ช่อม่วง

ช่อม่วง
ประเภทขนม ของว่าง
แหล่งกำเนิดไทย
ภูมิภาคภาคกลาง
ผู้สร้างสรรค์ชาววัง
อุณหภูมิเสิร์ฟอุ่น
ส่วนผสมหลักแป้งต่าง ๆ ไส้เนื้อสัตว์หรือหวาน

ช่อม่วง เป็นชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[1] พบในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ดังความว่า[2]

๏ ช่อม่วงเหมาะมีรศ หอมปรากฎกลโกสุม
คิดสีสไบคลุม หุ้มห่มม่วงดวงพุดตาล

ขนมช่อม่วงทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งมันและแป้งท้าวยายม่อม นำมานวดจนเนียน แล้วห่อไส้โดยไส้ของขนมช่อม่วงนิยมทำจากเนื้อสัตว์ นำมาผัดกับเครื่องปรุงรสต่าง ๆ จากนั้นนำไปนึ่งจนสุก บ้างเป็นไส้หวานทำจากฟักเชื่อมและงาขาวคล้ายไส้ขนมเปี๊ยะ ส่วนสีม่วงของขนมช่อม่วงนั้น ได้จากการนำดอกอัญชัน จากนั้นนำมาผสมกับแป้งก่อนนำไปห่อไส้[3] ถ้าเป็นไส้คาวจะเสิร์ฟคู่กับผักชี ผักกาดหอม และพริกขี้หนู แต่ถ้าเป็นไส้หวานนิยมพรมน้ำกะทิลงบนตัวขนมก่อนเสิร์ฟแทน[4]

อ้างอิง

  1. "ช่อม่วง ภูมิหลังอาหารชาววังรูปสวย รวยรส". นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama.
  2. "พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒". วัชรญาณ.
  3. "วิธีทำขนมช่อม่วง สูตรขนมไทยแบบชาววัง".
  4. ณัฐณิชา ทวีมาก. "ถอดรหัส 'อาหารว่างไทย' จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน".

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia