ชินาร์![]() ชินาร์ (อังกฤษ: Shinar, /ˈʃaɪnɑːr/; ฮีบรู: שִׁנְעָר, อักษรโรมัน: Šinʿār, เซปทัวจินต์ Σενναάρ, Sennaár) เป็นภูมิภาคตอนใต้ของเมโสโปเตเมียที่ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรู ศัพทมูลวิทยาคัมภีร์ฮีบรูในภาษาฮีบรู (שנער Šinʿar) เทียบเท่ากับศัพท์ในภาษาอียิปต์ว่า Sngr และฮิตไทต์ Šanḫar(a) ทั้งหมดสื่อถึงเมโสโปเตเมียตอนใต้ นักอัสซีเรียวิทยาบางคนจัดให้ Šinʿar เป็วิธภาษาตะวันตกหรือคำร่วมเชื้อสายของ Šumer (ซูเมอร์) โดยที่คำต้นฉบับเป็นชื่อเรียกประเทศตนเองว่า ki-en-gi(-r) แต่กระนั้นยังคง "เต็มไปด้วยปัญหาทางนิรุกติศาสตร์"[1] Sayce (1895) ระบุ ชินาร์ เป็นคำร่วมเชื้อสายกับชื่อดังนี้: Sangara/Sangar ที่ปรากฏในเนื้อหาการพิชิตในเอเชียของฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 (ศตวรรษที่ 15 ก่อน ค.ศ.); Sanhar/Sankhar ในจดหมายอามาร์นา (ศตวรรษที่ 14 ก่อน ค.ศ.); Singara ของกรีก และซินญารในปัจจุบันที่เมโสโปเตเมียตอนบน ใกล้แม่น้ำคอบูร เขาเสนอว่าชินาร์อยู่ในเมโสโปเตเมียตอนบน แต่ยอมรับว่าคัมภีร์ไบเบิลให้หลักฐานที่สำคัญว่าสถานที่นี้อยู่ในเมโสโปเตเมียตอนล่าง[2][3] Albright (1924) เสนอแนะที่ตั้งเข้ากับอาณาจักรคานา[4] คัมภีร์ฮีบรูชื่อ ชินาร์ ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรู 8 ครั้ง โดยสื่อถึงบาบิโลเนีย[2] ที่ตั้งของชินาร์มีหลักฐานชัดเจนจากคำอธิบายว่าครอบคลุมทั้งบาเบล/บาบิโลน (บาบิโลเนียตอนเหนือ) และเอเรก/อูรุก (บาบิโลเนียตอนใต้)[2] ในหนังสือปฐมกาล 10:10 กล่าวกันว่าจุดเริ่มต้นของอาณาจักรนิมโรดอยู่ที่ "เมืองบาเบล [บาบิโลน] และเมืองเอเรก [อูรุก] และเมืองอัคคัด และเมืองคาลเนห์ ในแผ่นดินชินาร์" โองการที่ 11:2 ระบุว่าชินาร์ตั้งล้อมรอบที่ราบที่กลายเป็นที่ตั้งของหอคอยบาเบลหลังเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ในปฐมกาล 14:1 และ 9 กษัตริย์อัมราเฟลปกครองชินาร์ รายละเอียดนี้ยังปรากฏเพิ่มเติมในหนังสือโยชูวา 7:21; อิสยาห์ 11:11; ดาเนียล 1:2 และเศคาริยาห์ 5:11 ในฐานะคำพ้องความหมายของบาบิโลเนีย JubileesBook of Jubilees 9:3 ระบุชินาร์ (หรือในข้อความภาษาเอธิโอเปียว่า Sadna Sena`or) เป็นอัสชูร์ บุตรเชม Jubilees 10:20 ระบุว่าหอคอยบาเบลสร้างขึ้นด้วยบิทูเมนจากทะเลชินาร์ David Rohl ตั้งทฤษฎีว่าหอคอยตั้งอยู่ที่เอรีดู ซึ่งเคยตั้งอยู่ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย โดยมีซากซิกกุรัตโบราณขนาดใหญ่ที่ทำมาจากบิทูเมน[5] ในวัฒนธรรมร่วมสมัยชื่อภูมิภาคในภาษากรีกมกีารนำไปใช้เป็นชื่อ แชนต์สออฟเซนนาร์ วิดีโอเกมที่มีรูปแบบการเล่าเรื่องจากหอคอยบาเบล[6] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia