คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University
สถาปนา27 เมษายน พ.ศ. 2517; 50 ปีก่อน (2517-04-27)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณบดีเชิดชัย อุดมพันธ์
ที่อยู่
วิทยาเขตปัตตานี
เลขที่ 181 หมู่ที่ 6 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
สี  สีขาว
เว็บไซต์huso.psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University) เป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเปิดสอนในรายวิชาทางด้านดังกล่าวให้กับนักศึกษาสาขาอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยอีกด้วย

ประวัติ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดตั้งขึ้นตามโครงการ ที่ได้กำหนดไว้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2517 โดยทบวงมหาวิทยาลัยได้ อนุมัติให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดตั้ง คณะมนุษยศาสตร์ ต่อมา ได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 เพื่อสนองนโยบายที่คณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ได้วางไว้ว่าจะให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นศูนย์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและสังคม

ทำเนียบคณบดี

คณบดี ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มะเนาะ ยูเด็น พ.ศ. 2517 - 2521, พ.ศ. 2521 - 2525, พ.ศ. 2529 - 2533 และ พ.ศ. 2533 - 2537
2. รองศาสตราจารย์ วิสิทธิ์ จินตวงศ์ พ.ศ. 2525 - 2529
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประพันธ์ วิเศษรัฐกรรม พ.ศ. 2538 - 2540
4. รองศาสตราจารย์ ระวีวรรณ ชอุ่มพฤกษ์ พ.ศ. 2541 - 2544 และ พ.ศ. 2549 - 2552
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สนธยา อนรรฆศิริ พ.ศ. 2545 - 2548
6. รองศาสตราจารย์ อาหวัง ล่านุ้ย พ.ศ. 2553 - 2556
7. ศาสตราจารย์ ดร.ปริศวร์ ยิ้มเสน พ.ศ. 2557 - 2560 และ พ.ศ. 2561 - 2565
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

หน่วยงาน

  • ภาควิชาภาษาไทย
  • ภาควิชาภาษาตะวันตก
  • ภาควิชาภาษาตะวันออก
  • ภาควิชาสังคมศาสตร์
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
  • ภาควิชาบรรณรักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์

หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี
วิชาโท (ปริญญาตรี)
ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย
  • สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรปกติ)
  • สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาภาษามลายู
  • สาขาวิชามลายูศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาอาหรับ-ภาษาอาหรับธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาเกาหลี
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
  • สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาปรัชญา

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ
  • สาขาวิชาเศรษฐกิจอาเซี่ยน

หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (4 ปี)

  • แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์กร
  • สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษามลายู
  • สาขาวิชามลายูศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาอาหรับ
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาเกาหลี
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • สาขาวิชาศาสนา
  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • สาขาวิชาอเมริกันศึกษา

โดยจะเลือกวิชาโทในชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
  • สาขาวิชาภาษาไทย


หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาไทย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia