คุยเรื่องแม่แบบ:เรซูเม
เมื่อไหร่ถึงจะใช้ป้ายนี้ควรจะมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนขอความร่วมมือช่วยกันเสนอหลักเกณฑ์การใช้ด้วยครับเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ก่อนอื่นผมขอเสนอข้อสังเกตสำหรับบทความที่อาจเป็นเรซูเมดังนี้ ประเด็นแรกว่าด้วยของที่มักเขียนเป็นข้อๆ
ประเด็นที่สองว่าด้วยความสัมพันธ์ของข้อมูลบทความที่เป็นเรซูเมไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นข้อๆ อย่างเดียว แต่มีข้อมูลจำนวนมากที่
มีอะไรอีกก็เพิ่มเติมมาได้เลยครับ --taweethaも 03:38, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT) จากนั้นขอเสนอหลักเกณฑ์สำหรับการพิจารณาว่าบทความหนึ่งๆ เป็นเรซูเมหรือไม่โดยพิจาณาถึงปริมาณเนื้อหาที่ที่เข้าข่ายสองประเด็นข้างต้น
จึงนับว่าเป็นเรซูเม ไม่แน่ใจว่าหลักเกณฑ์เช่นนี้จะใช้ได้กับบุคคลทุกสาขาหรือไม่ และควรมีข้อยกเว้นอย่างไรบ้างครับ --taweethaも 03:46, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT) ความคิดเห็นผมคิดว่ารากของปัญหาคือ คนแปะป้ายไม่เข้าใจว่า เรซูเมคืออะไรมากกว่าหน่ะครับ บางคนอาจจะไม่เคยสมัครงาน จึงไม่น่าจะเคยเห็นหน้าตาของเรซูเม่ อีกทั้งไม่เคยรู้ว่ามันคืออะไรมากกว่า (ขอโทษนะครับ ผมไม่ได้ติดตามผลงานของคุณด้วยสิ แต่นี่มาจากการคาดเดานะครับ ไม่ใช่การตำหนิอะไร) ดังนั้น น่าจะมีการเขียนบทความ เรซูเมขึ้นมานะครับ เพื่อให้คนแปะป้ายเข้าใจว่า มันคืออะไร และเมื่อเข้าใจ ความผิดพลาดก็จะลดลงไปเองแหละครับ ซึ่งตอนนี้ใช้นี่ไปก่อนนะครับ en:resume --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 03:44, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT) อ้าวว่าไปนู้นเลยครับ ปัญหาที่ผมเจอคือ ณัฐวุฒิ สกิดใจ ครับ เรามีความเห็นไม่ตรงกันว่าควรเป็นเรซูเมหรือไม่ ไม่ทราว่าคุณ Brandy Frisky คิดยังไงครับ ผมว่าตัวอย่างบทความเป็นเรซูเมเรามีมากพอแล้วในวิกิพีเดียนะครับแค่ยกมาก็ได้ ไม่ต้องถึงกับเขียนเพิ่มอีก --taweethaも 03:51, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT) ผมคิดว่า สาเหตุที่แขวนป้าย จากข้อความของแม่แบบคือ "บทความนี้ หรือส่วนนี้ ได้รับแจ้งว่ามีลักษณะเหมือนประวัติการเรียนและประวัติการงาน" คิดว่าถ้าหากส่วนประวัติไม่ว่า การเรียน หรือการงาน ที่ทำเป็นข้อ ๆ ลักษณะเรซูเม ควรจะแขวนป้ายเพื่อให้ผู้เขียนทราบและทำการปรับปรุง เรียบเรียงจากข้อ ๆ เป็นลักษณะการเขียนประวัติมากกว่า อย่างบทความ ณัฐวุฒิ สกิดใจ ที่เป็นประเด็นการเปิดหัวข้อสนทนานี้ ผมคิดว่าควรดูลักษณะการเขียนส่วนประวัติการงานการศึกษา ที่ควรปรับปรุงเป็นหลักมากกว่า ความยาว การจัดหน้าที่ยาวเกิน อย่างส่วนผลงาน Discographies หรือ Filmographies ที่ระบุหลักเกณฑ์ไกด์ไลน์ก็มีวิธีระบุรูปแบบการเขียนในส่วนนี้ ในหน้า en:Wikipedia:Manual of Style (lists of works) ก็ไม่ต้องไปแขวนป้ายเรซูเม --Sry85 03:52, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT)
บทความที่คิดว่าควรจะแปะว่าเป็นเรซูเม น่าจะเป็นลักษณะนี้นะครับ ก เป็นคนดัง (ในความคิดคนเขียน) คนหนึ่ง ทำอาชีพนี้ (ไม่เกินสองบรรทัด) การศึกษา - จบตรี สถาบัน ข - โท สถาบัน ค - เอก สถาบัน ง ผลงาน - จ - ฉ แบบนี้ แปะ โลดครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 04:20, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT) 70% ของบทความดาราศิลปินมักจะแยกผลงานการแสดงออกเป็นข้อ ๆ เพราะว่าบางคนก็มีผลงานเยอะมากจนอาจเขียนรวมกันเป็นย่อหน้าไม่ได้ เพราะมันไม่มีรายละเอียดมากไปกว่านั้น มีเพียงแต่ว่าเคยแสดงอะไรมาบ้างเท่านั้น ดูตรงส่วนผลงานของ หม่ำ จ๊กมก ดอม เหตระกูล ทาทา ยัง หมวดหมู่:นักแสดงไทย และอีกมากมายที่เขียนกันในรูปแบบนี้ ถ้าจะว่าตามเรซูเมแล้วหมายความว่าเป็นประวัติส่วนตัวอย่างย่อเพื่อการสมัครงาน แต่ทว่าผลงานพวกนี้ใช้สมัครงานได้หรือครับ? ตามเหตุผลส่วนตัวคือ การเขียนแยกเป็นข้อ ๆ ในส่วนนี้สามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าเขียนติดกันเป็นพืด เพราะคนที่อ่านมักจะเข้ามาดูเพียงแค่ว่า เคยแสดงอะไรมาบ้าง ส่วนประวัติอย่างอื่นก็ไปอ่านในส่วนประวัติเอา ผมสนับสนุนให้มี Manual of Style (lists of works) --Octra Dagostino 12:14, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT) การยกตัวอย่างบทความที่เขียนดีผมว่าควรจะมีการยกตัวอย่างการเขียนบทความที่ถูกต้องในแม่แบบด้วย เป็นต้นว่าลิงก์ไป FA หรือ GA ที่เป็นบทความดารา หรืออะไรทำนองนั้นน่ะครับ จะได้เขียนกันถูกเสียที (ป.ล. ผมก็ไม่รู้จักนี่นะ เรซูเมเนี่ย) --Horus | พูดคุย 07:55, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT) บทความที่ดี เจค จิลเลนฮอล ในส่วนนั้นผลงานก็เป็นข้อ ๆ เหมือนกัน (ถึงแม้มันจะอยู่ในรูปแบบตารางก็ตาม) --Octra Dagostino 12:33, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT) หลงประเด็นได้ไปนอนมาหน่อยกลับมาพิจารณาตรงนี้อีกที รู้สึกว่าอาจมีความไม่เข้าใจกันบางอย่างครับ พอได้ไปอ่าน en:Template:Like resume This template is for use on articles, particularly biographies that seem to promote the subject. ก็พบความแตกต่างอย่างชัดเจนครับ
แม้ว่าเราไม่จำเป็นต้องตามฝรั่ง แต่เนื่องจากเรามีประเด็นเรื่อง Manual of Style ต่างหากอยู่แล้ว ควรจะเปลี่ยนไปตามภาษาอังกฤษดีกว่าไหมครับ ส่วนที่เห็นเป็นข้อๆ แล้วไม่ชอบใจเพราะจัดรูปแบบไม่ถูกต้องไม่สวยงาม ถ้าอยากจะทำป้ายใหม่ขึ้นมาใหม่ ก็ค่อยทำไปว่าให้แก้ในประเด็น Manual of Style อีกที ขอความเห็นในประเด็นนี้ครับ ถ้าเห็นด้วยจะรื้อป้าย resume นี้ทั้งหมด --taweethaも 13:59, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT) ประเด็นเรื่องปรับนโยบายให้สอดคล้องกับภาษาอังกฤษถ้าปรับตามภาษาอังกฤษป้ายเรซูเมจะมีความหมายเพียง ไม่เป็นกลางในทางเข้าข้างบุคคลที่เขียนถึง โดยอาจหวังประโยชน์ในการได้รับพิจารณาอะไรบางอย่าง ไม่ว่าสมัครงาน สมัครเข้ารับรางวัล สมัครเข้าศึกษาต่อ ส่วนรูปแบบการเขียนไม่อยู่ในขอบข่ายนี้อีกต่อไป --taweethaも 13:59, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT)
ส่วนที่เขียนเป็นข้อๆ จะทำอย่างไรถ้าปรับตามภาษาอังกษแล้ว จะมีบทความส่วนหนึ่งถูกถอดป้ายเรซูเม จะทำป้ายใหม่เพื่อการนี้หรือไม่อย่างไร โดยป้ายนี้ให้อ้างไปถึง Manual of Style (List) ซึ่งจะต้องแปลกันต่อไป --taweethaも 13:59, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT) เปลี่ยนชื่อได้ไหมไม่ใช่ว่าทุกคนเข้าใจคำว่า เรซูเม เสนอเปลี่ยนเป็น ประวัติทำงาน ประกาศเกียรติคุณ หรือ เชิดชูเกียรติ แล้วอธิบายว่า บทความนี้เหมือนประกาศเีกียรติคุณหรือประวัติบุคคล ไม่เหมือนบทความเกี่ยวกับบุคคล (ซึ่งมีแง่มุมมากกว่าเรื่องประวัติ) --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.8.99.154 (พูดคุย | ตรวจ) 14:30, 12 กรกฎาคม 2009 (ICT) |
Portal di Ensiklopedia Dunia