ตำบลไทรโยค
ไทรโยค เป็น 1 ใน 7 ตำบลของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติไทรโยค และมีพื้นที่ในอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลแห่งที่ 2 ของอำเภอไทรโยค คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต ![]() ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลไทรโยคมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
![]() ประวัติในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จประพาสต้นทางชลมารคเหนือลำน้ำแควน้อยมาถึงน้ำตกไทรโยค ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีชื่อแต่อย่างใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรและเห็นต้นไทรที่ขึ้นอยู่ริมธารน้ำตก ซึ่งขณะนั้นถูกกระแสลมที่ชาวบ้านเรียกว่า "ลมโยกข้าวเบา" พัดโยกไปโยกมา จึงตั้งชื่อน้ำตกว่า "น้ำตกไทรโยค" จากข้อมูลดังกล่าว น่าสันนิษฐานได้ว่า จากเหตุที่ธรรมชาติที่มีลมพัดต้นไทรโยกไปโยกมาจึงเป็นที่มาของน้ำตกไทรโยค จึงตั้งตำบลตามชื่อน้ำตกไทรโยคว่า "ตำบลไทรโยค" "ไทรโยค" ชื่อเมืองที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นเมือง 1 ใน 7 ด่านของกาญจนบุรี ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์เพราะได้ตั้งให้พวกมอญอาสา มอญเชลยและกะเหรี่ยงเป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง เพื่อให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปเมืองพม่าว่ามีหัวเมืองแน่นหนาหลายชั้น และมีหน้าที่คอยตระเวน ด่านฟังข่าวคราวข้าศึกติดต่อกันโดยตลอด เมื่อสงครามว่างเว้นลงแล้ว เจ้าเมืองกรมการเหล่านี้ก็มีหน้าที่ส่งส่วย ทองคำ ดีบุกและสิ่งอื่นๆแก่รัฐบาล โดยเหตุที่ในสมัยนั้นมิได้จัดเก็บภาษีอากรจากพวกเหล่านี้แต่อย่างใด เมืองด่าน 7 เมือง ประกอบด้วยเมืองในแควน้อย 6 เมืองกับแควใหญ่ 1 เมืองคือ เมืองสิงห์ เมืองลุ่มสุ่ม เมืองท่าตะกั่ว เมืองไทรโยค เมืองท่าขนุน เมืองทองผาภูมิ เมืองท่ากระดาน เมืองต่างๆ เหล่าน้ีผู้สำเร็จราชการเมืองยังไม่มีพระนาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาษาสันสกฤตแก่ผู้สำเร็จเมือง ดังนี้
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ เมืองไทรโยคจึงได้ลดฐานะลงเป็น "อำเภอไทรโยค" ต่อมาไทรโยคได้ลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2449 ขึ้นกับอำเภอสังขละบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอทองผาภูมิ)[1][2] ในปี พ.ศ. 2467 ได้ยุบอำเภอสังขละบุรีลงเป็นกิ่งและตั้งอำเภอวังกะขึ้นแทน จึงให้โอนกิ่งอำเภอไทรโยคไปขึ้นกับอำเภอวังกะ (ปัจจุบันคืออำเภอสังขละบุรี)[3] และให้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยคจากที่ตำบลไทรโยค ไปที่ตำบลแม่กระบาล จนถึงปี พ.ศ. 2479 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค อำเภอวังกะ จากตำบลแม่กระบาล ไปตั้งที่บ้านวังโพ ของตำบลลุ่มสุ่มและโอนย้ายกิ่งอำเภอไทรโยค ของอำเภอวังกะ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี[4] ก่อนที่จะจัดตั้งกิ่งอำเภอไทรโยคขึ้นเป็น อำเภอไทรโยค ในปี พ.ศ. 2506 โดยตั้งศูนย์ราชการทั้งหมดไว้ที่ตำบลลุ่มสุ่ม ![]() การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคตำบลไทรโยคแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ตำบลไทรโยคมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลตำบลไทรโยค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรโยคทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลไทรโยคที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[5] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลไทรโยคในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[6] เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลไทรโยคมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลไทรโยคได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลไทรโยค[7] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และมีผลในวันที่ 31 สิงหาคม ปีเดียวกัน ประชากรพื้นที่ตำบลไทรโยคประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 11,220 คน แบ่งเป็นชาย 5,849 คน หญิง 5,371 คน (เดือนธันวาคม 2565)[8] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในอำเภอไทรโยค
* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia