ชาข้าวบาร์เลย์
ชาข้าวบาร์เลย์ (อังกฤษ: Barley tea) เป็นเครื่องดื่มชงธัญพืชคั่วที่ทำจากเมล็ดข้าวบาร์เลย์ เป็นเครื่องดื่มที่สำคัญในหลายประเทศในเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน[1] มีรสชาติขม[2][1] ในประเทศเกาหลี ชาข้าวบาร์เลย์ดื่มได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น โดยมักจะใช้แทนน้ำดื่มในบ้านและร้านอาหารหลายแห่ง[3][4] ในประเทศญี่ปุ่นมักเสิร์ฟแบบเย็นและเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในฤดูร้อน[5] ชายังมีจำหน่ายทั่วไปในรูปแบบถุงชาหรือบรรจุขวดในเกาหลีและญี่ปุ่น[4][5] ศัพทมูลในประเทศจีน ชาข้าวบาร์เลย์เรียกว่า ต้าไม่ฉา (大麦茶; 大麥茶; dàmài-chá ) หรือ ไม่ฉา (麦茶; 麥茶; mài-chá) ซึ่ง ต้าไม่ (大麦; 大麥; dàmài ) หรือ ไม่ (麦; 麥 mài) มีความหมายว่า "ข้าวบาร์เลย์" และ ฉา (茶; chá) มีความหมายว่า "ชา" ในประเทศญี่ปุ่น ชาข้าวบาร์เลย์เรียกว่า มูงิชะ (麦茶; mugi-cha) ซึ่งใช้อักษรตัวเดียวกันกับอักษรภาษาจีน ไม่ฉา (麦茶; 麥茶; mài-chá) หรือ มูงิยุ (麦湯; むぎゆ; mugi-yu) ซึ่ง ยุ (湯; ゆ; yu) มีความหมายว่า "น้ำร้อน" ในประเทศเกาหลี ชาข้าวบาร์เลย์เรียกว่า โพรีชา (보리차; bori-cha) ซึ่งคำภาษาเกาหลีแท้ โพรี (보리; bori) มีความหมายว่า "ข้าวบาร์เลย์" และคำภาษาเกาหลีที่ยืมจากภาษาจีน ชา (차 ;茶; cha) ใช้อักษรจีนตัวเดียวกันซึ่งมีความหมายว่า "ชา" ในประเทศไต้หวัน ชาข้าวบาร์เลย์เรียกในภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า เบ่อ๊าเต๋ (麥仔茶; be̍h-á-tê) ซึ่ง เบ่อ้า (麥仔; be̍h-á) มีความหมายว่า "ข้าวบาร์เลย์" และ เต๋ (茶; tê) มีความหมายว่า "ชา" ประวัติชนชั้นสูงของญี่ปุ่นบริโภคชาข้าวบาร์เลย์มาตั้งแต่ยุคเฮฮัง[6][7] ซามูไรเริ่มบริโภคชาข้าวบาร์เลย์ในยุคเซ็งโงกุ[8][7] ในช่วงยุคเอโดะ แผงขายของริมทางที่เชี่ยวชาญด้านการทำชาข้าวบาร์เลย์ได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไป[9] [10][7] สินค้าพร้อมดื่มชาข้าวบาร์เลย์สามารถเตรียมได้โดยการต้มเมล็ดข้าวบาร์เลย์ไม่ขัดสีที่คั่วแล้วในน้ำ หรือชงข้าวบาร์เลย์ที่คั่วและบดแล้วในน้ำร้อน ในประเทศญี่ปุ่น ถุงชาที่บรรจุข้าวบาร์เลย์ป่นได้รับความนิยมมากกว่าเมล็ดข้าวบาร์เลย์แบบดั้งเดิมในช่วงต้นทศวรรษ 1980 และยังคงเป็นรูปแบบที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีชาที่บรรจุล่วงหน้าในขวดเพ็ตอีกด้วย ชาบรรจุขวดชาข้าวบาร์เลย์บรรจุขวดมีวางจำหน่ายที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ส่วนใหญ่จำหน่ายในขวดเพ็ต ชาข้าวบาร์เลย์เย็นเป็นเครื่องดื่มฤดูร้อนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น[5] ในประเทศเกาหลี ชาข้าวบาร์เลย์ร้อนบรรจุขวดเพ็ตทนความร้อนมีจำหน่ายในตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและในชั้นวางสินค้าอุ่นในร้านสะดวกซื้อ[11] ชาข้าวบาร์เลย์ผสมและชาที่คล้ายคลึงกันในประเทศเกาหลี เมล็ดข้าวบาร์เลย์คั่วมักจะผสมกับเมล็ดข้าวโพดคั่ว เนื่องจากความหวานของข้าวโพดจะช่วยกลบรสขมเล็กน้อยของข้าวบาร์เลย์ ชาที่ทำจากเมล็ดข้าวโพดคั่วเรียกว่า อกซูซูชา (ชาข้าวโพด) และชาที่ทำจากเมล็ดข้าวโพดคั่วและเมล็ดข้าวบาร์เลย์คั่วเรียกว่า อกซูซูโบรีชา (ชาข้าวบาร์เลย์และข้าวโพด) เครื่องดื่มที่คล้ายกันหลายอย่างที่ทำจากธัญพืชคั่ว ได้แก่ ฮย็อนมีชา (ชาข้าวกล้อง), กย็อลมย็องจาชา (ชาเมล็ดชุมเห็ดจีน) และ เมมิลชา (ชาบักวีต) ชาข้าวบาร์เลย์คั่วขายในรูปแบบป่นและบางครั้งในรูปผสมกับชิโครีหรือส่วนผสมอื่น ๆ ก็มีจำหน่ายในฐานะเครื่องดื่มทดแทนกาแฟ[12] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia