งูทับทาง
งูสามเหลี่ยม[1] (อังกฤษ: Kraits) เป็นสกุลของงูพิษสกุลหนึ่ง ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Bungarus มีลักษณะเด่นคือ มีลำตัวเป็นสันสามเหลี่ยมชัดเจน ลำตัวยาว อาศัยอยู่ตามพื้นดิน[2] มีเขี้ยวพิษคล้ายกับงูเห่า (Naja spp.) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน มีต่อมพิษอยู่บริเวณท้ายหัวทั้งสองข้าง พิษมีฤทธิ์มากในทางทำลายระบบประสาท มีอันตรายถึงแก่ชีวิต[3] มีความยาวโดยเฉลี่ย 1–1.5 เมตร พบใหญ่ที่สุด 2 เมตร แต่ไม่มีตัวใดที่มีความยาวเกิน 4 เมตร[2] เป็นงูที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น งู หรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก[4] ออกหากินในเวลากลางคืน[5] เมื่อกัดจะไม่มีการแผ่แม่เบี้ยหรือพังพานเหมือนงูเห่า พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น ศรีลังกา, บังกลาเทศ, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินโดนีเซีย และบอร์เนียว งูตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 12–14 ฟอง ในกองหรือเศษซากใบไม้กิ่งไม้ต่าง ๆ จนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว การจำแนกพบทั้งสิ้น 13 ชนิด เป็นชนิดที่พบในประเทศไทย 3 ชนิด[3] ได้แก่
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Bungarus ที่วิกิสปีชีส์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Bungarus |
Portal di Ensiklopedia Dunia