คลองบางปลากด
คลองบางปลากด เป็นคลองธรรมชาติมีสภาพคดเคี้ยวในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นคลองทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตบริเวณปากคลองเป็นที่ตั้งของนิวอัมสเตอร์ดัมและป้อมคงกระพัน การปรากฏในหลักฐานชื่อคลองบางปลากดมีการเขียนชื่อคลองนี้แตกต่างกันไป บ้างเขียนว่า คลองบางปรากฏ ในจดหมายเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกว่า คลองบางปกด[1] นิวอัมสเตอร์ดัม
บริเวณปากคลองบางปลากดเคยเป็นที่ตั้งของนิวอัมสเตอร์ดัม ซึ่งสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงพระราชทานที่ดินบริเวณเหนือคลองปลากด ใช้เป็นที่ตั้งคลังสินค้าและเป็นที่อาศัยของเจ้าหน้าที่เป็นสถานที่งดงามและมีเครื่องใช้ที่จําเป็นและทันสมัย[2] คาดว่าเป็นสถานที่ขนถ่ายสินค้าที่สำคัญระหว่าง พ.ศ. 2151–2208[3] (ปัจจุบันสถานที่ตั้งของนิวอัมสเตอร์ดัมอยู่ใกล้กับบริษัทกระจกไทยอาซาฮี)[4] ในแผนที่ที่ชาวยุโรปเขียนไว้เช่นแผนที่โดย Pierre d' Hondt (ราว พ.ศ. 2295–2296) และแผนที่โดยเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ พ.ศ. 2223 ก็ปรากฏคลองปลากดโดยเขียนเป็นอักษรโรมันว่า Banbelkot[5] คณะพระภิกษุชาวลังกาที่เดินทางเข้ามาเมืองไทย เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2294 ได้บันทึกไว้ว่า "เรือผ่านปากคลองบางปลากด จอดที่ตำบลอัมส์เตอร์ดัมที่พวกวิลันดา (ฮอลันดา) สร้างไว้ที่ปากน้ำ ..... ล่วงอีก 7 วัน มีข้าราชการไทย 3 คนมาเยี่ยม.....มอบของต้อนรับ คือ มะพร้าวอ่อน มะพร้าวห้าว หมากพลู เป็นต้น"[3] ป้อมคงกระพันในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ. 2377 มีการสร้าง ป้อมคงกระพัน ตรงปากคลองบางปลากด ปัจจุบันป้อมมีลักษณะเป็นซากโบราณสถานมีแนวกําแพงและตัวอาคารมีสภาพชํารุดเสียหายมาก จนแทบจะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นป้อม[6] ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ระบุว่า "พ.ศ. 2377 ที่เมืองสมุทรปราการนั้นก็โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอดิศร กรมหมื่นเสพสุนทร กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ เป็นแม่กองไปรักษาเมืองสมุทรปราการทําการที่ยังค้างอยู่ต่อไป ได้ทํากําแพงเชิงเทินขึ้นโอบหลังมาปลายปีกกา แล้วขุดคูล้อมกําแพงด้านหลังเมืองที่ปากคลองบางปลากดนั้นก็สร้างป้อมขึ้นอีกป้อม 1 ชื่อป้อมคงกระพัน เป็นทางเข้ามาปากน้ำสาขลาได้"[7] บ้างก็มีแนวคิดว่าป้อมคงกระพันได้สร้างทับที่ของนิวอัมสเตอร์ดัม แต่ก็ยังไม่ทราบแน่ชัด ตามพงศาวดารกล่าวว่าสถานีการค้าที่ปากคลองบางปลากดนั้นสร้างด้วยไม้ไผ่ หากอยู่ที่เดียวกันกับตัวป้อมแสดงถึงการที่ผู้สร้างป้อมใช้ฐานรากเก่าของสถานีการค้าในการสร้างป้อมทับ หากไม่ถูกต้องแสดงถึงสถานีการค้าของฮอลันดาอยู่คนละพื้นที่กับตัวป้อมคงกระพันหรืออาจอยู่ในพื้นที่เดียวกันแต่ไม่มีการใช้อิฐในการสร้างเป็นผลให้พังทลายลงก่อนที่จะมีการสร้างป้อม[7] จระเข้คลองบางปลากดจระเข้ในบริเวณนี้เป็นจระเข้น้ำกร่อยซึ่งมีขนาดโตกว่าที่อื่นด้วยเพราะเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์น้ำจืดและน้ำเค็ม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวปากน้ำ สมุทรปราการ เคยมีปัญหาเรื่องจระเข้โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ปากคลองบางปลากดและรอบเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ ครั้งหนึ่งทรงมีพระราชหัตถเลขาว่า "เวลาเที่ยงครึ่ง มาถึงคลองบางปลากด ที่เราไปเล่นจระเข้แต่ก่อน แต่เสียทีเพราะมาช้าไป จึงหลุดไปเสียก่อน"[8] อีกหลักฐานหนึ่งในจดหมายบันทึกของเมืองสมุทรปราการ เมื่อ ร.ศ. 120 บันทึกไว้ว่ามีจระเข้ตัวใหญ่ออกไล่ล่าชาวบ้านริมคลองบางปลากดที่ลงอาบน้ำตามตลิ่งจนชาวบ้านถูกคาบหายไปลงในแม่น้ำ สถานที่สำคัญ![]() พื้นที่บริเวณคลองบางปลากดเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำเค็มท่วมถึง เมื่อถึงฤดูฝนน้ำจะหลากมาตามยังลำคลองทำให้เกิดน้ำท่วมส่วนใหญ่โดยเฉพาะบริเวณปากคลองอย่างบริเวณวัดแค[9] และยังมีวัดที่ตั้งอยู่ริมคลองคือ วัดใหญ่และวัดใหม่ โดยที่วัดใหญ่จะมี ตลาดน้ำเมืองพระ ตั้งอยู่ริมคลอง[10] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia