การระบาดทั่วของอีโบลาในกีวู พ.ศ. 2561–62 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและยูกันดา
วันที่ 1 สิงหาคม 2561–ปัจจุบัน ความสูญเสีย
การระบาดทั่วของอีโบลาในกีวู พ.ศ. 2561–62 เริ่มเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 เมื่อมีการยืนยันว่ามีผู้ป่วยสี่รายมีผลตรวจเป็นบวกสำหรับโรคไวรัสอีโบลา ในภูมิภาคกีวูทางตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC)[ 8] [ 9] [ 10] การระบาดดังกล่าวเกิดขึ้นไม่กี่วันหลังการสิ้นสุดการระบาดในจังหวัดเอกาเตอร์[ 11] [ 12] การระบาดในกีวูกินพื้นที่จังหวัดอีตูรี หลังผู้ป่วยรายแรกได้รับการยืนยันเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม[ 13] และจนถึงเดือนมิถุนายน 2562 ไวรัสระบาดไปประเทศยูกันดา โดยติดเชื้อเด็กชายชาวคองโกวัย 5 ปีที่เข้าสู่ประเทศยูกันดาพร้อมกับครอบครัว[ 14] ในเดือนพฤศจิกายน 2561 การระบาดดังกล่าวเป็นการระบาดครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของ DRC[ 15] [ 16] [ 17] และจนถึงเดือนพฤศจิกายนปีนั้น การระบาดดังกล่าวเป็นการระบาดของไวรัสอีโบลาครั้งใหญ่สุดอันดับสองในประวัติศาสตร์[ 18] [ 19] รองจากการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก เมื่อปี 2556–59
จังหวัดและพื้นที่โดยทั่วไปที่ได้รับผลกระทบปัจจุบันอยู่ระหว่างการขัดกันทางทหาร ซึ่งขัดขวางความพยายามรักษาและป้องกันโรค รองผู้อำนวยการใหญ่ด้านการเตรียมและการตอบสนองภาวะฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) อธิบายการขัดกันทางทหารและเหตุทุกขภัยของพลเรือนว่าอาจเป็น "พายุใหญ่" ซึ่งอาจนำให้การระบาดทวีความเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วได้[ 20] [ 21] ในเดือนพฤษภาคม 2562 WHO รายงานว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมมีการโจมตีสถาบันสาธารณสุข 42 ครั้ง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 85 คนเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ ในบางพื้นที่ องค์การช่วยเหลือต้องหยุดทำงานเนื่องจากความรุนแรง[ 22] คนงานสาธารณสุขยังต้องจัดการกับข่าวปลอมและการให้ข่าวเท็จอย่างอื่นที่นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามเผยแพร่[ 23]
จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด (ยืนยันแล้ว เป็นไปได้และต้องสงสัย) เท่ากับ 1,000 คนใน DRC นับเป็นยอดผู้ป่วยในประเทศเดียวที่ไม่เคยพบเห็นนับแต่การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกปี 2556 ในประเทศไลบีเรีย กีนีและเซียร์ราลีโอน[ 24] [ 25] ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 เก้าเดือนหลังการระบาด ยอดผู้เสียชีวิตเกิน 1,000 คนแล้วซึ่งยังไม่มีแนวโน้มว่าจะควบคุมการระบาดได้ เมื่อเทียบกันแล้ว ระหว่างการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกซึ่งกินเวลาสองปี ประเทศกินีมีผู้เสียชีวิตรวมประมาณ 2,500 คน[ 26] [ 27]
เนื่องจากสถานการณ์ที่เสื่อมลงในนอร์-กีวูและบริเวณแวดล้อม WHO จึงเพิ่มการประเมินความเสี่ยงในระดับชาติและภูมิภาคจาก "สูง" เป็น "สูงมาก" ในเดือนกันยายน 2561[ 28] ในเดือนตุลาคม คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เน้นย้ำว่าควรยุติการขัดกันด้วยอาวุธทั้งหมดใน DRC เพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคฯ[ 29] หลังการยืนยันผู้ป่วยในประเทศยูกันดา WHO มีการทบทวนครั้งที่สามในวันที่ 14 มิถุนายน 2562[ 30] และสรุปว่า แม้การระบาดดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพใน DRC และภูมิภาคนั้น แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์หนึ่งในสามข้อสำหรับการพิจารณาเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC)[ 31] อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่ยืนยันเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2562 ในโกมาทำให้ WHO มีการประชุมคณะกรรมการฉุกเฉินอีกเป็นครั้งที่สี่[ 32] [ 33] จนมีการประกาศ PHEIC อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2562[ 34]
หมายเหตุ
↑ ...in the Congolese statistics cases of Mabalako. Uganda's index case and 7 other family members were classified in Mabalako, the health zone where they started to develop symptoms. Of these 8 confirmed cases of the same family, 5 remained in the DRC and 3 had crossed the border. [...] The 2 deaths of Bwera are the 5-year-old boy and the 50-year-old grandmother who were classified...[ 7]
อ้างอิง
↑ "Operations Dashboard for ArcGIS" . who.maps.arcgis.com . สืบค้นเมื่อ 16 September 2019 .
↑ Gladstone, Rick (12 June 2019). "Two More Ebola Cases Diagnosed in Uganda as First Victim, 5, Dies" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ 13 June 2019 .
↑ Muhumuza, Rodney; Keaten, Jamey (June 13, 2019). "2nd Ebola death in Uganda after outbreak crosses border" . ABC News . Associated Press . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 13 June 2019. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019 .
↑ "Ebola Virus Disease Outbreak Uganda Situation Reports" (PDF) . World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 18 June 2019 .
↑ "Update of Ebola Outbreak in Kasese District, 21 June 2019 – Uganda" . ReliefWeb . สืบค้นเมื่อ 23 June 2019 .
↑ "Congolese girl, 9, dies of Ebola in Uganda – hospital official" . Reuters (ภาษาอังกฤษ). 30 August 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-09-02. สืบค้นเมื่อ 2 September 2019 .
↑ "Situation épidémiologique dans les provinces du Nord-Kivu et de l'Ituri" (ภาษาฝรั่งเศส). Dr. Oly Ilunga Kalenga , Ministre de la Santé. 2019-06-13.
↑ "Congo declares new Ebola outbreak in eastern province" . Reuters . August 2018. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018 .
↑ "Congo announces 4 new Ebola cases in North Kivu province" . Washington Post (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018 .
↑ "Cluster of presumptive Ebola cases in North Kivu in the Democratic Republic of the Congo" . World Health Organization . สืบค้นเมื่อ 2 August 2018 .
↑ "Media Advisory: Expected end of Ebola outbreak" . ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 August 2018 .
↑ Weber, Lauren (1 August 2018). "New Ebola Outbreak Confirmed In Democratic Republic Of Congo" . Huffington Post . สืบค้นเมื่อ 1 August 2018 .
↑ "EBOLA RDC - Evolution de la riposte contre l'épidémie d'Ebola dans la province du Nord Kivu au Lundi 13 août 2018" . mailchi.mp . สืบค้นเมื่อ 17 August 2018 .
↑ Hunt, Katie (12 June 2019). "Ebola outbreak enters 'truly frightening phase' as it turns deadly in Uganda" . CNN . สืบค้นเมื่อ 12 June 2019 .
↑ "EBOLA RDC - Evolution de la riposte contre l'épidémie d'Ebola dans les provinces du Nord Kivu et de l'Ituri au Vendredi 9 novembre 2018" . mailchi.mp . สืบค้นเมื่อ 9 November 2018 .
↑ "Current Ebola Outbreak Is Worst in Congo's History: Ministry" . usnews.com . Us News and World report. สืบค้นเมื่อ 10 November 2018 .
↑ Editorial, Reuters (2018-10-15). "Congo confirms 33 Ebola cases in past week, of whom 24 died" . Reuters . สืบค้นเมื่อ 16 October 2018 .
↑ "Ebola Virus Disease Distribution Map: Cases of Ebola Virus Disease in Africa Since 1976" . Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 22 May 2018. สืบค้นเมื่อ 10 October 2018 .
↑ Weber, Lauren (29 November 2018). "The Ebola Outbreak In Congo Just Became The Second Largest Ever" . Huffington Post . สืบค้นเมื่อ 29 November 2018 .
↑ Belluz, Julia (25 September 2018). "An Ebola "perfect storm" is brewing in Democratic Republic of the Congo" . Vox . สืบค้นเมื่อ 26 September 2018 .
↑ "Ebola-hit DRC faces 'perfect storm' as uptick in violence halts WHO operation - Democratic Republic of the Congo" . ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). 25 September 2018. สืบค้นเมื่อ 26 September 2018 .
↑ "Ebola outbreak deaths top 1,000 in Congo amid clinic attacks" . The Washington Post . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-05-04. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019 .
↑ Spinney, Laura (17 January 2019). "In Congo, fighting a virus and a groundswell of fake news". Science . 363 (6424): 213–214. Bibcode :2019Sci...363..213S . doi :10.1126/science.363.6424.213 . PMID 30655420 .
↑ "Ebola virus disease" . www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 February 2019 .
↑ "EBOLA RDC - Evolution de la riposte contre l'épidémie d'Ebola dans les provinces du Nord Kivu et de l'Ituri au Mercredi 13 février 2019" . us13.campaign-archive.com . สืบค้นเมื่อ 13 February 2019 .
↑ "2014-2016 Ebola Outbreak in West Africa | History | Ebola (Ebola Virus Disease) | CDC" . www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019 .
↑ "The Latest: Ebola deaths top 1,000 in Congo outbreak" . Washington Post (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019 .
↑ "Ebola virus disease – Democratic Republic of the Congo" . World Health Organization . สืบค้นเมื่อ 28 September 2018 .
↑ "UN calls for end to Congo fighting to combat Ebola outbreak" . Washington Post (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-11-27. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018 .
↑ Gladstone, Rick (12 June 2019). "Boy, 5, and Grandmother Die in Uganda as More Ebola Cases Emerge" . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 14 June 2019 .
↑ "Statement on the meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee for Ebola virus disease in the Democratic Republic of the Congo on 14 June 2019" . World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 14 June 2019 .
↑ "High-level meeting on the Ebola outbreak in the Democratic Republic of the Congo affirms support for Government-led response and UN system-wide approach" . World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 16 July 2019 .
↑ Schnirring, Lisa (15 July 2019). "Ebola spread to Goma triggers new emergency talks, cases top 2,500" . CIDRAP . สืบค้นเมื่อ 16 July 2019 .
↑ Goldberg, Mark Leon (17 July 2019). "The World Health Organization Just Declared an Ebola "Emergency" in the Democratic Republic of Congo. Here's What That Means" . UN Dispatch . สืบค้นเมื่อ 17 July 2019 .