ตลาดแลกเปลี่ยนต่างประเทศ

ตลาดแลกเปลี่ยนต่างประเทศ (อังกฤษ: foreign exchange market, Forex) เป็นตลาดซื้อขายโดยตรง (over-the-counter) และกระจายศูนย์การซื้อขาย (decentralize) ที่ทำการซื้อขายได้ทั่วโลก ทางด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่าง ๆ ตลาดนี้จะทำการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศในทุกสกุลเงิน รวมทั้งการซื้อขายและแลกเปลี่ยนเงินตราที่ราคาปัจจุบันหรือราคาที่กำหนด ในแง่ปริมาณการซื้อขาย ปัจจุบันเป็นตลาดใหญ่สุดในโลก รองลงมาคือตลาดสินเชื่อ (credit market)[1]

ผู้เข้าร่วมหลักในตลาดนี้คือตลาดธนาคารระหว่างประเทศขนาดใหญ่ ศูนย์การเงินทั่วโลกทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายประเภทต่าง ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง ยกเว้นวันหยุดสุดสัปดาห์ เนื่องจากสกุลเงินถูกซื้อขายเป็นคู่ ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศไม่ได้กำหนดมูลค่าที่แท้จริงของสกุลเงิน แต่จะกำหนดมูลค่าสัมพัทธ์โดยการตั้งราคาตลาดของสกุลเงินหนึ่งเมื่อจ่ายด้วยอีกสกุลเงินหนึ่ง[2]

ในการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั่วไป ฝ่ายหนึ่งจะซื้อสกุลเงินจำนวนหนึ่งโดยการชำระด้วยสกุลเงินอีกจำนวนหนึ่ง[3]

ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสมัยใหม่เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดที่รัฐบาลกำหนดต่อธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายใต้ระบบบริหารจัดการทางการเงินของ Bretton Woods ที่ได้วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าและการเงินระหว่างประเทศอุตสาหกรรมหลักของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศต่าง ๆ ค่อย ๆ เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวจากเดิมที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ตามระบบ Bretton Woods[4]

หากเปรียบเทียบระหว่างตลาดแลกเปลี่ยนต่างประเทศกับตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กซึ่งมีปริมาณการซื้อขายต่อวันเฉลี่ยที่ 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หากแต่ตลาด Forex นั้นมีปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ 6.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ดังนั้น ตลาดแลกเปลี่ยนต่างประเทศจึงมีปริมาณการซื้อขายมากกว่าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กประมาณ 200 เท่าตัว[5]

ผู้เล่นหลักในตลาด forex

ธนาคารกลาง

ธนาคารเหล่านี้เป็นตัวแทนของรัฐบาลของประเทศของตนและเป็นผู้เล่นที่สําคัญอย่างยิ่งในตลาดฟอเร็กซ์ ธนาคารกลางมีหน้าที่กําหนดราคาของสกุลเงินของประเทศในฟอเร็กซ์ การดําเนินการใด ๆ ที่ดําเนินการโดยธนาคารกลางในตลาดฟอเร็กซ์จะทําเพื่อรักษาเสถียรภาพหรือเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจของประเทศของตน เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ, ธนาคารกลางยุโรป, ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น[6]

ธนาคารพาณิชย์และวาณิชธนกิจ

ธนาคารขนาดใหญ่เหล่านี้ซึ่งเรียกรวมกันว่าตลาดระหว่างธนาคารพวกเขาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของการซื้อขายปริมาณสกุลเงินทั้งหมด ธนาคารเหล่านี้อํานวยความสะดวกในการทําธุรกรรมฟอเร็กซ์สําหรับลูกค้าและทําการซื้อขายเก็งกําไรจากโต๊ะซื้อขายของตนเอง เช่น ยูบีเอส, เจพีมอร์แกน, ดอยซ์แบงก์

บริษัทข้ามชาติ

บริษัท ที่มีส่วนร่วมในการนําเข้าและส่งออกทําธุรกรรมฟอเร็กซ์เพื่อชําระค่าสินค้าและบริการ

กองทุนป้องกันความเสี่ยง

ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอและกองทุนป้องกันความเสี่ยงซื้อขายสกุลเงินสําหรับบัญชีขนาดใหญ่เช่นกองทุนบําเหน็จบํานาญมูลนิธิและเงินบริจาค ผู้จัดการการลงทุนอาจทําการซื้อขายฟอเร็กซ์เพื่อเก็งกําไรในขณะที่กองทุนป้องกันความเสี่ยงบางแห่งดําเนินการซื้อขายสกุลเงินเก็งกําไรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนของพวกเขา

นักเทรดรายบุคคล / นักเทรดรายย่อย

อ้างอิง

  1. Record, Neil, Currency Overlay (Wiley Finance Series)
  2. "Forex คืออะไร?". thaiforexboard.blogspot.com.
  3. "Forex คืออะไร?". www.mitrade.com.
  4. "การเทรดค่าเงินคืออะไร | Hantec Markets". hmarkets.com. 2022-07-29.
  5. admin (2024-06-06). "Forex คือ? รู้จักตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก". Elite Group Academy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "ใครคือผู้เข้าร่วมในตลาดฟอเร็กซ์?". tradingkey.com (ภาษาอังกฤษ).

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia