ชาวไทยในอียิปต์
ชาวไทยในประเทศอียิปต์ เป็นบุคคลที่มีเชื้อสายหรือสัญชาติไทยที่พำนักอยู่ในประเทศอียิปต์ แบ่งเป็นบุคคลที่เข้ามาศึกษา, ผู้ใช้แรงงาน และผู้พำนักถาวรจากการสมรส ประวัติชาวไทยที่เข้ามาศึกษาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเข้าศึกษาในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงของประเทศอียิปต์ อย่างมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร (Al Azhar University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และมีความเก่าแก่กว่ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร[4] นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยอเมริกัน (The American University in Cairo) และมหาวิทยาลัยไคโรที่มีชื่อเสียงในการศึกษาด้านตะวันออกกลางและอาหรับศึกษา[5] แต่การสมัครเข้าไม่สะดวกนักเพราะสภาการศึกษาของอียิปต์ยังไม่รับรองวุฒิการศึกษาของสถาบันการศึกษาในไทย[6] นอกจากนักศึกษาก็ยังมีชาวไทยที่เข้ามาประกอบอาชีพเช่น ร้านอาหารไทย[7][8] โดยเฉพาะสปาและหมอนวดซึ่งมีชาวไทยทำมากกว่า 300–500 คน[3] รองลงมาคือ ช่างทอง และช่างเพชร หรือบางส่วนได้สมรสกับชาวอียิปต์[3] ซึ่งมีหญิงไทยจำนวนมากสมรสกับชาวอียิปต์ในต่างเมืองโดยมิได้ติดต่อกับสังคมไทยในอียิปต์ตามหัวเมืองใหญ่เลย[3] วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562 เจ้าหน้าที่ตำรวจอียิปต์คุมตัวนักศึกษาไทยจากจังหวัดยะลา เพราะต้องสงสัยว่ามีความเชื่อมโยงกับผู้ก่อการร้ายไอเอส[9][10] วัฒนธรรมชาวไทยในอียิปต์ซึ่งเป็นนักศึกษาทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือเข้ามาประกอบอาชีพส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ในวัฒนธรรมไทยบางอย่างมีข้อแตกต่างกับวัฒนธรรมอาหรับ เช่น การก้มหัวของไทยเป็นที่พึงรังเกียจของชาวอาหรับด้วยมองว่า ขี้ขลาด หรือเรียกว่า "ยับบาน"[3] หรือความอ้วนซึ่งชาวอาหรับนั้นชอบ แต่หญิงไทยมักกลัวความอ้วน[3] เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าอียิปต์จะเป็นประเทศมุสลิมก็ตาม แต่คนที่มิได้นับถือศาสนาอิสลามก็สามารถอยู่ร่วมได้อย่างเป็นสุข[3] ทั้งนี้ทางสถานเอกอัครราชทูตเองก็มีการจัดวันสงกรานต์แก่ชาวไทยในไคโร[11] กิจกรรมชาวไทยในประเทศอียิปต์ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษามุสลิม[12] ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัดโครงการอาหารฮาลาลให้กับนักศึกษาไทยมุสลิมในอียิปต์ พบว่านักศึกษาสามารถทำแผนธุรกิจได้ดีมาก โดยนักศึกษาบางคนอยากกลับไปตั้งโรงเรียน ทำธุรกิจท่องเที่ยว และเป็นล่าม[13] ชาวไทยในอียิปต์ได้เข้าร่วมกิจกรรมวันพ่อ และร่วมเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 85 พรรษา ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ณ สถานทูตไทยกรุงไคโร ในการนี้มีชาวไทยเข้ามาร่วมงานราว 350 คน[14] และในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมไทยในอียิปต์ได้จัดกิจกรรมปั่นเพื่อพ่อ ณ ปิรามิดกีซา โดยมีเจ้าหน้าที่ของอียิปต์คอยอำนวยความสะดวก[15] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia