ฉบับร่าง:เจ้าผู้ครองเมืองงาว (ยุคฟื้นฟู)

เจ้าผู้ครอง
แห่งเมืองงาว
ราชาธิปไตยในอดีต

ปฐมกษัตริย์ พระยาฤทธิภิญโญยศ (มหาวงศ์)
องค์สุดท้าย พระยาอุปราช(หนานยศ)
ผู้แต่งตั้ง พระมหากษัตริย์สยาม
เริ่มระบอบ พ.ศ. 2387
สิ้นสุดระบอบ พ.ศ. 2413

เจ้าผู้ครองเมืองงาว (ยุคฟื้นฟู) (พ.ศ. 2387- พ.ศ. 2413) เป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาน้อยอินท์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 8 กับ พระเจ้ามโหตรประเทศ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5 ขณะดำรงพระยศเป็น เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ ได้ลงมายังกรุงเทพมหานครเพื่อทูลขอตั้งเมืองเชียงรายโดยให้เป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว เมืองพะเยา เป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานตั้งเมืองและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาเจ้าผู้ครองเมืองทั้งสามมีพระนามพ้องจองกันดังนี้ เจ้าธรรมลังกา เป็น พระยารัตนอาณาเขตร เจ้าหลวงเมืองเชียงราย เจ้าพุทธวงศ์ เป็น พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าหลวงเมืองพะเยา เจ้าหนานมหาวงศ์เป็น พระยาฤทธิภิญโญยศ เจ้าหลวงเมืองงาว [1]และให้เทครัวราษฏรเมืองนครลำปางมารักษาเมืองงาว

ตำแหน่งเจ้าขันธ์ห้าเมืองงาว

  • เจ้าอุปราช(เจ้าหนานยศ ณ ลำปาง)
  • เจ้าสุริยวงศ์(เจ้าคำลือ ณ ลำปาง)
  • เจ้าราชวงศ์(เจ้าหนานปัญญา ณ ลำปาง)
  • เจ้าบุรีรัตน์(เจ้าเมืองแก้ว ณ ลำปาง)

จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเปลี่ยนอำนาจการบริหารปกครองประเทศใหม่โดยยกเลิกมณฑลเปลี่ยนมาเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองจึงได้ยกเลิกไป พระยาฤทธิภิญโญยศ เจ้าเมืองงาวได้สิ้นสุดลงภายหลังที่ทางการสยามมีการปฏิรูปการปกครองเป็นจังหวัด อำเภอและลดอำนาจการปกครองเมืองงาวเหลือเพียงอำเภอ

สายสกุลเจ้าผู้ครองเมืองงาว

มีการรวบรวมประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองงาวและเจ้าขันธ์ห้าไว้มีทั้งสิ้นดังนี้

  1. ณ ลำปาง สายพระยาฤทธิ์ภิญโญยศ เจ้าหนานมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองเมืองงาว (ยุคฟื้นฟู)
  2. คำลือ ต้นสกุล คือ เจ้าสุริยวงศ์(คำลือ ณ ลำปาง)
  3. เทพสุยะ ต้นสกุล คือ เจ้าเทพสุยะ ณ ลำปาง โอรสเจ้าอุปราช(หนานยศ ณ ลำปาง)

อ้างอิง

  1. "เมืองพะเยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2010-08-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
  • ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia