย สาขาวิชา จักษุวิทยา , ทัศนมาตรศาสตร์ อาการ Faded colors, blurry vision, halos around light, trouble with bright lights, trouble seeing at night[ 1] ภาวะแทรกซ้อน การพลัดตกหกล้ม , ซึมเศร้า , ตาบอด [ 2] [ 3] การตั้งต้น ค่อยเป็นค่อยไป[ 1] สาเหตุ ความชรา , การบาดเจ็บ , การรับรังสี , ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดตา, พันธุกรรม[ 1] [ 4] [ 5] ปัจจัยเสี่ยง โรคเบาหวาน , การสูบบุหรี่ , การได้รับแสงแดด ต่อเนื่องยาวนาน, การดื่มสุรา[ 1] วิธีวินิจฉัย Eye examination [ 1] การป้องกัน Sunglasses , proper diet, not smoking[ 1] การรักษา Glasses , cataract surgery [ 1] ความชุก 60 ล้าน (2015)[ 6]
ต้อกระจก เป็นโรคของตา อย่างหนึ่ง คือภาวะที่เกิดความขุ่น ขึ้นที่เลนส์ตา หรือปลอกหุ้มเลนส์ตา ซึ่งปกติจะมีความใส เมื่อขุ่นแล้วจะทำให้แสงผ่านได้แย่กว่าปกติ มีผลกระทบต่อการมองเห็น ต้อกระจกมักจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และอาจเกิดขึ้นในตาเพียงข้างเดียว หรือสองข้าง[ 1] โดยอาการอาจะประกอบไปด้วยสีภาพที่มองเห็นจางลง ภาพมัวขุ่นหรือมีภาพซ้อน มีปัญหากับแสงจ้า และมองเห็นในที่มืดได้ไม่ดี[ 1] ซึ่งอาการเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการขับขี่ การอ่าน หรือการจดจำใบหน้า[ 7] การมองเห็นที่ไม่ดีที่เกิดจากต้อกระจกอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการล้มเพิ่มขึ้น และความซึมเศร้า [ 2] ต้อกระจกเป็นสาเหตุของอาการตาบอดร้อยละ 50 และร้อยละ 33 เป็นสาเหตุของความบกพร่องทางสายตาของประชากรมนุษย์ทั่วโลก[ 3] [ 8]
ต้อกระจกสว่นมากนั้นมีเหตุมาจากอายุที่มากขึ้น แต่ยังอาจเกิดขึ้นได้จากการบาดเจ็บหรือการสัมผัสรับกัมมันตภาพรังสี ยังสามารถมีมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดตา[ 1] [ 4] โดยต้อกระจกนั้นมีปัจจัยเสี่ยงที่ประกอบไปด้วยโรคเบาหวาน การใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ เป็นระยะเวลานาน การสูบบุหรี่ การได้รัยแสงแดดเป็นเวลานาน และการดื่มแอลกอฮอล์[ 1] กลไกที่อยู่เบื้องหลังของการเกิดต้อกระจกคือการสะสมของกลุ่มโปรตีน หรือสารสีสีเหลืองน้ำตาลภายในชั้นเลนส์ตาที่มีผลให้ลดการผ่านของแสงไปยังจอประสาทตา ซึ่งอยู่ด้านหลังของดวงตา[ 1] การวินิฉัยนั้นทำได้ด้วยการตรวจตา[ 1]
อาการ
ตัวอย่างของทัศนการมองเห็นที่ปกติในทางซ้าย และทัศนการมองเห็นเมื่อเป็นต้อกระจกในด้านขวา
อาการของต้อกระจกนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของต้อกระจก แต่ก็ยังมีอาการร่วมที่เหมือนกัน ผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตา หรือ ต้อกระจกที่นิวเคลียสของแก้วตามีความแข็งเพิ่มขึ้นมักมีอาการการมองเห็นที่ลดลง ต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตามักมีผลต่อการมองเห็นในระยะไหลมากกว่าการมองเห็นระยะใกล้ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังมักเกิดแสงบาดตา เป็นอาการหลักของต้อกระจกในประเภทดังกล่าว[ 9]
ความรุนแรงของการเกิดต้อกระจกจะถูกตัดสินจากการทดสอบการมองเห็นเป็นหลัก หากไม่มีโรคตาอื่น ๆ ประกอบ โดยอาการอื่น ๆ อาจะประกอบด้วยการเปลี่ยนแว่นที่บ่อยครั้ง และเกิดภาพหลอกเป็นวงแหวนสีเนื่องมากจากความชื้นที่ลดลงของเลนส์ตา
ต้อกระจกแต่กำเนิด สามารถทำให้เกิดอาการตามัว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที[ 10]
สาเหตุของการเกิดต้อกระจก
การเกิดต้อกระจกนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุมาการเสื่อมของเลนส์ตา โดยส่วนมากโรคต้อกระจกนี้จะพบกับผู้ทีมีอายุ 65 ปีขึ้นไป บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจากมารดาขณะตั้งครรภ์ หรือการที่กินยาสเตียรอยด์เป็นประจำก็เป็นสาเหตุของการเกิดต้อกระจกได้เช่นกัน[ 1] [ 11]
การวินิจฉัย
การจำแนกประเภท
ภาพตัดขวางที่แสดงถึงตำแหน่งของเลนส์ตาของมนุษย์
ภาพจากการตรวจอัลตราซาวด์ต้อกระจกข้างเดียวของทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ยี่สิบของการตั้งครรภ์
ต้อกระจกอาจเป็นได้บางส่วนหรือเป็นอย่างสมบูรณ์ คงที่หรือเพิ่มความรุนแรง แข็งหรือนิ่ม โดยต้อกระจกชนิดหลักที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมของเลนส์ตาที่เกิดจากอายุนั้นจะเป็นต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตา เกิดการขุ่นของแก้วตาของสารหรือเนื้อ ส่วนที่เป็นเนื้อแก้วตาชั้นนอก และการขุ่นของชั้นเลนส์ที่อยู่รอบนอกสุดซึ่งติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลัง[ 12]
ต้อกระจกประเภทต่างๆ ต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังในตาซ้ายของเด็กชายวัย 8 ปี ต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังในตาซ้ายของเด็กชายวัย 8 ปี
ต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตาของชายอายุ 70 ปี ต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตาของชายอายุ 70 ปี
ต้อกระจกชนิดคอร์ติคอลของชายอายุ 60 ปี ต้อกระจกชนิดคอร์ติคอลของชายอายุ 60 ปี
การย้อนฉายแสงของต้อกระจกชนิดคอร์ติคอล การย้อนฉายแสงของต้อกระจกชนิดคอร์ติคอล
Pต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังของเด็กหญิงอายุ 16 ปีที่เป็นดรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (IDDM) Pต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังของเด็กหญิงอายุ 16 ปีที่เป็นดรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (IDDM)
ต้อกระจกบวมน้ำของชายอายุ 55 ปี ต้อกระจกบวมน้ำของชายอายุ 55 ปี
ต้อกระจกที่ชั้นเลนส์ที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหน้า ซึ่งทำให้เกิดเงาดำ ต้อกระจกที่ชั้นเลนส์ที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหน้า ซึ่งทำให้เกิดเงาดำ
การป้องกัน
ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การได้รับรังสี UVB และการสูบบุหรี่ สามารถแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงได้ แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการป้องกันต้อกระจกที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ การสวมแว่นตากันแดดที่ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต อาจช่วยลดความเร็วในการก่อตัวของต้อกระจกได้[ 13] [ 14] ในขณะที่การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ ในปริมาณที่เหมาะสม (อาทิเช่นวิตามิน ซี เอ และอี)นั้นได้ถูกพิจรณาว่าสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ แต่การทดลองทางคลินิกนั้นไม่ได้พบว่าไม่ได้มีผลช่วย[ 15] แม้ว่าหลักฐานนั้นจะบ่งชี้ไปคนละทาง แต่ยังมีแง่บวกเล็กน้อย สำหรับผลในการป้องกันต้อกระจกด้วยสารอาหารจำวพวกลูทีน และซีอาแซนทิน [ 16] [ 17] [ 18]
ระบาดวิทยา
การสูญเสียปีสุขภาวะ ของโรคต้อกระจกต่อประชากร 100,000 ในปี 2547[ 19] no data
<90
90–180
180–270
270–360
360–450
450–540
540–630
630–720
720–810
810–900
900–990
>990
ต้อกระจกที่มีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนของการตาบอดร้อยละ 51 ของการตาบอดทั่วโลก นับเป็น 20 ล้านคนโดยไปประมาณ[ 20] ต้อกระจกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความทุพพลภาพระดับปานกลาง ถึงรุนแรงในประชากรจำนวนราว 53.8 ล้านคน (2004), ซึ่งราวกว่า 52.2 ล้านคนนั้นอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำ[ 21]
ในหลายประเทศ การบริการศัลยกรรมนั้นมีไม่เพียงพอ และทำให้ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดเป็นอาการตาบอด[ 20] ในขณะในประเทศที่มีบริการศัลยกรรมเพียงพอ การให้ความสำคัญต่อต้อกระจกนั้นยังอาจต่ำ ซึ่งเป็ฯผลให้เกิดการรอคอยที่นาน เกิดอุปสรรคในการได้รับผ่าตัดศัลยกรรม เช่นค่าใช้จ่ายที่สูง การขาดข้อมูล และปัญหาด้านการขนส่งคมนาคมเป็นต้น
ในประเทศไทย จากการสำรวจภาวะตาบอดแห่งชาติ พ.ศ. 2537 พบว่าต้อกระจกนั้นเป็นสาเหตุของของการตาบอดถึงร้อยละ 74.6[ 22] และจากการสำรวจภาวะตาบอดและโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศไทย ในระยะพ.ศ. 2549-2550 พบว่าโรคต้อกระจกยังเป็นสาเหตุตาบอดที่พบมากที่สุด[ 23] โดยมีสาเหตุมาจากการเสื่อมตัวของเลนส์แก้วตาตามวัย[ 22]
ส่วนในสหรัฐอเมริกามีรายงานการเปลี่ยนเลนส์ตาเนื่องจากสาเหตุเกี่ยวข้องทางด้านอายุว่าในร้อยละ 42 นั้นอยู่ในระหว่างอายุ 52 ถึง 64[ 24] 60% between the ages 65 and 74,[ 25] และกว่าร้อยละ 91 นั้นอยู่ในระหว่างอายุ 75 และ 85[ 24] ต้อกระจกส่งผลกระทบประชากรชาวอเมริกันที่มีอายุ 40 และมากกว่าราว 22 ล้านคน และมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรอเมริกันที่มีอายุ 80 ขึ้นไปนั้นเป็นป่วยเป็นโรคต้อกระจก ค่ารักษาพยาบาลโดยตรงสำหรับการรักษาต้อกระจกในสหรัฐนั้นสูงถึง 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี[ 26]
ในพื้นที่บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออก ต้อกระจกนั้นเป็นสาเหตุของการตาบอดกว่าร้อยละ 51 ของการตาบอดทั้งหมดในพื้นที่ดังกล่าว การเข้าถึงการรักษาและการดูแลจักษุเวชในหลายประเทศในพื้นที่นั้นมีอยู่อย่างจำกัด[ 27]
ต้อกระจกที่มีความเกี่ยวข้องกับวัยเด็กนั้นมีส่วนของการตาบอดในเด็กร้อยละ 5 ถึง 20 ทั่วทั้งโลก[ 28]
อ้างอิง
↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 "Facts About Cataract" . ธันวาคม 2009. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2015. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015 .
↑ 2.0 2.1 Gimbel, HV; Dardzhikova, AA (January 2011). "Consequences of waiting for cataract surgery". Current Opinion in Ophthalmology . 22 (1): 28–30. doi :10.1097/icu.0b013e328341425d . PMID 21076306 . S2CID 205670956 .
↑ 3.0 3.1 "Visual impairment and blindness Fact Sheet N°282" . August 2014. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2015. สืบค้นเมื่อ 23 May 2015 .
↑ 4.0 4.1 "Priority eye diseases" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 24 May 2015. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015 .
↑ Chan, WH; Biswas, S; Ashworth, JL; Lloyd, IC (April 2012). "Congenital and infantile cataract: aetiology and management". European Journal of Pediatrics . 171 (4): 625–30. doi :10.1007/s00431-012-1700-1 . PMID 22383071 .
↑ Vos, Theo; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015" . Lancet . 388 (10053): 1545–1602. doi :10.1016/S0140-6736(16)31678-6 . PMC 5055577 . PMID 27733282 .
↑ Allen D, Vasavada A (2006). "Cataract and surgery for cataract" . BMJ . 333 (7559): 128–32. doi :10.1136/bmj.333.7559.128 . PMC 1502210 . PMID 16840470 .
↑ Global Data on Visual Impairments 2010 (PDF) . WHO. 2012. p. 6. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31.
↑ "Posterior Supcapsular Cataract" . Digital Reference of Ophthalmology . Edward S. Harkness Eye Institute, Department of Ophthalmology of Columbia University. 2003. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2013. สืบค้นเมื่อ 2 April 2013 .
↑ Mohammadpour, M; Shaabani, A; Sahraian, A; Momenaei, B; Tayebi, F; Bayat, R; Mirshahi, R (June 2019). "Updates on managements of pediatric cataract" . Journal of Current Ophthalmology . 31 (2): 118–26. doi :10.1016/j.joco.2018.11.005 . PMC 6611931 . PMID 31317088 .
↑ "Priority eye diseases" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 24 May 2015. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015 .
↑ สอไชยยศ, สุปราณี. "ผลงานประกอบการพิจารณาประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ" (PDF) . สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครฯ. สืบค้นเมื่อ 24 May 2022 .
↑ Neale RE, Purdie JL, Hirst LW, Green AC (November 2003). "Sun exposure as a risk factor for nuclear cataract". Epidemiology . 14 (6): 707–12. doi :10.1097/01.ede.0000086881.84657.98 . PMID 14569187 . S2CID 40041207 .
↑ Javitt JC, Wang F, West SK (1996). "Blindness Due to Cataract: Epidemiology and Prevention" . Annual Review of Public Health . 17 : 159–77. doi :10.1146/annurev.pu.17.050196.001111 . PMID 8724222 . Cited in Five-Year Agenda for the National Eye Health Education Program (NEHEP) , p. B-2; National Eye Institute, U.S. National Institutes of Health
↑ Mathew MC, Ervin AM, Tao J, Davis RM (Jun 13, 2012). "Antioxidant vitamin supplementation for preventing and slowing the progression of age-related cataract" . Cochrane Database of Systematic Reviews . 6 (6): CD004567. doi :10.1002/14651858.CD004567.pub2 . PMC 4410744 . PMID 22696344 .
↑ Barker FM (August 2010). "Dietary supplementation: effects on visual performance and occurrence of AMD and cataracts". Curr. Med. Res. Opin . 26 (8): 2011–23. doi :10.1185/03007995.2010.494549 . PMID 20590393 . S2CID 206965363 .
↑ Ma, L.; Hao, Z.; Liu, R.; Yu, R.; Shi, Q.; Pan, J. (2013). "A dose–response meta-analysis of dietary lutein and zeaxanthin intake in relation to risk of age-related cataract". Graefe's Archive for Clinical and Experimental Ophthalmology . 252 (1): 63–70. doi :10.1007/s00417-013-2492-3 . PMID 24150707 . S2CID 13634941 .
↑ Hayashi, R. (2014-11-01). "The Effects of Lutein in Preventing Cataract Progression". ใน Babizhayev, M. A.; Li, D. W.-C.; Kasus-Jacobi, A.; Žorić, L.; Alió, J. L. (บ.ก.). Studies on the Cornea and Lens . Oxidative Stress in Applied Basic Research and Clinical Practice. pp. 317–26. doi :10.1007/978-1-4939-1935-2_17 . ISBN 9781493919345 .
↑ "Death and DALY estimates for 2004 by cause for WHO Member States" (xls) . World Health Organization . who.int. 2004.
↑ 20.0 20.1 "Priority eye diseases: Cataract" . Prevention of Blindness and Visual Impairment . World Health Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-05-24.
↑ The global burden of disease : 2004 update . Geneva, Switzerland: World Health Organization. 2008. p. 35 . ISBN 978-9241563710 .
↑ 22.0 22.1 ตีระวัฒนานนท์, กัลยา; บุตรชน, รักมณี; ศิริสมุด, ขวัญใจ; ฉายเกล็ดแก้ว, อุษา; ตีระวัฒนานนท์, ยศ (กรกฎาคม–สิงหาคม 2022). "การเข้าถึงและปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมในประเทศไทย" . วารสารวิชาการสาธาณสุข . 20 (1): 54–56. สืบค้นเมื่อ 25 May 2022 .
↑ "ร่างรายงานโครงการศึกษาวิจัยแผนการลงทุนด้านสุขภาพในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ". สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (10): 278–297.
↑ 24.0 24.1 Sperduto RD, Seigel D (Jul 1980). "Senile lens and senile macular changes in a population-based sample" . Am. J. Ophthalmol . 90 (1): 86–91. doi :10.1016/s0002-9394(14)75081-0 . PMID 7395962 .
↑ Kahn HA, Leibowitz HM, Ganley JP, Kini MM, Colton T, Nickerson RS, Dawber TR (Jul 1977). "The Framingham Eye Study. I. Outline and major prevalence findings". Am. J. Epidemiol . 106 (1): 17–32. doi :10.1093/oxfordjournals.aje.a112428 . PMID 879158 .
↑ "Eye Health Statistics at a Glance" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ March 17, 2015.
↑ "Health Topics: Cataract" . World Health Organization – Eastern Mediterranean Regional Office. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27.
↑ Liu, Yu-Chi; Wilkins, Mark; Kim, Terry; Malyugin, Boris; Mehta, Jodhbir S (2017). "Cataracts". The Lancet . 390 (10094): 600–12. doi :10.1016/S0140-6736(17)30544-5 . PMID 28242111 . S2CID 208790600 .
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค ทรัพยากรภายนอก