ฉบับร่าง:สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (อังกฤษ: Energy Policy and Planning Office) หรือ สนพ. เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงพลังงาน มีภารกิจในการศึกษาวิเคราะห์นโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ เป็นศูนย์ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนนั้น ๆ ทั้งยังต้องติดตามความเคลื่อนไหว แนวโน้มและประเมินผลกระทบของสถานการณ์พลังงานเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศต่อไป[1]
ประวัติสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยนโยบายการบริหารพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2529 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ในชื่อ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[4] ต่อมามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2532 มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ให้ยกฐานะสำนักงาน เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดสำนักเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2536 ทำให้สำนักงานยกฐานะเป็น หน่วยงานระดับกรมในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูประบบราชการ และได้จัดตั้งกระทรวงพลังงาน ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อกำกับดูแลบริหารกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพลังงานของชาติ จึงได้โอนย้าย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มาสังกัดกระทรวงพลังงาน และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน จนถึงปัจจุบัน[5] คณะกรรมการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน มีคณะกรรมการซึ่งเป็นกลไกในการบริหารงานด้านพลังงานของประเทศ อยู่ 3 คณะ คือ[6] คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. มีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[7] ![]() คณะกรรมการนโยบายนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในปัจจุบัน มีรายชื่อดังต่อไปนี้[8] คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือ กบง. มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะนโยบาย แผนการบริหารและพัฒนา และมาตรการทางด้านพลังงาน เสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงานและโครงการทางด้านพลังงานของหน่วยงาน รวมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานและโครงการดังกล่าวด้วย จัดตั้งตามคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 4/2545 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2545[9] คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ในปัจจุบัน มีรายชื่อดังต่อไปนี้[10]
คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน หรือ กทอ. มีอำนาจหน้าที่เสนอแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ พิจารณาจัดสรรเงินทุนของกองทุนเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2535[11] คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปัจจุบัน มีรายชื่อดังต่อไปนี้[12]
อำนาจหน้าที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะการกำหนดนโยบาย และแผนเกี่ยวกับพลังงานของประเทศ รวมทั้งมาตรการทางด้านพลังงาน เพื่อให้ประเทศมีพลังงานใช้ อย่างมั่นคง ยั่งยืน เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ ติดตาม ประเมินผล และเป็นศูนย์ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผน การบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ด้านพลังงาน วิเคราะห์แนวโน้ม และประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผน การบริหารและการพัฒนาพลังงานของประเทศ และเผยแพร่สถิติที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน[13] หน่วยงานภายในสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน แบ่งหน่วยงานออกเป็น 8 หน่วยงาน คือ[14]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia