จังหวัดฟูกูชิมะ

จังหวัดฟูกูชิมะ

福島県
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น
 • อักษรญี่ปุ่น福島県
 • โรมาจิFukushima-ken
ธงของจังหวัดฟูกูชิมะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของจังหวัดฟูกูชิมะ
ตรา
เพลง: ฟูกูชิมะเก็งเค็มมินโนะอูตะ
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นเน้นจังหวัดฟูกูชิมะ
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นเน้นจังหวัดฟูกูชิมะ
แผนที่
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภูมิภาคโทโฮกุ
เกาะฮนชู
เมืองหลวงฟูกูชิมะ
เมืองใหญ่สุดอิวากิ
เขตการปกครองย่อยอำเภอ: 13, เทศบาล: 59
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการมาซาโอะ อูจิโบริ
พื้นที่
 • ทั้งหมด13,783.90 ตร.กม. (5,321.99 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 3
ประชากร
 (1 กรกฎาคม ค.ศ. 2023)
 • ทั้งหมด1,771,100 คน
 • อันดับที่ 20
 • ความหนาแน่น128 คน/ตร.กม. (330 คน/ตร.ไมล์)
จีดีพี[1]
 • ทั้งหมดJP¥ 7,987 billion
US$ 73.3 billion (2019)
รหัส ISO 3166JP-07
เว็บไซต์www.pref.fukushima.lg.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกจับแมลงคิ้วเหลือง (Ficedula narcissina)
ดอกไม้เนโมโตชากูนาเงะ (Rhododendron brachycarpum)
ต้นไม้เซลโควาญี่ปุ่น/เคยากิ (Zelkova serrata)

จังหวัดฟูกูชิมะ (ญี่ปุ่น: 福島県โรมาจิFukushima-ken) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคโทโฮกุบนเกาะฮนชู เมืองหลวงอยู่ที่นครฟูกูชิมะ

เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ บริเวณตามชายฝั่งทะเลมีการตกปลาและมีอาหารทะเล มีการผลิตพลังงานเกี่ยวกับไฟฟ้าและเจาะจงที่อุตสาหกรรมที่กำเนิดพลังปรมาณู มีอุตสาหกรรมหนักอยู่หลายแห่ง จังหวัดฟูกูชิมะเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ และเด่นในด้านอาหารทะเล

จากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในจังหวัดมิยางิทางตอนเหนือ จังหวัดฟูกูชิมะได้รับความเสียหายใหญ่หลวงและได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากผลของการประกาศ "ภาวะฉุกเฉินพลังงานนิวเคลียร์" และการอพยพผู้อยู่อาศัยหลายพันคนซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง[2] บางส่วนของโรงไฟฟ้าเกิดระเบิดขึ้นเมื่อเวลา 8.30 น. GMT เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554 และประชาชนอีก 45,000 คนได้รับผลกระทบจากคำสั่งอพยพเพิ่มเติม[3] โรงไฟฟ้าดังกล่าวดำเนินการโดยบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว[2] ตั้งอยู่ในเมืองโอกูมะ อำเภอฟูตาบะ

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

โอยาซูบะโคฟุง

โอยาซูบะโคฟุง ซึ่งเป็นเนินสุสานรูปร่างรูกุญแจ เป็นโคฟุงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคโทโฮกุ ได้รับการกำหนดให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์แห่งชาติของญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 2000[4]

ยุคโบราณและยุคศักดินา

โบสถ์ชิรามิซุอามิดาโด

พื้นที่ของจังหวัดฟูกูชิมะเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นในอดีตที่ชื่อว่า แคว้นมุตสึ เรื่อยมาจนกระถึงการปฏิรูปเมจิ[5]

กำแพงชิรากาวะและกำแพงนาโกโซะถูกสร้างขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 เพื่อป้องกันกลุ่มชนทางเหนือ พื้นที่บริเวณฟูกูชิมะได้กลายเป็นแคว้นมุตสึหลังจากการปฏิรูปปีไทกะที่เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 646[6] ต่อมาใน ค.ศ. 718 ได้ก่อตั้งแคว้นอิวาเซะและแคว้นอิวากิขึ้น แต่พื้นที่เหล่านี้ได้เปลี่ยนกลับไปเป็นของแคว้นมุตสึในช่วงระหว่าง ค.ศ. 722 ถึง 724[7]

ชิรามิซุอามิดาโดเป็นโบสถ์ในวัดกันโจจิ ซึ่งเป็นวัดพุทธที่ตั้งอยู่ในอิวากิ ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1160 นับเป็นสมบัติของชาติ โดยวัดนี้รวมทั้งอุทยานสวรรค์ได้รับการกำหนดให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น[8]

ยุคร่วมสมัย

ภูมิภาคนี้ของญี่ปุ่นเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มิจิโนกุ และโอชู

เมื่อ ค.ศ. 1882 ได้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองฟูกูชิมะ หลังจากที่มิชิมะ มิจิตสึเนะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดฟูกูชิมะในปีเดียวกัน

วิกฤตการณ์นิวเคลียร์

หลังจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เครื่องปฏิกรณ์สองเครื่องจากทั้งหมดหกเครื่องที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งเกิดระเบิดขึ้น ภายหลังแกนเชื้อเพลิงหลอมละลายและเกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่เครื่องปฏิกรณ์อีกสามเครื่อง ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เสียหายนี้ในโอกูมะ จะอยู่ห่างจากนครฟูกูชิมะไปราว 50 ไมล์ จากการขยายพื้นที่อพยพขนาดใหญ่โดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ราษฎรจำนวนมากถึงอพยพไปยังละแวกใกล้เคียง รวมทั้งนครฟูกูชิมะด้วย ระดับกัมมันตรังสีใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สูงสุดที่ 400 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง ซึ่งเป็นระดับกัมมันตรังสีที่สูงที่สุดเท่าที่เคยตรวจวัดในประเทศญี่ปุ่น[9] องค์การระหว่างประเทศได้แสดงความกังวลว่าวิกฤตการณ์ที่ยังคงดำเนินอยู่ในญี่ปุ่นอาจไล่เลี่ยกับอุบัติเหตุที่เชียร์โนบีล ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ถึง 200 ไมล์จากการประมาณครั้งล่าสุด มีคนงานอย่างน้อย 5 คนเสียชีวิตแล้ว และความพยายามช่วยเหลือถูกขัดขวางโดยระดับกัมมันตรังสีที่เพิ่มสูงขึ้น[10]

ภูมิศาสตร์

แผนที่ภูมิประเทศของจังหวัดฟูกูชิมะ
แผนที่ภูมิประเทศของแอ่งฟูกูชิมะ ด้านซ้ายล่างคือเขาอาซูมะโคฟูจิ และเขาชิโนบุที่จะเห็นเป็นพื้นที่สูงที่อยู่โดดเดี่ยวทางตะวันออกเฉียงใต้ของแอ่ง

จังหวัดฟูกูชิมะเป็นทั้งจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภูมิภาคโทโฮกุและเป็นจังหวัดของภูมิภาคโทโฮกุที่อยู่ใกล้กับโตเกียวมากที่สุด ด้วยพื้นที่ 13,784 ตารางกิโลเมตร (5,322 ตารางไมล์) ทำให้เป็นจังหวัดที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสามของญี่ปุ่น รองจากฮกไกโดและจังหวัดอิวาเตะ จังหวัดนี้แบ่งตามแนวเทือกเขาออกเป็นสามภูมิภาค ได้แก่ (จากตะวันตกไปตะวันออก) ไอซุ นากาโดริ และฮามาโดริ จังหวัดฟูกูชิมะมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดยามางาตะและจังหวัดมิยางิทางทิศเหนือ และมีอาณาเขตติดต่อกับภูมิภาคอื่นของญี่ปุ่นอีกสองภูมิภาคได้แก่ชูบุ (จังหวัดนีงาตะ) ทางทิศตะวันตก และคันโต (จังหวัดกุมมะ จังหวัดโทจิงิ และจังหวัดอิบารากิ) ทางทิศใต้ ชายฝั่งด้านตะวันออกติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก

นครฟูกูชิมะตั้งอยู่ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของแอ่งฟูกูชิมะและภูเขาใกล้เคียง เนื่องด้วยที่ตั้งของจังหวัดฟูกูชิมะที่ตั้งอยู่บนตอนกลางของชายฝั่งตะวันออกริมมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เป็นภูมิภาคที่มีกิจกรรมทางธรณีวิทยาสูงเนื่องจากตั้งอยู่ในจุดที่แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกและยูเรเซียชนกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนแห่งไฟ นครไอซูวากามัตสึตั้งอยู่ในส่วนตะวันตกของจังหวัดฟูกูชิมะ ในส่วนตะวันออกเฉียงใต้ของแอ่งไอซุ มีเขาบันไดเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดด้วยความสูง 1,819 เมตร (5,968 ฟุต)[11] มีเขาอาซูมะโคฟูจิ ซึ่งเป็นภูเขาไฟสลับชั้นมีพลัง สูง 1,705 เมตร (5,594 ฟุต) และมีบ่อน้ำพุร้อนอยู่ใกล้เคียง มีทะเลสาบอินาวาชิโระ ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของญี่ปุ่น ด้วยขนาดพื้นที่ 103.3 ตารางกิโลเมตร (39.9 ตารางไมล์) ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางของจังหวัด[12]

ภูมิภาคฮามาโดริตั้งอยู่ริมชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ราบเรียบที่สุด และมีอากาศอบอุ่นที่สุด ในขณะที่ภูมิภาคนากาโดริเป็นศูนย์กลางด้านการเกษตรของจังหวัด และมีเมืองศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดซึ่งก็คือนครฟูกูชิมะตั้งอยู่ และภูมิภาคไอซุมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง มีทะเลสาบที่สวยงาม ป่าไม้เขียวชอุ่ม และฤดูหนาวที่มีหิมะปกคลุม

ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2012 พื้นที่ร้อยละ 13 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดได้รับการกำหนดให้เป็นอุทยานทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติบันได-อาซาฮิ อุทยานแห่งชาตินิกโก อุทยานแห่งชาติโอเซะ กึ่งอุทยานแห่งชาติเอจิโงะ-ซันซัง-ทาดามิ และอุทยานธรรมชาติของจังหวัดอีก 11 แห่ง[13]

ทิวทัศน์แอ่งฟูกูชิมะจากสวนฮานามิยามะ
ทิวทัศน์แอ่งฟูกูชิมะจากสวนฮานามิยามะ 
แอ่งไอซุ
แอ่งไอซุ 
เขาบันไดและทะเลสาบอินาวาชิโระ
ทะเลสาบอินาวาชิโระมองจากเขาบันได
ทะเลสาบอินาวาชิโระมองจากเขาบันได 
แม่น้ำทาดามิและทางรถไฟสายทาดามิในฤดูหนาว

เขตการปกครอง

แผนที่จังหวัดฟูกูชิมะแสดงเทศบาลต่าง ๆ
     นคร      เมือง      หมู่บ้าน

จังหวัดฟูกูชิมะประกอบด้วย 13 นคร 13 อำเภอ 31 เมือง และ 15 หมู่บ้าน พื้นที่ที่แสดงในตารางมาจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2560[14] และจำนวนประชากรที่แสดงในตารางมาจากรายงานสำมะโนประชากรประจำ พ.ศ. 2558 ของสำนักงานสถิติ กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร[15] โดยนครทั้ง 13 แห่งในจังหวัดฟูกูชิมะมีพื้นที่รวมกัน 6,031.54 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43.76 ของพื้นที่จังหวัด และมีประชากรรวม 1,579,063 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 82.50 ของประชากรทั้งจังหวัด

นคร

นคร ภาษาญี่ปุ่น โรมาจิ พื้นที่
(ค.ศ. 2017)[14]
ประชากร
(ค.ศ. 2015)[15]
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
คิตากาตะ 喜多方市 Kitakata-shi 554.63 49,377 89
โคริยามะ 郡山市 Kōriyama-shi 757.20 335,444 443
ชิรากาวะ 白河市 Shirakawa-shi 305.32 61,913 203
ซูกางาวะ 須賀川市 Sukagawa-shi 279.43 77,441 277
โซมะ 相馬市 Sōma-shi 197.79 38,556 195
ดาเตะ 伊達市 Date-shi 265.12 62,400 235
ทามูระ 田村市 Tamura-shi 458.33 38,503 84
นิฮมมัตสึ 二本松市 Nihonmatsu-shi 344.42 58,162 169
ฟูกูชิมะ (เมืองหลวง) 福島市 Fukushima-shi 767.72 294,247 383
มินามิโซมะ 南相馬市 Minamisōma-shi 398.58 57,797 145
โมโตมิยะ 本宮市 Motomiya-shi 88.02 30,924 351
อิวากิ いわき市 Iwaki-shi 1,232.02 350,237 284
ไอซูวากามัตสึ 会津若松市 Aizuwakamatsu-shi 382.97 124,062 324
ทุกนคร 6,031.54 1,579,063 262

อำเภอ เมือง และหมู่บ้าน

จังหวัดฟูกูชิมะมี 13 อำเภอ โดยแต่ละอำเภอมีเขตการปกครองต่าง ๆ ดังนี้

อำเภอ เมือง/หมู่บ้าน ภาษาญี่ปุ่น โรมาจิ พื้นที่
(ค.ศ. 2017)[14]
ประชากร
(ค.ศ. 2015)[15]
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
อำเภอคาวานูมะ 河沼郡 Kawanuma-gun 283.79 23,045 81
คาวานูมะ เมืองยาไนซุ 柳津町 Yanaizu-machi 175.82 3,536 20
คาวานูมะ เมืองไอซูบังเงะ 会津坂下町 Aizubange-machi 91.59 16,303 178
คาวานูมะ หมู่บ้านยูงาวะ 湯川村 Yugawa-mura 16.37 3,206 196
อำเภอโซมะ 相馬郡 Sōma-gun 276.83 8,259 30
โซมะ เมืองชินจิ 新地町 Shinchi-machi 46.70 8,218 176
โซมะ หมู่บ้านอีตาเตะ 飯舘村 Iitate-mura 230.13 41 0
อำเภอดาเตะ 伊達郡 Date-gun 208.62 36,235 174
ดาเตะ เมืองคาวามาตะ 川俣町 Kawamata-machi 127.70 14,452 113
ดาเตะ เมืองคูนิมิ 国見町 Kunimi-machi 37.95 9,512 251
ดาเตะ เมืองโคโอริ 桑折町 Koori-machi 42.97 12,271 286
อำเภอทามูระ 田村郡 Tamura-gun 197.95 28,779 145
ทามูระ เมืองมิฮารุ 三春町 Miharu-machi 72.76 18,304 252
ทามูระ เมืองโอโนะ 小野町 Ono-machi 125.18 10,475 84
อำเภอนิชิชิรากาวะ 西白河郡 Nishishirakawa-gun 306.80 49,188 160
นิชิชิรากาวะ เมืองยาบูกิ 矢吹町 Yabuki-machi 60.40 17,370 288
นิชิชิรากาวะ หมู่บ้านนากาจิมะ 中島村 Nakajima-mura 18.92 5,001 264
นิชิชิรากาวะ หมู่บ้านนิชิโง 西郷村 Nishigō-mura 192.06 20,322 106
นิชิชิรากาวะ หมู่บ้านอิซูมิซากิ 泉崎村 Izumizaki-mura 35.43 6,495 183
อำเภอฟูตาบะ 双葉郡 Futaba-gun 865.71 7,333 8
ฟูตาบะ เมืองโทมิโอกะ 富岡町 Tomioka-machi 68.39 0 0
ฟูตาบะ เมืองนามิเอะ 浪江町 Namie-machi 223.14 0 0
ฟูตาบะ เมืองนาราฮะ 楢葉町 Naraha-machi 103.64 975 9
ฟูตาบะ เมืองฟูตาบะ 双葉町 Futaba-machi 51.42 0 0
ฟูตาบะ เมืองโอกูมะ 大熊町 Ōkuma-machi 78.71 0 0
ฟูตาบะ เมืองฮิโรโนะ 広野町 Hirono-machi 58.69 4,319 74
ฟูตาบะ หมู่บ้านคัตสึราโอะ 葛尾村 Katsurao-mura 84.37 18 0
ฟูตาบะ หมู่บ้านคาวาอูจิ 川内村 Kawauchi-mura 197.35 2,021 10
อำเภอมินามิไอซุ 南会津郡 Minamiaizu-gun 2,341.53 27,149 12
มินามิไอซุ เมืองชิโมโง 下郷町 Shimogō-machi 317.04 5,800 18
มินามิไอซุ เมืองทาดามิ 只見町 Tadami-machi 747.56 4,470 6
มินามิไอซุ เมืองมินามิไอซุ 南会津町 Minamiaizu-machi 886.47 16,264 18
มินามิไอซุ หมู่บ้านฮิโนเอมาตะ 檜枝岐村 Hinoemata-mura 390.46 615 2
อำเภอยามะ 耶麻郡 Yama-gun 986.88 28,029 28
ยามะ เมืองนิชิไอซุ 西会津町 Nishiaizu-machi 298.18 6,582 22
ยามะ เมืองบันได 磐梯町 Bandai-machi 59.77 3,579 60
ยามะ เมืองอินาวาชิโระ 猪苗代町 Inawashiro-machi 394.85 15,037 38
ยามะ หมู่บ้านคิตาชิโอบาระ 北塩原村 Kitashiobara-mura 234.08 2,831 12
อำเภออาดาจิ 安達郡 Adachi-gun 79.44 8,679 109
อาดาจิ หมู่บ้านโอตามะ 大玉村 Ōtama-mura 79.44 8,679 109
อำเภออิชิกาวะ 石川郡 Ishikawa-gun 456.52 41,112 90
อิชิกาวะ เมืองฟูรูโดโนะ 古殿町 Furudono-machi 163.29 5,373 33
อิชิกาวะ เมืองอาซากาวะ 浅川町 Asakawa-machi 37.43 6,577 176
อิชิกาวะ เมืองอิชิกาวะ 石川町 Ishikawa-machi 115.71 15,880 137
อิชิกาวะ หมู่บ้านทามากาวะ 玉川村 Tamakawa-mura 46.67 6,777 145
อิชิกาวะ หมู่บ้านฮิราตะ 平田村 Hirata-mura 93.42 6,505 70
อำเภออิวาเซะ 岩瀬郡 Iwase-gun 256.82 18,097 70
อิวาเซะ เมืองคางามิอิชิ 鏡石町 Kagamiishi-machi 31.30 12,486 399
อิวาเซะ หมู่บ้านเท็นเอ 天栄村 Ten'ei-mura 225.52 5,611 25
อำเภอโอนูมะ 大沼郡 Ōnuma-gun 870.51 26,092 30
โอนูมะ เมืองคาเนยามะ 金山町 Kaneyama-machi 293.92 2,189 7
โอนูมะ เมืองมิชิมะ 三島町 Mishima-machi 90.81 1,668 18
โอนูมะ เมืองไอซูมิซาโตะ 会津美里町 Aizumisato-machi 276.33 20,913 76
โอนูมะ หมู่บ้านโชวะ 昭和村 Shōwa-mura 209.46 1,322 6
อำเภอฮิงาชิชิรากาวะ 東白川郡 Higashishirakawa-gun 620.95 32,979 53
ฮิงาชิชิรากาวะ เมืองทานางูระ 棚倉町 Tanagura-machi 159.93 14,295 89
ฮิงาชิชิรากาวะ เมืองยามัตสึริ 矢祭町 Yamatsuri-machi 118.27 5,950 50
ฮิงาชิชิรากาวะ เมืองฮานาวะ 塙町 Hanawa-machi 211.41 9,157 43
ฮิงาชิชิรากาวะ หมู่บ้านซาเมงาวะ 鮫川村 Samegawa-mura 131.34 3,577 27
ทุกเมืองและหมู่บ้าน 7,752.36 334,976 43

ประชากรศาสตร์

พีระมิดประชากรจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2020

จังหวัดฟูกูชิมะมีประชากรรวม 1,833,152 คน

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
1880808,937—    
1890952,489+1.65%
19031,175,224+1.63%
19131,303,501+1.04%
19201,362,750+0.64%
19251,437,596+1.08%
19301,508,150+0.96%
19351,581,563+0.96%
19401,625,521+0.55%
ปีประชากร±% p.a.
19451,957,356+3.79%
19502,062,394+1.05%
19552,095,237+0.32%
19602,051,137−0.42%
19651,983,754−0.67%
19701,946,077−0.38%
19751,970,616+0.25%
19802,035,272+0.65%
19852,080,304+0.44%
ปีประชากร±% p.a.
19902,104,058+0.23%
19952,133,592+0.28%
20002,126,935−0.06%
20052,091,319−0.34%
20102,029,064−0.60%
20151,914,039−1.16%
20201,833,152−0.86%
แหล่งที่มา:[16]

อ้างอิง

  1. "2020年度国民経済計算(2015年基準・2008SNA) : 経済社会総合研究所 - 内閣府". 内閣府ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-05-18.
  2. 2.0 2.1 Wald, Matthew L., (March 11, 2011). "Emergency Declared at Japanese Nuclear Plant". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.{{cite news}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  3. Wald, Matthew L., (March 12, 2011). "Explosion Heard at Damaged Japan Nuclear Plant". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.{{cite news}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  4. "大安場古墳群" (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
  5. Nussbaum, "Provinces and prefectures" in p. 780, p. 780, ที่กูเกิล หนังสือ
  6. Takeda, Toru et al. (2001). Fukushima – Today & Tomorrow, p. 10.
  7. Meyners d'Estrey, Guillaume Henry Jean (1884). Annales de l'Extrême Orient et de l'Afrique, Vol. 6, p. 172, p. 172, ที่กูเกิล หนังสือ; Nussbaum, "Iwaki" in p. 408, p. 408, ที่กูเกิล หนังสือ
  8. "Database of Registered National Cultural Properties". Agency for Cultural Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2019. สืบค้นเมื่อ 4 May 2011.
  9. [1]
  10. Gordon Rayner and Martin Evans 'Japan nuclear plant just 48 hours to avoid another Chernobyl' Daily Telegraph 17 March 2011.
  11. "Bandai". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 3 March 2010.
  12. Campbell, Allen; Nobel, David S (1993). Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kodansha. pp. 598. ISBN 406205938X.
  13. "General overview of area figures for Natural Parks by prefecture" (PDF). Ministry of the Environment. สืบค้นเมื่อ August 26, 2012.
  14. 14.0 14.1 14.2 平成29年全国都道府県市区町村別面積調_国土地理院 (.pdf) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). สำนักงานสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2562. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  15. 15.0 15.1 15.2 Population, Population Change(2010-2015), Area, Population Density, Households and Households Change(2010-2015) - Japan*, All Shi, All Gun, Prefectures*, All Shi of Prefectures, All Gun of Prefectures, Shi*, Ku*, Machi*, Mura* and Municipalities in 2000 (.csv) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). สำนักงานสถิติ กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร. 16 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  16. สำนักงานสถิติแห่งประเทศญี่ปุ่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia