จักรพรรดิซวี เติน
สมเด็จพระจักรพรรดิซวี เติน (เวียดนาม: Duy Tân, จื๋อฮ้าน: 維新, แปล. "การปรับปรุงใหม่";[1] ; 19 กันยายน ค.ศ. 1900 - 26 ธันวาคม ค.ศ. 1945) เป็นยุวจักรพรรดิของราชวงศ์เหงียน และทรงครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ถึง ค.ศ. 1916 พระชนม์ชีพเมื่อครั้งทรงพระเยาว์สมเด็จพระจักรพรรดิซวี เติน หรือพระนามเมื่อวัยเยาว์คือ เจ้าชายเหงียน ฟุก หวิญ ซาน (Nguyễn Phúc Vĩnh San, 阮福永珊 ) เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย เพราะความขัดแย้งต่อการปกครองของฝรั่งเศสและพฤติกรรมไม่อยู่กับร่องกับรอยของพระองค์ (ซึ่งบางคนคิดว่าพระองค์ทรงแสร้งทำเพื่อปกปิดการต่อต้านฝรั่งเศสของพระองค์) จักรพรรดิถั่ญ ท้าย ทรงถูกประกาศว่าเสียพระสติและทรงถูกเนรเทศไปยังเมืองหวุงเต่าในปี ค.ศ. 1907 ฝรั่งเศสตัดสินใจยกบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายเหงียน ฟุก หวิญ ซาน ในพระชนมายุเพียง 7 พรรษา ตามที่ฝรั่งเศสได้คิดว่าพระองค์จะควบคุมง่ายและทำให้เข้าข้างฝรั่งเศสได้
เรื่องในรัชกาลความพยายามของฝรั่งเศสที่จะให้สนับสนุนตนนั้นเกิดความล้มเหลวอย่างรุนแรง เจ้าชายเหงียน ฟุก หวิญ ซานได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นพระจักรพรรดิและประกาศใช้รัชศกซวี เติน ซึ่งมีความหมายว่า "สหายของการปฏิรูป" แต่ในเวลานั้นพระองค์ได้พิสูจน์ถึงความมีตัวตนของพระนามนี้ โดยเมื่อพระองค์มีพระชนมายุมากขึ้น ได้ทรงพบว่าแม้ว่าพระองค์เป็นพระจักรพรรดิ พระองค์ก็ยังต้องทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสอยู่ตลอด เมื่อพระองค์เจริญเป็นวัยหนุ่มแล้ว พระองค์ได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของขุนนางเจิ่น กาว เวิน (Trần Cao Vân) ซึ่งเป็นขุนนางผู้ต่อต้านเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส พระจักรพรรดิทรงวางแผนก่อกบฏลับร่วมกับเจิ่น กาว เวิน และขุนนางอีกหลายคนเพื่อโค่นล้มอำนาจของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1916 ขณะที่ฝรั่งเศสยุ่งอยู่กับการสู้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 พระจักรพรรดิได้ทรงลักลอบหนีออกจากพระราชวังกับเจิ่น กาว เวิน เพื่อปลุกระดมให้ประชาชนต่อต้านฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ความลับก็ถูกเปิดเผยและฝรั่งเศสก็ส่งทหารทันทีหลังจากนั้นไม่กี่วัน กลุ่มกบฏถูกหักหลังและถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส พระจักรพรรดิทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์และเนรเทศไปแทนการถูกสำเร็จโทษ เพราะพระชนมายุของพระองค์และเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เลวร้าย เจิ่น กาว เวิน และผู้นำการก่อกบฏที่เหลือถูกประหารชีวิต อดีตพระจักรพรรดิถูกเนรเทศไปเกาะเรอูว์นียงในมหาสมุทรอินเดียกับพระราชชนก พระชนม์ชีพระหว่างถูกเนรเทศอดีตพระจักรพรรดิยังทรงสนับสนุนการปลดปล่อยเวียดนามในระหว่างทรงถูกเนรเทศ พระองค์ยังทรงต่อต้านระบบวีชีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งการปลดปล่อยเรอูว์นียง (Liberation of La Réunion) จึงทรงเข้าร่วมกองกำลังฝรั่งเศสเสรี (Forces françaises libres) และได้รับพระยศทหารเรือชั้นประทวนในเรือรบทำลายเลออปาร์ (Léopard) ในฐานะทหารหน่วยวิทยุ จากนั้นพระองค์ทรงได้รับการเลื่อนยศขึ้นเป็นร้อยตรีและได้เลื่อนยศเป็นพันโทในที่สุด อุบัติเหตุเครื่องบินตกเมื่อฝรั่งเศสกำลังเผชิญความพ่ายแพ้ต่อกลุ่มเวียดมินห์ และระบอบของพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ได้แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถเรียกเสียงสนับสนุนจากประชาชนได้ ชาร์ล เดอ โกล ผู้นำฝรั่งเศสได้พูดคุยกับอดีตพระจักรพรรดิซึ่งยังคงนิยมในหมู่ประชาชนเพราะความชาตินิยมของพระองค์เพื่อให้พระองค์กลับไปเป็นพระจักรพรรดิอย่างเดิม อย่างไรก็ตาม พระองค์กลับเสด็จสวรรคตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ขณะที่พระองค์กำลังเสด็จเดินทางกลับเวียดนามในปี ค.ศ. 1945 และทำให้ความหวังหลาย ๆ อย่างตายตาม อันเป็นการท้าทายความรักชาติของโฮจิมินห์ ในฐานะที่พระองค์เคยเข้ารับราชการทหาร ฝรั่งเศสจึงได้ถวายเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ชั้นประถมาภรณ์และเหรียญแห่งการต่อต้านชั้นจตุรถาภรณ์ (Médaille de la Résistance) และยังแต่งตั้งให้พระองค์ทรงเป็นสมาชิกเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งการปลดปล่อย (Ordre de la Libération) ด้วย ฝังพระบรมศพในเวียดนามใน ค.ศ. 1987 เจ้าชายบ๋าว หว่าง พระราชโอรสของพระองค์ และพระราชวงศ์เวียดนามได้นำพระบรมศพของพระองค์ ซึ่งนำมาจากแอฟริกา นำกลับไปยังเวียดนามและประกอบพิธีฝังพระบรมศพในสุสานของพระบรมอัยกา จักรพรรดิสุก ดึ๊ก[2] ใน ค.ศ. 2001 เจ้าชายบ๋าว หว่าง ทรงพระนิพนธ์เรื่อง ซวี เติน จักรพรรดิแห่งอันนัม ค.ศ. 1900-1945 (Duy Tân, Empereur d'Annam 1900–1945) เกี่ยวกับพระชนม์ชีพของพระจักรพรรดิ[3] เมืองส่วนใหญ่ในเวียดนามตั้งชื่อถนนตามพระนามของพระองค์[4] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia