ซางาเอะ
ซางาเอะ (ญี่ปุ่น: 寒河江市; โรมาจิ: Sagae-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในจังหวัดยามางาตะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 139.03 ตารางกิโลเมตร (53.68 ตารางไมล์) ข้อมูลเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 2020[update] นครซางาเอะมีจำนวนประชากรประมาณ 40,131 คน และมีความหนาแน่นของประชากร 289 คนต่อตารางกิโลเมตร ภูมิศาสตร์ซางาเอะตั้งอยู่ในแอ่งยามางาตะ อยู่ตรงจุดกึ่งกลางทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดยามางาตะ มีอาณาเขตทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาอาซาฮิและเทือกเขาเดวะ และมีอาณาเขตทางด้านตะวันออกเป็นแม่น้ำโมงามิ เทศบาลข้างเคียงภูมิอากาศซางาเอะมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Dfb) มีความแตกต่างของอุณหภูมิในแต่ละฤดูมาก โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นถึงร้อนจัด (และมักจะชื้น) และฤดูหนาวที่หนาวเย็น (บางครั้งอาจหนาวจัด) มีหยาดน้ำฟ้าตกตลอดทั้งปี แต่จะตกหนักที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในซางาเอะอยู่ที่ 8.2 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,579 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 21.3 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ -4.1 °C[1] ประชากรตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[2] จำนวนประชากรของซางาเอะยังคงค่อนข้างคงที่ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา
ประวัติศาสตร์หลังจากเริ่มยุคเมจิ พื้นที่ที่เป็นซางาเอะในปัจจุบัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอนิชิมูรายามะ จังหวัดยามางาตะ มีการจัดตั้งหมู่บ้านซางาเอะขึ้นในระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1893 และได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1954 การเมืองการปกครอง![]() ซางาเอะมีการปกครองแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานิติบัญญัติของเทศบาลซึ่งเป็นระบบสภาเดียวที่มีสมาชิก 16 คน ซางาเอะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดยามางาตะจำนวน 2 ที่นั่ง ในแง่ของการเมืองระดับชาติ ซางาเอะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งยามางาตะที่ 2 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในสภานิติบัญญัติญี่ปุ่น เศรษฐกิจเศรษฐกิจของซางาเอะนั้นขึ้นอยู่กับการเกษตรและการแปรรูปอาหารเป็นหลัก รวมถึงการทำเหล้าสาเก การศึกษาซางาเอะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ได้แก่ โรงเรียนประถม 10 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 3 แห่ง และโรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดยามางาตะ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมปลาย 2 แห่ง การขนส่งรถไฟ
ทางหลวง
สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น![]() ![]()
เมืองพี่น้อง
บุคคลที่มีชื่อเสียง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia