การสังหารหมู่สเรเบรนิตซา (อังกฤษ : Srebrenica massacre ) หรือ การล้างชาติสเรเบรนิตซา (อังกฤษ : Srebrenica genocide ) หมายถึง การสังหารชายและเด็กชายชาวบอสนีแอก (ชาวบอสเนียมุสลิม)[ 1] มากกว่า 8,000 คน ในและรอบเมืองสเรเบรนิตซาในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยทหารหน่วยหนึ่งของกองทัพสาธารณรัฐเซิร์ปสกา ซึ่งเป็นชาวบอสเนียเชื้อสายเซิร์บ ภายใต้บังคับบัญชาของนายพลรัตกอ มลาดิช ระหว่างสงครามบอสเนีย หน่วยกึ่งทหารจากเซอร์เบียซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ สกอร์เปียนส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงมหาดไทยเซอร์เบียจนถึง พ.ศ. 2534[ 7] มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังหารหมู่ครั้งนี้ด้วย[ 8] [ 9] นอกจากนี้ยังมีการกล่าวหาว่าอาสาสมัครต่างด้าว รวมทั้งทหารอาสากรีก มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย[ 10] [ 11] [ 12] การถ่ายโอนประชากรหญิง เด็ก และคนชราชาวบอสนีแอกโดยใช้กำลังเป็นจำนวนระหว่าง 25,000 ถึง 30,000 คน ประกอบกับการสังหารหมู่นั้น ศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวีย วินิจฉัยว่าเป็นหลักฐานของเจตนาล้างชาติของเสนาธิการหลักของกองทัพสาธารณรัฐเซิร์ปสกาซึ่งชักใยการสังหารหมู่ดังกล่าว[ 13]
เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2536 สหประชาชาติ ได้ประกาศว่าสเรเบรนิตซาที่ถูกล้อมในหุบเขาดรีนาทางตะวันออกเฉียงเหนือของบอสเนียนั้นเป็น "เขตปลอดภัย" ภายใต้การคุ้มครองของสหประชาชาติ แต่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 กองกำลังคุ้มครองสหประชาชาติ (UNPROFOR) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรักษาสันติภาพดัตช์ 400 นาย ไม่สามารถคุ้มครองมิให้เมืองถูกยึดครองโดยกองทัพสาธารณรัฐเซิร์ปสกาและการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นตามมาได้[ 14] [ 15] [ 16] [ 17]
การสังหารหมู่สเรเบรนิตซาเป็นการสังหารหมู่ ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ยุติ[ 18] ในปี พ.ศ. 2547 สภาอุทธรณ์แห่งศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวียมีคำวินิจฉัยอย่างเป็นเอกฉันท์ในคดี "ระหว่างพนักงานอัยการ กับคริชทิช" ว่าการสังหารหมู่ราษฎรที่สเรเบรนิตซานั้นเข้าข่ายอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[ 19]
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวียว่าความรุนแรงซึ่งกระทำขึ้นที่สเรเบรนิตซาเข้าข่ายการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยกล่าวว่า:
ศาลฯ สรุปว่าพฤติการณ์ซึ่งกระทำที่สเรเบรนิตซานั้นอยู่ในขอบเขตของมาตรา 2 (ก) และ (ข) ของอนุสัญญา เป็นการกระทำโดยมีจุดประสงค์เฉพาะในการทำลายกลุ่มมุสลิมในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และดังนั้น เหล่านี้จึงเป็นพฤติการณ์ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งกระทำโดยสมาชิกของกองทัพสาธารณรัฐเซิร์ปสกาในและรอบสเรเบรนิตซาตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538[ 20]
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียและเซอร์เบีย นั้นไม่มีความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ศาลฯ ได้วินิจฉัยว่าเซอร์เบีย "ได้ละเมิดพันธกรณีที่จะต้องป้องกันมิให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขึ้น" และเซอร์เบียจะต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับศาลฯ ในการส่งมอบบุคคลที่ถูกกล่าวหาในความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวีย[ 21] รัตกอ มลาดิชถูกกล่าวหาโดยศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวียและต้องสงสัยว่าซ่อนตัวอยู่ในเซอร์เบียหรือในเขตปกครองของชาวเซิร์บภายในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งเรียกว่า สาธารณรัฐเซิร์ปสกา มลาดิชถูกจับกุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และจะต้องเผชิญกับการพิจารณาในข้อหาอาชญากรรมสงครามในกรุงเฮก[ 22]
เหยื่อที่ถูกสังหารส่วนใหญ่เป็นชายวัยผู้ใหญ่และเด็กชายวัยรุ่น แต่มีรายงานว่าเหยื่อยังรวมไปถึงเด็กชายอายุต่ำกว่า 15 ปี ชายอายุมากกว่า 65 ปี และทารกอีกหลายศพ[ 23] "รายชื่อบุคคลผู้หายสาบสูญหรือถูกสังหารในสเรเบรนิตซาเบื้องต้น" ซึ่งรวบรวมขึ้นโดยคณะกรรมาธิการบุคคลหายสาบสูญสหพันธ์บอสเนีย ประกอบด้วยบุคคลจำนวน 8,373 ชื่อ[ 1] ในจำนวนนี้ ราว 500 คนมีอายุน้อยกว่า 18 ปี[ 24] และรวมไปถึงผู้หญิงและเด็กหญิงอีกหลายสิบคน[ 25]
[ 26] จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 เหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จำนวน 6,557 คนถูกพิสูจน์เอกลักษณ์โดยใช้การวิเคราะห์ดีเอ็นเอจากชิ้นส่วนร่างกายที่เก็บมาจากสุสานหมู่[ 27]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 Potocari Memorial Center PRELIMINARY LIST of Missing Persons from Srebrenica '95 [1] เก็บถาวร 2014-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ UN Press Release SG/SM/9993UN, 11/07/2005 "Secretary-General Kofi Annan’s message to the ceremony marking the tenth anniversary of the Srebrenica massacre in Potocari-Srebrenica" . Retrieved 9 August 2010.
↑ Briefly Noted, Complied by IWPR staff in The Hague (TU No 398, 18-Mar-05)
↑ Paramilitaries Get 15 – 20 Years for Kosovo Crimes – [Balkan Insight http://balkaninsight.com/en/main/news/20364/ ]
↑ "Serbia: Mladic “Recruited” Infamous Scorpions". Institute for War and Peace Reporting. [2]
↑ Williams, Daniel. "Srebrenica Video Vindicates Long Pursuit by Serb Activist" . The Washington Post . สืบค้นเมื่อ 26 May 2011 .
↑ Paramilitaries Get 15 – 20 Years for Kosovo Crimes – [Balkan Insight http://balkaninsight.com/en/main/news/20364/ ]
↑ "Serbia: Mladic “Recruited” Infamous Scorpions". Institute for War and Peace Reporting. [3]
↑ "Srebrenica Video Vindicates Long Pursuit by Serb Activist" . Washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26 .
↑ Michas, Takis (2002). Unholy Alliance: Greece and Milosevic's Serbia in the Nineties . Texas A&M University Press. ISBN 158544183X .
↑ Grohmann, Karolos; "Greece starts probe into Srebrenica massacre"; Reuters, 27 June 2006 [4] เก็บถาวร 2009-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ " "Greek volunteers in the Srebrenica Genocide" by Harun Karcic, Today's Zaman, 4 July 2010. Retrieved 25 July 2010" . Todayszaman.com. 2010-07-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26 .
↑ Prosecutor vs Krstic, ICTY Appeals Chamber Judgement, Case No. IT-98-33, 19 April 2004, Para. 33 , accessed 21 March 2011
↑ ICTY, Prosecutor vs Krstic, Judgement , Case No. IT-98-33, United Nations, 2 August 2001[5] PDF (685 KB) , "Findings of Fact", paragraphs 18 and 26 [6]
↑ "UN Srebrenica immunity questioned" . BBC. 18 June 2008. สืบค้นเมื่อ 1 November 2008 .
↑ Comprehensive report of the proceedings, www.vandiepen.com เก็บถาวร 2008-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ "Under The UN Flag; The International Community and the Srebrenica Genocide" by Hasan Nuhanović, pub. DES Sarajevo, 2007, ISBN 978-9958-728-87-7 [7] เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
[8] เก็บถาวร 2019-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ Institute for War and Peace Reporting, Tribunal Update: Briefly Noted (TU No 398, 18 March 2005) [9]
↑ "ICTY "Prosecutor v. Krstic" " (PDF) . Un.org. 2007-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26 .
↑ ICJ; The Application of the Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide (Bosnia and Herzegovina v. Serbia and Montenegro), case 91 , The Hague, 26 February 2007, p. 108, paragraph 297. [10] เก็บถาวร 2011-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ ICJ press release 2007/8 เก็บถาวร 2010-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 26 February 2007, See points 7 nad 8
↑ Nick Hawton. The hunt for Mladic and Karadzic BBC, 26 February 2007
↑ ICTY, Prosecutor vs Krstic, Trial Chamber Judgement , Case No. IT-98-33-T, paragraph 504. [11]
↑ Danijel Toljaga and Hasan Nuhanovic: Incomplete List of Killed Children During Srebrenica Genocide Srebrenica Bilten 41, page #7 เก็บถาวร 2012-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน published by Women of Srebrenica
↑ Federal Commission for Missing Persons; "Preliminary List of Missing and Killed in Srebrenica"; 2005 [12] เก็บถาวร 2005-10-23 ที่ Library of Congress Web Archives
↑ Mothers of Srebrenica Appeal Heard Today . BalkanInsight.com. Retrieved on 13 August 2010.
↑ "ICMP makes 13,000 DNA- led identifications of missing persons from Bosnia-Herzegovina", article posted on ICMP website, 26 March 2010 [13] เก็บถาวร 2020-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Retrieved 15 April 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น