ซาราธุสตรา

ซาราธุสตรา
อเวสตะ: 𐬰𐬀𐬭𐬀𐬚𐬎𐬱𐬙𐬭𐬀
Zaraθuštra
ภาพวาดยุคศตวรรษที่ 19 ดัดแปลงจากรูปสลักซาราธุสตราของชาวปาร์ซี ในศควรรษที่ 4 จาก Taq-e Bostan ในอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งรูปสลักนี้อาจเป็นมิถรา หรือ Hvare-khshaeta[1]
เกิด1500 – 1000 ปีก่อนคริสตกาล[2][3]
Airyanem Vaejah[4]
เสียชีวิต1500 – 1000 ปีก่อนคริสตกาล[2][3] (aged 77)[5]
Airyanem Vaejah[4]
นับถือ ในศาสนาโซโรอัสเตอร์
ศาสนามาณีกี
ศาสนาบาไฮ
ศาสนามิถรา
อะห์มะดีย์ยะ

ซาราธุสตรา (อเวสตะ: 𐬰𐬀𐬭𐬀𐬚𐬎𐬱𐬙𐬭𐬀 Zaraθuštra) หรือ โซโรอัสเตอร์ (อังกฤษ: Zoroaster), ซาราธุสตรา สะปิตามา (Zarathushtra Spitama) หรือ อะชู ซาราธุสตรา (Ashu Zarathushtra เปอร์เซีย: زرتشت) เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณชาวอิหร่านโบราณที่ก่อตั้งศาสนาโซโรอัสเตอร์ซึ่งมีแนวคิดที่ท้าทายศาสนาอินโด-อิหร่านดั้งเดิมที่มีทั่วไปในขณะนั้น และต่อมาศาสนาโซโรอัสเตอร์กลายเป็นศาสนาที่แพร่หลายและสำคัญในเปอร์เซียโบราณ ซาราธุสตราใช้ภาษาอเวสตะและอาศัยอยู่ในบริเวณทางตะวันออกของที่ราบสูงอิหร่าน ในขณะที่ไม่มีใครทราบสถานที่เกิดของท่าน[6][7]

ไม่เคยมีบันทึกทางวิชาการว่าท่านมีชีวิตอยู่ในยุคไหน[8] แต่จากการประมาณโดยใช้หลักฐานทางสังคม-วัฒนธรรมแล้วพบว่าอยู่ในช่วง 2 พันปีก่อนคริสตกาล การประมาณนี้อ้างจากการประมาณยุคที่มีผู้พูดและใช้ภาษาอเวสตะเก่า (เช่นเดียวกับภาษาโปรโต-อินโด-อิหร่าน และภาษาโปรโต-อิหร่าน ซึ่งมีมาก่อน) และภาษาสันสกฤตแบบพระเวทซึ่งเกี่ยวข้องกันกับภาษาอเวสตะเก่า, จากยุคที่มีการนับถือศาสนาโปรโต-อินโด-อิหร่าน และจากความสัมพันธ์ระหว่างพิธีฝังศพที่ระบุใน Gathas กับ วัฒนธรรมยัซในเชิงโบราณคดี อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการบางส่วนเชื่อว่าท่านมีชีวิตอยู่ในช่วง 700-600 ปีก่อนคริสตกาลใกล้กับยุคใหม่ของ พระเจ้าไซรัสมหาราช และ พระเจ้าดาไรอัสที่ 1[9][2][10][11][12] ศาสนาโซโรอัสเตอร์ในที่สุดก็กลายเป็นศาสนาทางการของเปอร์เซียโบราณและในจักรวรรดิอะคีเมนิดที่อยู่ห่างออกไป ตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7[13]

ชื่อและศัพทมูล

ชื่อในภาษาอเวสตะของโซโรอัสเตอร์น่าจะเป็น ซาราธุสตรา (Zaraϑuštra) ส่วนชื่อ "โซโรอัสเตอร์" ที่ใช้ในภาษาอังกฤษนั้นแปลงมาจากคำทับศัพท์ในภาษากรีกยุค 500 ปีก่อนคริสตกาล Zōroastrēs (Ζωροάστρης)[14] ดังที่พบในงานเขียนของ Xanthus ชื่อว่า Lydiaca (Fragment 32) และในงานเขียนของเพลโตที่ชื่อว่า First Alcibiades (122a1) ชื่อในภาษากรีกนี้ต่อมาปรากฏในภาษาละตินเป็น Zōroastrēs และในศิลปะการสะกดคำแบบ (orthographies) ของกรีกในเวลาต่อมาเป็น Ζωροάστρις โซรออัสตริส

อ้างอิง

  1. Stausberg, Michael (2002), Die Religion Zarathushtras [Zoroaster's religion] (ภาษาเยอรมัน), vol. I, Stuttgart: Kohlhammer Velag, pp. 58–59.
  2. 2.0 2.1 2.2 West 2010, pp. 4–8
  3. 3.0 3.1 Shahbazi 1977, pp. 25–35
  4. 4.0 4.1 Darmesteter, James. Sacred Books of the East (1898). Peterson, Joseph H., Avesta - Zoroastrian Archives: VENDIDAD (English): Fargard 1. [1]
  5. Boyce 1996, pp. 188
  6. West 2010, p. 4
  7. Boyce 1996, pp. 3–4.
  8. West 2013, pp. 89–109
  9. Boyce 1996, p. 3
  10. Lincoln 1991, pp. 149–150: "At present, the majority opinion among scholars probably inclines toward the end of the second millennium or the beginning of the first, although there are still those who hold for a date in the seventh century."
  11. Fischer 2004, pp. 58–59
  12. Goucher, Candice; Walton, Linda (2013), World History: Journeys from Past to Present, Routledge, p. 100, ISBN 978-1-135-08828-6
  13. Boyce 2001, pp. 1–3
  14. Schlerath 1977, pp. 133–135

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia