"ดิสเลิฟ " (อังกฤษ : This Love ) เป็นเพลงของวงดนตรีแนวป็อปร็อก อเมริกัน มารูนไฟฟ์ เขียนโดยนักร้องนำ แอดัม เลอวีน และมือคีย์บอร์ด เจสซี คาร์ไมเคิล จากอัลบั้มเปิดตัว ซองส์อะเบาต์เจน (ค.ศ. 2002) เพลงบรรเลงนำด้วยเปียโน ตามด้วยเครื่องตีสังเคราะห์ในทันที และตามด้วยเสียงกีตาร์วนซ้ำไปมา
เนื้อเพลงพูดถึงการเลิกรากับแฟนเก่าของเลอวีน เขาเผยว่าเพลงถูกเขียน "ในเวลาที่ใช้เวลากับอารมณ์มากที่สุด" ในชีวิต (most emotionally trying time)[ 1] เขาเล่าว่าในเนื้อเพลงมีความหมกมุ่นในกามารมณ์ (erotic) อย่างที่สุด[ 2] "ดิสเลิฟ" ได้รับการยกย่องอย่างมาก โดยนักวิจารณ์สังเกตจากดนตรี เพลงออกจำหน่ายวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2004 เป็นซิงเกิลที่สองของอัลบั้ม ซองส์อะเบาต์เจน
เพลงขึ้นถึงสิบอันดับแรกในหลายชาร์ต ติดอันดับหนึ่งในชาร์ตย่อยของบิลบอร์ด มากมาย เช่นบนชาร์ตฮอตอะดัลต์ท็อป 40 แทร็กส์ มิวสิกวิดีโอ มีข้อถกเถียงในเรื่องฉากลึกซึ้งระหว่างเขากับแฟนสาวในขณะนั้น "ดิสเลิฟ" ทำให้มารูนไฟฟ์ชนะรางวัลเอ็มทีวีมิวสิกอะวอร์ด สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม แลพเป็นเพลงที่ถูกเปิดมากที่สุดอันดับสามในปี ค.ศ. 2004 เพลงยังได้รางวัลแกรมมี สาขา การขับร้องยอดเยี่ยมโดยศิลปินคู่หรือกลุ่มที่มีนักร้อง ในปี ค.ศ. 2006 และเป็นหนึ่งในเพลงที่ประสบความสำเร็จที่สุดของมารูนไฟฟ์จนถึงปัจจุบัน[ 3]
เบื้องหลัง
"ดิสเลิฟ" เป็นซิงเกิลที่สองจากอัลบั้ม ซองส์อะเบาต์เจน ของมารูนไฟฟ์ จากบทสัมภาษณ์กับเอ็มทีวีนิวส์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2002 นักร้องนำ แอดัม เลอวีน เผยว่าเขาเขียนเพลงนี้ในวันที่คนรักสาวของเขาแยกทางไปเมื่อเขาเลิกรากัน[ 4] ในอีกบทสัมภาษณ์หนึ่ง เลอวีนเผยว่าเพลงเขียนขึ้น "ในเวลาที่ใช้เวลากับอารมณ์มากที่สุด" (most emotionally trying time) ในชีวิต เขายังเสริมว่า "ผมกำลังประสบความสัมพันธ์ที่กำลังจะจบลง แต่จริง ๆ แล้วผมรู้สึกตื่นเต้นเช่นกัน เพราะวงของผมกำลังจะทำเพลง และผมก็ดีใจมากที่จะได้ไปที่สตูดิโออัดเสียง เธอได้ออกจากเมืองไปจริง ๆ ภายในช่วงวันที่ผมกำลังเขียนเนื้อร้องเพลง ดิสเลิฟ ดังนั้นผมจึงอยู่ในสภาวะทางอารมณ์ที่จะเขียนเพลงจากปัญหาเหล่านั้นได้"[ 1]
ดนตรีและเนื้อเพลง
ระหว่างการทำเพลง "ดิสเลิฟ" วงกล่าวว่าเพลงมีอิทธิพลจากนักดนตรี สตีวี วันเดอร์ [ 5] [ 6] ท่อนหลายท่อนเขียนในคีย์ C ฮาร์มอนิกไมเนอร์ และท่อนคอรัสเขียนด้วยคีย์ Eb เมเจอร์ จังหวะดนตรีเป็นอัตราจังหวะ 4 4 (common time) และเร็ว 95 จังหวะต่อนาที [ 7] การเริ่มเพลง "ดิสเลิฟ" เริ่มด้วยความเด่นของเปียโน[ 8] มารูนไฟฟ์เรียก "ดิสเลิฟ" ว่าเป็นเพลงป็อปร็อกโดยพื้นฐาน[ 9] โดยดนตรีที่มีมากกว่าเพลงทั่วไปคือ มีเสียงบิดกีตาร์แบบร็อกอยู่หลายครั้ง[ 5] และถือว่าเป็นเพลงป็อปร็อก[ 10] ที่เต็มไปด้วยอารมณ์[ 3] ตามคำกล่าวของจอห์นนี ลอฟตัส จากเว็บไซต์ออลมิวสิก ดนตรีในเพลงมี "การเลียนแบบจังหวะอาร์แอนด์บีย้อนยุคได้อย่างลื่นไหล ไปสู่เพลงป็อปที่ทรงพลัง"[ 11] ลอฟตัสรู้สึกว่าเพลงนำเสนอ "เสียงดัดของเลอวีนคลอกับเสียงเปียโนที่หนักหน่วงกับเครื่องตีในช่วงท้ายเพลง (ทั้งดนตรีสดและดนตรีสังเคราะห์) ที่เล่นหนุนกัน กล่าวคือมีทั้งท่อนร้องประสานเสียงสูง และเสียงเครื่องสังเคราะห์ที่สนุกสนาน และฟลุต ได้อย่างลงตัว"[ 11] ลอฟตัสยังเสริมว่า เนื้อเพลงมี "เรื่องเพศ" ในท่อนที่ร้องว่า "I tried my best to feed her appetite / To keep her coming every night / So hard to keep her satisfied."[ 11] สตีฟ มอร์ส จากหนังสือพิมพ์เดอะบอสตันโกลบ บรรยายเสียงของเพลงว่าเป็น "นิทานชวนโยกแต่ดูดดื่มเกี่ยวกับการเลิกรา"[ 12] เมแกน บาร์ด จากหนังสือพิมพ์ เดอะเดลีแคมปัส เสริมว่า เพลงมี "เสียงร้องแบบสตีวี วันเดอร์ และจังหวะอาร์แอนด์บีที่ฟังออกเป็นฟังก์"[ 6] ในเพลงฉบับขยาย ยาว 4 นาที 26 วินาที สามารถได้ยินท่อนคอรัสของซิงเกิลต่อไป "ชีวิลบีเลิฟด์ " ตั้งแต่นาทีที่ 3:21 ถึง 3:42 ในระหว่างท่อนจบเพลง[ 13]
ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารโรลลิงสโตน เมื่อถามเกี่ยวกับเนื้อเพลงที่ร้องว่า "Keep her coming every night" และ "Sinking my fingertips into every inch of you" เลอวีนกล่าวว่า "ใช่แล้ว มันเป็นเรื่องเพศแน่นอน ผมเบื่อกับเนื้อเพลงธรรมดาที่ว่า 'Ooh, baby' และ 'I love you' และอะไร ๆ กำกวมแบบนี้ ผมคิดว่ายิ่งผมทำให้ชัดเจนโดยไม่ได้ต้องชัดเจนที่สุดนั้นเป็นวิธีการที่ใช้ได้แล้ว สาวน้อยทั้งหลายจะชอบมัน และมันคงจะไม่เข้าหูของปู่ย่าตายายผมเลย แต่กับแฟนเก่าของผมแล้ว มันเหมือนเอาอิฐหนักหนึ่งตันทุบเข้าที่ศีรษะของเธอ มันสมบูรณ์แบบดี"[ 2] เขายังให้ความเห็นกับการที่เอ็มทีวีเล่นและแก้เพลงให้เข้ากับมิวสิกวิดีโอ โดยใส่ตัดคำว่า coming ออกจากท่อนที่ว่า "keep her coming every night" ด้วย[ 5] เลอวีนกล่าวว่า "ตอนนี้เอ็มทีวีเพิ่งแก้ไขภาษาไป พวกเขาไม่ให้ผมพูด 'keep her coming every night' และนำคำว่า sinking ออกจาก 'sinking my fingertips' มันเหมือนกับจีนคอมมิวนิสต์เลย มันพิลึกสิ้นดี"[ 2]
การตอบรับ
เพลงได้รับคำยกย่องจากนักวิจารณ์เพลง ในบทวิจารณ์อัลบั้มจากนิตยสารโรลลิงสโตน คริสเตียน ฮอร์ด เขียนว่า "ความเคลิบเคลิ้มโรแมนติกแบบในเมือง ของแอดัม เลอวีน ใช้ได้ผลเมื่อวงของเขาเริ่มทำเพลงขึ้นมาจริง ๆ เสียที อย่างเพลง 'ดิสเลิฟ' ที่ใช้เปียโนและกีตาร์แบบเจมส์ บราวน์สร้างฐานซึ่งเลอวีนสามารถครอบงำความงาม (รวมถึงตัวเขา) ได้"[ 14] เจสัน ทอมสัน จากป็อปแมตเทอส์ ออกความเห็นว่า ในเพลง "ดิสเลิฟ" และ "มัสต์เก็ตเอาต์" เจสซี คาร์ไมเคิล มือคีย์บอร์ด "ทำให้นึกถึงงานของบริตนีย์ สเปียส์ และเดอะนิวแรดิคัลส์ ตามลำดับ"[ 15] แซม เบเรสกี จากหนังสือพิมพ์เดลีโลโบ ซึ่งดูจะกระตือรือร้นเรื่องอัลบั้มน้อยกว่าคนอื่น ยกย่องวงต่อเพลง "ดิสเลิฟ" ว่า "'ดิสเลิฟ' เป็นเพลงแรกที่ชวนนึกย้อนไปที่ดนตรีแบบแบ็กบีต (backbeat) อย่างเพลง "ซูเปอร์สติชัน " ของสตีวี วันเดอร์ มันอาจชวนให้เต้นแท็ป โยกศีรษะ หรือแม้กระทั่งส่ายก้น ถ้าเล่นเสียงดัง ๆ"[ 16]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004 นักดนตรี จอห์น เมเยอร์ กล่าวกับนิตยสารโรลลิงสโตน ว่า เขาชอบอัลบั้มซองส์อะเบาต์เจน เมเยอร์ยังมีทัศนคติที่ดีต่อเพลงดังกล่าว "เมื่อผมได้ฟังเพลง 'ดิสเลิฟ' มันเป็นดั่งสถานการณ์ที่จุดชนวนระเบิดแล้วถอยออกมา มันเป็นเพลงที่สมบูรณ์แบบเพลงหนึ่งที่คุณอยากจะเขียนขึ้น"[ 5] ซิงเกิลนี้ยังเพิ่มเสน่ห์ให้วงมารูนไฟฟ์ และช่วยให้วงเป็นหนึ่งในวงดนตรีแจ้งเกิดใน ค.ศ. 2004[ 3] เพลงยังถูกทำใหม่โดยคานเย เวสต์ ตั้งชื่อว่า "ดิสเลิฟ (รีมิกซ์โดยคานเย เวสต์)" เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004[ 17] วงได้ออกอีพีชื่อ 1.22.03.อะคูสติก ซึ่งมีเพลง "ดิสเลิฟ" ในฉบับอะคูสติก[ 18] เพลงยังถูกบรรจุในวิดีโอเกม กีตาร์ฮีโร: ออนทัวร์ ใน ค.ศ. 2008 ด้วย[ 19]
บนชาร์ตเพลง
ซิงเกิลออกอากาศในวิทยุในอเมริกาเหนือในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 แม้ว่ามิวสิกวิดีโอจะออกใน 6 เดือนถัดมา[ 20] "ดิสเลิฟ" ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด ฮอต 100 ขึ้นถึงอันดับที่ 5[ 21] เพลงฉบับรีมิกซ์โดยจูเนียร์ แวสเคซ ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอตแดนซ์มิวสิก/คลับเพลย์ [ 22] เพลงยังขึ้นชาร์ตฮอตแดนซ์แอร์เพลย์ ที่อันดับ 18 ด้วย[ 23] "ดิสเลิฟ" ขึ้นอันดับหนึ่งบนบิลบอร์ดท็อป 40 เมนสตรีม [ 11] เพลงยังขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอตอะดัลต์ท็อป 40 แทร็กส์ [ 11] [ 22] และค้างอยู่ตรงนั้นนาน 10 สัปดาห์ เพลงมียอดดาวน์โหลดสูงสุดใน ค.ศ. 2004 ใน ค.ศ. 2007 เพลงกลับเข้าชาร์ตบิลบอร์ดฮอตดิจิตอลซองส์ ที่อันดับ 36[ 23] นับถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 เพลงขายได้ 2,120,000 ชุดในสหรัฐอเมริกา[ 24]
"ดิสเลิฟ" ขึ้นสิบอันดับแรกใน 12 ประเทศ ในสหราชอาณาจักร เพลงขึ้นอันดับ 3 ในชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2004[ 25] [ 26] เพลงขึ้นสิบอันดับแรกในฝรั่งเศส เบลเยียม และออสเตรเลีย[ 27] [ 28] ขึ้นถึงห้าอันดับแรกในนอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย และนิวซีแลนด์[ 27] นอกจากนี้ "ดิสเลิฟ" ยังเข้าชาร์ตในชาร์ตเพลงของประเทศอิตาลี สวิส เยอรมนี และไอร์แลนด์ด้วย[ 28]
มิวสิกวิดีโอ
มิวสิกวิดีโอเพลง "ดิสเลิฟ" กำกับโดยโซฟี มุลเลอร์ วิดีโอรวมฉากร้องเพลงจากวงในสวนที่สร้างขึ้นในสตูดิโอแม็ก เซ็นเน็ต และฉากแอดัม เลอวีนแยกทางกับผู้หญิงคนหนึ่ง[ 1] เลอวีนกล่าวว่า แนวคิดของมิวสิกวิดีโอยึดแบบจากศิลปินพรินซ์ "เรื่องเพศสัมพันธ์ทำให้คนสับสนเช่นกัน วิดีโอตัวนั้นเป็นอะไรที่ป็อปสตาร์มาก ๆ"[ 29]
มิวสิกวิดีโอเพลง "ดิสเลิฟ" มีเลอวีน กับเคลลี แม็กคี คนรักของเขาขณะนั้น ร่วมแสดงในฉากดูดดื่มหลายฉาก วิดีโอมีมุมกล้องที่สร้างสรรค์ โดยเลี่ยงการตรวจสอบจากคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (Federal Communications Commission)[ 30] จากนั้นจึงเกิดวิดีโอฉบับที่ปกปิดฉากดังกล่าวด้วยกลุ่มดอกไม้ที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ เผยแพร่สู่ตลาดที่อนุรักษ์นิยมมากขึ้น[ 31] เมื่อมีคนถามเลอวีนเกี่ยวกับวิดีโอ เลอวีนตอบว่า "มันไม่แปลกนัก และไม่เกี่ยวกับเพศอย่างน่าประหลาดใจ มันดูสะดวกสบายดี ผมไม่ได้เต็มไปด้วยราคะหรืออะไร ซึ่งมันแปลกเพราะผมถ่ายทำร่วมกับแฟนของผม"[ 32]
วิดีโอเป็นที่ถกเถียงจนทำให้นักวิจารณ์ออกความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้[ 32] ซิลเวีย แพตเทอร์สัน จากหนังสือพิมพ์เดอะเดลีเทเลกราฟ บรรยายถึงวิดีโอว่า "วิดีโดป็อปโป๊" (porno-pop video)[ 29] เมื่อไมเคิล แมดเดน มือเบส ได้มีโอกาสออกความเห็นต่อข้อถกเถียงนี้ เขากล่าวว่ามันเป็น "ปฏิกิริยาเกินเหตุที่ไร้สาระ" (an absurd over-reaction)[ 33]
การแสดงสดและการนำมาทำใหม่
แอดัม เลอวีนกำลังร้องเพลง "ดิสเลิฟ" ในงานเนเบอร์ฮูดอินออกูเรชันบอล ค.ศ. 2009
มารูนไฟฟ์แสดงเพลง "ดิสเลิฟ" สดในรายการแซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ ("SNL")[ 34] เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 วงชนะรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอร์ด สาขา ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม จากมิวสิกวิดีโอเพลง "ดิสเลิฟ" ใน ค.ศ. 2004[ 35] [ 36] ในปีเดียวกันนั้น เพลงได้เข้าชิงรางวัลชอยส์ร็อกแทร็ก ในงานประกาศรางวัลทีนชอยส์อะวอดส์ [ 37] จากระบบนีลเซน บีดีเอส "ดิสเลิฟ" ถูกเปิดมากเป็นอันดับที่สามใน ค.ศ. 2004 ทั้งหมด 438,589 ครั้ง[ 38] ในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 48 เพลงชนะรางวัลแกรมมีสาขาขับร้องป็อปยอดเยี่ยมโดยศิลปินคู่หรือกลุ่มที่มีนักร้องนำ[ 39] [ 40]
เพลงดังกล่าวปรากฏเป็นแทร็กในวิดีโอเกม กีตาร์ฮีโร: ออนทัวร์ สำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาดาวน์โหลดเสริมสำหรับเกมกีตาร์ฮีโร 5 (ร่วมกับเกม แบนด์ฮีโร เนื่องจากใช้แคตาล็อกเดียวกัน)
รายชื่อแทร็ก
1. "ดิสเลิฟ" (ฉบับจากอัลบั้ม) 3:27 2. "ดิสเลิฟ" (วิดีโอ) 3:24 3. "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" (อะคูสติก) 4. "เดอะซัน" (อะคูสติก)
ชาร์ตเพลงและการรับรอง
ชาร์ตซิงเกิลประจำสัปดาห์
ชาร์ตประจำปี
ชาร์ต (2004)
ตำแหน่ง
Australia (ARIA)[ 68]
60
Austria (Ö3 Austria Top 40)[ 69]
19
Belgium (Ultratop 50 Flanders)[ 70]
69
Belgium (Ultratop 50 Wallonia)[ 71]
34
Germany (Official German Charts)[ 72]
26
Netherlands (Dutch Top 40)[ 73]
11
Netherlands (Single Top 100)[ 74]
25
New Zealand (Recorded Music NZ)[ 75]
39
Switzerland (Schweizer Hitparade)[ 76]
19
UK Singles (Official Charts Company)[ 77]
39
US Billboard Hot 100[ 78]
4
ยอดขายและการรับรอง
เพลงในรูปแบบอื่น ๆ
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 Moss, Corey (August 21, 2003). "Tattooed, Request-Line-Ringing Fans Afford Maroon 5 Another Video" . MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-02-24. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ 2.0 2.1 2.2 Scaggs, Austin (March 24, 2004). "Q&A: Adam Levine" . Rolling Stone . สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 . [ลิงก์เสีย ]
↑ 3.0 3.1 3.2 D'Angelo, Joe (March 8, 2004). "Maroon 5: A Room Of Their Own" . MTV News. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2004-04-02. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ Moss, Corey (August 27, 2002). "Maroon 5 Aspire To Inspire Sexuality, Crying" . MTV News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Hoard, Christian (May 19, 2004). "Maroon 5's White Funk" . Rolling Stone . สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 . [ลิงก์เสีย ]
↑ 6.0 6.1 Bard, Meghan (April 1, 2003). "Get down with Maroon 5" . The Daily Campus . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ "Maroon 5 Digital Sheet Music: This Love" . Musicnotes. สืบค้นเมื่อ February 11, 2010 .
↑ Batey, Angus (August 14, 2004). "The gonna be famous five" . The Times . p. 1. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 . [ลิงก์เสีย ]
↑ Cairns, Dan (April 22, 2007). "Five wise up in LA" . The Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-11-09. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ "Rick, Star 94.1" . San Diego Reader . Star 94.1 . November 8, 2007. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 "This Love — Maroon 5" . Allmusic . สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ Morse, Steve (May 21, 2004). "Maroon 5" . The Boston Globe . สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ http://home.no/telefonbok9/Maroon5.jpg.mp3
↑ Hoard, Christian (March 11, 2003). "Maroon 5: Songs About Jane" . Rolling Stone . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-12-29. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ Thompson, Jason (June 25, 2002). "Maroon 5: Songs About Jane" . PopMatters . สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ Beresky, Sam (July 31, 2003). "Maroon 5 falls short of their influences" . Daily Lobo . สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 . [ลิงก์เสีย ]
↑ D'Angelo, Joe (May 13, 2004). "Maroon 5 Turn To Kanye West For 'This Love' Remix; Record Track For Spidey" . MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-05-06. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ Moss, Corey (June 7, 2004). "Maroon 5 Plan To Keep It Hot And Steamy In Next Video" . MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2004-12-01. สืบค้นเมื่อ May 5, 2009 .
↑ Lammers, Dirk (June 30, 2008). "For Those About to Rock, Wii Salute You" . Fox News . Associated Press . สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ "Total Request Live". 2004-07-12. 60 นาที. MTV .
↑ "Maroon 5 tops singles chart with record leap" . Billboard . Reuters . May 3, 2007. สืบค้นเมื่อ May 5, 2009 .
↑ 22.0 22.1 "Maroon 5 > Charts & Awards" . Allmusic . สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ 23.0 23.1 "This Love — Maroon 5" . Billboard . Nielsen Business Media, Inc . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ February 15, 2010. สืบค้นเมื่อ February 15, 2010 .
↑ 24.0 24.1 Trust, Gary (June 15, 2014). "Ask Billboard: MAGIC!'s 'Rude' Revives Reggae" . Billboard . Prometheus Global Media.
↑ "Maroon 5 crowns US album charts" . BBC News Online . May 31, 2007. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ "Chart Stats — Maroon 5 - This Love" . Chart Stats. May 1, 2004. สืบค้นเมื่อ May 5, 2009 .
↑ 27.0 27.1 "Maroon 5 - This Love" . Austrian Charts. March 21, 2004. สืบค้นเมื่อ May 5, 2009 .
↑ 28.0 28.1 "Maroon 5 - This Love — Music Charts" . Music Square. สืบค้นเมื่อ May 5, 2009 .
↑ 29.0 29.1 Patterson, Sylvia (August 24, 2007). "Maroon 5: They will be loved" . The Daily Telegraph . สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ Uncensored music video for "This Love" ที่ยูทูบ
↑ "This Love — Maroon 5 - Music Video" . MTV . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-10-06. สืบค้นเมื่อ May 7, 2009 .
↑ 32.0 32.1 D'Angelo, Joe; Evan James (January 26, 2004). "Chart Topping And Topless Girl All Part Of Maroon 5 Singer's Plan" . MTV News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-02-25. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ Bergmann, Caitlin. "An iVillage Exclusive Q&A with Maroon 5" . iVillage . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-08-18. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007 .
↑ "Christina Aguilera/Maroon 5". Saturday Night Live . ฤดูกาล 29 . ตอน 558. 2004-02-21. 90-92 นาที. NBC .
↑ Silverman, Stephen M. (August 30, 2004). "Jay-Z, OutKast Tie for 4 MTV Video Awards" . People . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-06-02. สืบค้นเมื่อ May 5, 2009 .
↑ "OutKast, Jay-Z Big Winners at Patriotic VMAs" . Fox News . August 30, 2004. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ "Maroon 5 to Release Live/Acoustic EP; Nabs Five Teen Choice Nominations; Announces Summer Slate of Television Appearances" . Business Wire . June 8, 2004. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ Vineyard, Jennifer (January 5, 2005). "Usher's 'Yeah!' Was Most Played Song Of 2004" . MTV News . VH1 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ "List of Grammy winners" . CNN: Showbiz/Music . February 9, 2006. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ "Complete List of 48th Annual Grammy Award Winners" . Fox News . Associated Press . February 8, 2006. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
↑ "Maroon 5 – This Love" . ARIA Top 50 Singles .
↑ "Maroon 5 – This Love" (in German). Ö3 Austria Top 40 .
↑ "Maroon 5 – This Love" (in Dutch). Ultratop 50 .
↑ "Maroon 5 – This Love" (in French). Ultratop 50 .
↑ "Maroon 5 – This Love" (in French). Les classement single .
↑ "Top 50 Singles - Εβδομάδα 10-16/10" (ภาษากรีก). IFPI Greece . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-10-17. สืบค้นเมื่อ November 11, 2012 .
↑ "Archívum – Slágerlisták – MAHASZ" (in Hungarian). Rádiós Top 40 játszási lista . Magyar Hanglemezkiadók Szövetsége. สืบค้นเมื่อ December 9, 2010.
↑ "Chart Track: Week 25, 2004" . Irish Singles Chart .
↑ "Maroon 5 – This Love" . Top Digital Download .
↑ "Nederlandse Top 40 – Maroon 5" (in Dutch). Dutch Top 40 .
↑ "Maroon 5 – This Love" (in Dutch). Single Top 100 . สืบค้นเมื่อ October 9, 2015.
↑ "Maroon 5 – This Love" . Top 40 Singles .
↑ "Maroon 5 – This Love" . VG-lista .
↑ "Nielsen Music Control" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ 2015-10-16 .
↑ "Arhiva romanian top 100: Editia 41, saptamina 11.10 - 17.10, 2004" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-01-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-09 .{{cite web }}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์ )
↑ "Official Scottish Singles Sales Chart Top 100" . Official Charts Company . สืบค้นเมื่อ October 9, 2015.
↑ "Maroon 5 – This Love" . Singles Top 100 .
↑ "Maroon 5 – This Love" . Swiss Singles Chart .
↑ "Official Singles Chart Top 100" . Official Charts Company . สืบค้นเมื่อ October 9, 2015.
↑ "Maroon 5 Chart History (Hot 100)" . Billboard .
↑ "Maroon 5 Chart History (Adult Contemporary)" . Billboard .
↑ "Maroon 5 Chart History (Adult Pop Songs)" . Billboard .
↑ "Maroon 5 Chart History (Dance Mix/Show Airplay)" . Billboard .
↑ "Maroon 5 Chart History (Dance Club Songs)" . Billboard .
↑ "Maroon 5 Chart History (Pop Songs)" . Billboard .
↑ "Pop Rock" . Record Report. April 24, 2004. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-24. สืบค้นเมื่อ 2015-05-09 .
↑ "2012년 07주차 Digital Chart" (ภาษาเกาหลี). Gaon Chart . January 5, 2013. สืบค้นเมื่อ October 9, 2015 .
↑ "ARIA Charts - End Of Year Charts" . สืบค้นเมื่อ May 4, 2013 .
↑ "JAHRESHITPARADE SINGLES 2004" . สืบค้นเมื่อ October 9, 2015 .
↑ "JAAROVERZICHTEN 2004" . สืบค้นเมื่อ October 9, 2015 .
↑ "RAPPORTS ANNUELS 2004" . สืบค้นเมื่อ October 9, 2015 .
↑ "TOP 100 SINGLE-JAHRESCHARTS" . สืบค้นเมื่อ October 9, 2015 .
↑ "Top 100-Jaaroverzicht van 2004" (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ October 9, 2015 .
↑ "JAAROVERZICHTEN - SINGLE 2004" (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ October 9, 2015 .
↑ "Top Selling Singles of 2004" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ October 9, 2015 .
↑ "SCHWEIZER JAHRESHITPARADE 2004" . สืบค้นเมื่อ October 9, 2015 .
↑ "End of Year 2004" (PDF) . UKChartsPlus . สืบค้นเมื่อ October 9, 2015 .
↑ "Top 100 Hits of 2004" . สืบค้นเมื่อ September 9, 2014 .
↑ "ARIA Charts – Accreditations – 2004 Singles" (PDF) . Australian Recording Industry Association .
↑ "Canadian single certifications – Maroon 5 – This Love" . Music Canada .
↑ *"South Korea Gaon Chart - 2011 Year End International Download Chart" . Gaon Digital Chart . 2012. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-15. สืบค้นเมื่อ February 11, 2015 .
↑ id MUST BE PROVIDED for UK CERTIFICATION.
↑ "American single certifications – Maroon 5 – This Love" . Recording Industry Association of America .
↑ วิดีโอ ที่ยูทูบ
↑ "This Love/Que Amor (Spanglish Salsa Version) - Single" . Amazon.com . สืบค้นเมื่อ June 20, 2013 .
↑ "Marlow Rosado: Awards" . Allmusic . Rovi. สืบค้นเมื่อ June 20, 2013 .