การโจมตีท่าอากาศยานนานาชาติจินนาห์ พ.ศ. 2557
วันที่ 8 มิถุนายน 2557 กองกำลังติดอาวุธอย่างน้อย 10 คน เข้าโจมตีท่าอากาศยานนานาชาติจินนาห์ ในการาจี ประเทศปากีสถาน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 29 คน รวมถึงผู้ก่อการจำนวน 10 คน และอีกอย่างน้อย 18 คนได้รับบาดเจ็บ[2] เบื้องหลัง
การโจมตีการโจมตีสนามบินเริ่มขึ้นเมื่อ เวลา 23.20 น. ในวันที่ 8 มิถุนายน และจนถึงเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน[3] ผู้ก่อการจำนวน 10 คนได้ฝ่าด่านรักษาความปลอดภัยโดยอยู่ในรถตู้ และโจมตีโจมตีสถานีขนส่งสินค้าของสนามบินด้วยปืนกล ระเบิดขว้าง จรวดอาร์พีจี และวัตถุระเบิดอื่น ๆ ผู้ก่อการได้แต่ตัวเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยซึ่งมีบางส่วนใส่เสื้อเกราะพลีชีพ พวกเขาสวมใส่เครื่องแบบหน่วยรักษาความปลอดภัยสนามบิน (เอเอสเอฟ) และใช้บัตรประชาชนปลอมเข้าสู่สนามบิน[2] หัวหน้าข่าวกรองอาวุโสปากีสถานกล่าวว่าผู้ก่อการบางคนพยายามจี้เครื่องบินแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ[4] หลังการโจมตีประมาณ 90 นาที หน่วยรบพิเศษคอมมานโดจำนวนหลายร้อยนายถึงที่เกิดเหตุและเริ่มต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย[5] ภายในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา แปดในสิบของผู้ก่อการร้ายถูกหน่วยคอมมานโดยิงจนเสียชีวิตส่วนอีก 2 คนระเบิดตัวเองเมื่อพวกเขาถูกต้อนจนมุม[6][5] หลังการล้อมโจมตีผู้ก่อการร้ายผ่านไป 5 ชั่วโมง มี 29 คนเสียชีวิตในเหตุการณ์นี้[7] เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างน้อย 18 นายได้รับบาดเจ็บระหว่างการโจมตีและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลซาฮิด [3] เครื่องบินของสายการบินนานาชาติปากีสถาน 1 ลำ เครื่องบินของสายการบินแอร์บลู 1 ลำ และเครื่องบินขนส่งสินค้าของสายการบินต่างประเทศได้รับรายงานความเสียหาย ระเบิดขว้างยังนำมายังนำมาใช้โจมตีโรงเก็บเครื่องบินIspahani[8] หลังจากที่หน่วยคอมมานโดได้เคลียร์พื้นที่สนามบินเรียบร้อยแล้วได้ส่งมอบการดูแลสนามบินคืนให้กับการบินพลเรือนและเอเอสเอฟ[9] การยอมรับของกลุ่ม Tehrik-i-Taliban Pakistan
ผลที่ตามมาการดำเนินงานทั้งหมดของสนามบินถูกระงับ ทุกเที่ยวบินถูกเลื่อนออกไป และสนามบินที่ให้บริการถูกย้ายไปใช้ที่อื่นหลังจากการโจมตี กองทัพบกปากีสถานถูกนำไปใช้ที่สนามบินระหว่างการโจมตี[2] การสอบสวน
ปฏิกิริยาในประเทศการโจมตีครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาอย่างแพร่หลายในเครือข่ายสังคมออนไลน์ในปากีสถาน[10] ซึ่งได้รับการประณามจากนักการเมือง นักข่าว และนักสังคมวิทยา Imran Khan หัวหน้าพรรคPakistan Tehreek-e-Insaf และผู้นำฝ่ายค้าน ได้ประณามการโจมตีและตำหนิการทำงานของรัฐบาลอย่างหนักโดยเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลลาออก[11] นานาชาติ
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia