ตับอักเสบ อี
ตับอักเสบ อี (อังกฤษ: Hepatitis E) เป็นตับอักเสบที่เกิดจากการการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า hepatitis E virus (HEV) HEV เป็นไวรัส RNA สายเดียวประเภท positive-sense มีรูปทรงแบบ icosahedral และมีขนาดจีโนม 7.5 กิโลเบส HEV ใช้ช่องทางแพร่เชื่อผ่านอุจจาระ/ช่องปาก เป็นไวรัสตับอักเสบหนึ่งในห้าชนิดที่รู้จักกันดี (A, B, C, D และ E) การติดเชื้อที่มีการบันทึกไว้ครั้งแรกเกิดใน ค.ศ. 1955 ณ เมืองนิวเดลี ประเทศอินเดีย[1] วัคซีน (HEV 239) สำหรับป้องกันไวรัสนี้ได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศจีน ชีววิทยาเชิงโมเลกุลแม้ว่าเดิมจะถูกจัดอยู่ในวงศ์ Caliciviridae ไวรัสถูกจัดอยู่ในสกุล Hepevirus และถูกย้ายไปอยู่ในวงศ์ Hepeviridae ตัวไวรัสเองเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่ไม่มีเปลือกห่อหุ้ม ขนาดจีโนมมีความยาวราว 7,200 เบส มีลักษณะเป็นโมเลกุล RNA สายเดี่ยวแบบ polyadenylated ที่มี open reading frames (ORFs) สามช่วงที่ไม่เชื่อมต่อและทับซ้อนกันตามแนว 5' and 3' cis-acting elements ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจำลองตัวของ HEV และในกระบวนการ transcription
โครงสร้างสามมิติระดับอะตอมของโปรตีนที่เป็น capsid ในอนุภาคที่เป็นไวรัสถูกค้นพบและตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2009[2] อย่างไรก็ดียังไม่มีระบบเพาะเลี้ยงแบบ in vitro สปีซีส์ภายใต้สกุลของไวรัสนี้สามารถก่อโรคในคน หมู หมูป่า กวาง หนู กระต่าย และนก[3] ระบาดวิทยาการจัดจำแนกมีเพียงซีโรไทป์เดียวแต่จัดจำแนกโดยลำดับนิวคลีโอไทด์ของจีโนม[4] Genotype 1 แบ่งออกเป็นชนิดย่อยห้าชนิด Genotype 2 แบ่งออกเป็นชนิดย่อย 2 ชนิด Genotype 3 แบ่งออกเป็นชนิดย่อย 10 ชนิด Genotype 4 แบ่งออกเป็นชนิดย่อย 7 ชนิด
พันธุศาสตร์ประชากรบรรพบุรุษของ Hepatitis E วิวัฒนาการมาระหว่าง 536 ถึง 1,344 ปีมาแล้ว[3] ซึ่งแยกออกเป็นสอง clades - เป็น anthropotropic แบบหนึ่งและ enzootic อีกแบบหนึ่ง - ซึ่งแตกย่อยออกเป็น genotypes 1 และ 2 และ genotypes 3 และ 4 ตามลำดับ เวลาในการแยกในแต่ละ genotypes เป็นดังนี้
สำหรับบรรพบุรุษร่วมกันของแต่ละ genotypes
การที่สายพันธุ์ anthropotropic (genotype 1 และ 2) มีวิวัฒนาการมาใหม่กว่าแสดงว่าไวรัสสายพันธุ์นี้เกิดมาจากสายพันธุ์ zooenosis การใช้สายพันธุ์ไวรัสจากสัตว์ปีกยืนยันความสัมพันธ์ดังกล่าวใน genotypes 1–4 และระบุว่าสกุลดังกล่าวอาจวิวัฒนาการมา 1.36 ล้านปีก่อน (ระหว่าง 0.23 ล้านปีก่อน ถึง 2.6 ล้านปีก่อน)[3] ไวรัสที่แยกได้จากหนูก็ยืนยันข้อมูลนี้ด้วยและประมาณการเวลาที่สายพันธุ์ในคนและหมูแยกจากกันที่ประมาณ 7.44×104 ปีมาแล้ว (อยู่ในช่วงระหว่าง 2.1×104 ถึง 1.4×105 ปีมาแล้ว) เนื่องจากเวลาดังกล่าวสัมพันธ์กับการเริ่มต้นการเกษตรกรรมจึงอาจอนุมานว่าไวรัสเริ่มติดหนูก่อน แล้วจึงติดสุกร สุดท้ายจึงมาติดต่อสู่คน อย่างไรก็ดี ยังมีการศึกษาทดลองเพิ่มเติมเพื่อยืนยันหรือหักล้างข้อสังเกตดังกล่าว genotypes 1,3 และ 4 ต่างเพิ่มจำนวนประชากรในคริสต์ศตวรรษที่ 20 [3] จำนวนประชากรใน genotype 1 เพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วง 30–35 ปีที่ผ่านมา ส่วน genotypes 3 และ 4 เพิ่มประชากรตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วง ค.ศ. 1940–1945 อย่างไรก็ดี genotype 3 ยังมีการเพิ่มจำนวนประชากรอีกจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1960 นับแต่ ค.ศ. 1990 ประชากรในทั้งสอง genotype สดลงไปยังระดับที่พบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อัตราการกลายพันธุ์โดยรวมอยู่ที่ ≈1.4 x 10−3 substitutions/site/year[3] การป้องกันการพัฒนาการสุขาภิบาลเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุด ซึ่งเริ่มจากการกำจัดของเสีย การจัดให้มีน้ำสะอาด การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล และการจัดเตรียมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งก็เป็นวิธีการทั่วไปในการป้องกันโรคอื่นด้วยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งต้องอาศัยเงินทุนขนาดใหญ่และอาจพึ่งพาความช่วยเหลือจากนานาชาติในโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับน้ำประปาและการบำบัดน้ำเสีย มีการพัฒนาและทดลองวัคซีนที่ผลิตจาก recombinant viral proteins ในกลุ่มเสี่ยง (กองทหารของประเทศกำลังพัฒนาแห่งหนึ่ง)[5] เบื้องต้นพบว่าวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพและปลอดภัย แต่โครงการได้ระงับไปด้วยเหตุผลทางการเงิน เนื่องจากตับอักเสบ อี พบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว[6] วัคซีนอีกตัวหนึ่ง (HEV 239 จำหน่ายภายใต้ชื่อ Hecolin โดยผู้พัฒนา Xiamen Innovax Biotech) ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ใน ค.ศ. 2012 โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศจีน หลังจากมีการทดลองเฟสสามในประชาชนสองกลุ่ม กลุ่มละ 50,000 คนจากมณฑลเจียงซู โดยพบว่าไม่มีใครในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนติดเชื้อเลยในระยะเวลา 12 เดือน เทียบกับ 15 คนในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน (แต่ได้รับยาหลอก)[7] วัคซีนลอตแรกออกจากโรงงานของ Innovax ในปลายเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012[6] ผลกระทบมีการติดเชื้อไวรัสตับเอกเสบ อี ราว 20 ล้านรายต่อปีทั่วโลก ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บป่วยราว 3 ล้านราย และถึงตายประมาณ 70,000 คน ซึ่งส่วนมากเป็นอัตรากับหญิงมีครรภ์ซึ่งอัตราการตายมีสูงถึง 20% ไวรัส HEV เป็นสาเหตุหลักของการตายในประเทศกำลังพัฒนาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงมีครรภ์ แม้ว่าจะมีการทดลองวัคซีน HEV รวมถึงการทดลองในเอเชียใต้แสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพและปลอดภัย แต่ว่ายังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ยกเว้นแต่เพียงในประเทศจีน หลังจากการตรวจสอบโดยสำนักงานอาหารและยาของประเทศจีน (State Food and Drug Administration, SFDA) เป็นเวลาปีกว่า ก็อนุญาตให้ใช้วัคซีนได้ในสิ้นปี ค.ศ. 2012 ในสหรัฐอเมริกายังไม่มีการอนุญาตให้ใช้วัคซีนนี้แต่อย่างใด อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ตับอักเสบ อี
|
Portal di Ensiklopedia Dunia