ตำบลตรัง
ตรัง เป็นตำบลของอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ 15.64 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็น 9,775.1 ไร่) และมีเขตการปกครองทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลตรังมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[2]
ประวัติสมัยก่อนพระยายามูซึ่งเป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน ให้ราษฎรซึ่งมีอาชีพทำนา นำฟางข้าวหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ซัง ที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวมากองไว้กลางหมู่บ้าน เรียกว่า "กองซัง" และใช้กองซังนี้เป็นจุดนัดพบชาวบ้าน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านกองซัง" ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น "บ้านตรัง"[3] จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่บ้านด้านทิศใต้ของตำบลตรัง ได้แก่ หมู่ 4 บ้านบูดน และหมู่ 5 บ้านมะหุด รวม 2 หมู่บ้าน ตั้งขึ้นเป็น ตำบลปะโด[4] โดยตั้งเป็นหมู่ที่ 1–2 ตำบลปะโด ตามลำดับ การแบ่งเขตการปกครองการปกครองท้องที่ตำบลตรังแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ตำบลตรัง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลตรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรังทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลตรัง ที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[5] ใน พ.ศ. 2538 สภาตำบลตรังมี 4 หมู่บ้าน พื้นที่ 15.64 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2,872 คน และ 576 ครัวเรือน[6] พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลตรังอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตรังใน พ.ศ. 2540[7] ประชากรพื้นที่ตำบลตรังประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 3,342 คน แบ่งเป็นชาย 1,700 คน หญิง 1,642 คน (เดือนธันวาคม 2566)[8] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 11 ในอำเภอมายอ
* พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ประชากรในตำบลตรังส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 75 พบศาสนิกชนอยู่มากที่หมู่ 1, 3 และ 4 และมีประชากรนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 25 อาศัยอยู่ที่หมู่ 2 โดยมีมัสยิดทั้งหมด 5 แห่ง บาลาเซาะห์ 5 แห่ง และวัดพุทธหนึ่งแห่ง คือ วัดประเวศน์ภูผา ตั้งอยู่หมู่ 2[16] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia