การปิดล้อม (ยุทธวิธีควบคุมฝูงชน)![]() การปิดล้อม[1] (อังกฤษ: kettling หรือนิยมใช้ containment หรือ corralling)[2] เป็นยุทธวิธีของตำรวจในการควบคุมฝูงชนขนาดใหญ่ในระหว่างการเดินขบวนหรือการประท้วง โดยใช้รูปขบวนขนาดใหญ่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปิดล้อมฝูงชนให้อยู่ในพื้นที่จำกัด ผู้ประท้วงอาจจะออกไปในทิศทางที่ตรวจำควบคุมพื้นที่ ออกจากวงล้อมในทิศทางที่ไม่ได้ถูกปิดล้อมไว้ หรือถูกล้อมกรอบไว้เพื่อป้องกันไม่ให้หลบหนีออกไปและถูกจับกุม กลยุทธ์ดังกล่าวก่อให้เกิดข้อถกเถียง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทำให้เกิดการจับกุมแบบเหมารวมทั้งผู้ประท้วงเองและคนยืนดูเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555[3] ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Court of Human Rights) ได้ตัดสินว่ายุทธวิธีการปิดล้อมเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากมีการท้าทายทางกฎหมาย[4] ยุทธวิธีคำว่า kettle แปลตรงตัวว่า กาต้มน้ำ เป็นการใช้งานเชิงเปรียบเทียบเหมือนกับการปิดล้อมกักกันผู้ประท้วงกับการกักความร้อนและไอน้ำภายในกาต้มน้ำในที่พักอาศัยทั่วไป การใช้งานในภาษาอังกฤษสมัยใหม่อาจจะมาจากคำว่า "Kessel" ในภาษาเยอรมัน ซึ่งแปลตรงตัวว่าหม้อต้ม หรือ กาต้มน้ำ ในภาษาเยอรมัน หมายความถึงกองทัพที่ถูกปิดล้อมและกำลังจะถูกทำลายโดยกองกำลังที่เหนือกว่า[5] หม้อต้มถูกคาดว่าจะ "เดือด" ตามกิจกรรมการต่อสู้ กองกำลังของศัตรูขนาดใหญ่ยังคงสามารถต่อต้านความ "ร้อน" ได้อย่างดีในช่วงเริ่มต้นของการปิดล้อม ซึ่งจะต้องถูกจำกัดเอาไว้ แต่ไม่ได้เกิดจากการปะทะโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงการสื่อความถึงการเผชิญหน้าทางทหาร บางครั้งการปิดล้อมจึงถูกอธิบายว่าเป็นการ "ล้อมคอก" (corralling) ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่ใช้การล้อมรอบปศุสัตว์ แม้ว่ากลุ่มขนาดใหญ่จะควบคุมได้ยาก แต่ก็สามารถทำได้ด้วยการรวมกําลังของตำรวจ กลยุทธ์ดังกล่าวจะป้องกันไม่ให้ฝูงชนกลุ่มใหญ่แยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ที่จะต้องไปไล่จับกุมทีละคน ทำให้ตำรวจต้องแยกออกเป็นหลายกลุ่ม[6] จากนั้นวงล้อมจะปิดล้อมอยู่หลายชั่วโมง ระหว่างนั้นอาจจะมีการลดขนาดของวงลง ขึ้นอยู่กับผู้ประท้วงว่าจะถูกขัดขวางให้ออกจากวงล้อม หรือได้รับอนุญาตให้ออกไปจากวงในจำนวนที่สามารถควบคุมได้ผ่านทางช่องทางที่กำหนด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมผู้ประท้วงจนกว่าผู้ประท้วงจะยอมยุติการเข้าร่วมการประท้วงและเดินทางกลับบ้าน เมื่อการปิดล้อมถึงขั้นนี้ การปิดล้อมจึงจะยุติลง[7] ปีเตอร์ วัดดิงตัน นักสังคมวิทยาและอดีตเจ้าหน้าตำรวจที่ช่วยพัฒนาทฤษฎีเบื้องหลังยุทธวิธีการปิดล้อม ได้เขียนว่า: "ผมยังคงเชื่อมั่นว่าการล้อมกรอบจะช่วยทำให้การพื้นฟูความสงบเรียบร้อยโดยใช้ความเบื่อหน่ายเป็นอาวุธหลักที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ แทนที่จะใช้ความกลัวกับประชาชนด้วยการวิ่งเข้าใส่ของตำรวจพร้อมกับกระบอง"[8] การล้อมกรอบถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นยุทธวิธีที่ใช้อย่างไม่เลือกหน้า นำไปสู่การจับกุมพลเมืองทั่วไปที่ปฏิบัติตามกฎหมายและผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย[9] ในบางกรณี มีรายงานว่าผู้ประท้วงถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงอาหาร น้ำ และห้องน้ำเป็นเวลานาน[3] และมีการวิจารณ์เพิ่มเติมว่าบางครั้งมีการใช้ยุทธวิธีในการปลุกปั่นจนเกิดความไม่เป็นระเบียบเพื่อเบี่ยงประเด็นออกจากวัตถุประสงค์หลักของผู้ชุมนุมที่ต้องการอภิปรายในที่สาธารณะ (public debate)[10] ในบางประเทศ ยุทธวิธีดังกล่าวนำไปสู่ความท้าทายทางกฎหมายที่เกิดมาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในอังกฤษ ศาลได้ตัดสินว่าอนุญาตให้ใช้ยุทธวิธีล้อมกรอบได้หากใช้งานโดยสุจริต ตามสัดส่วน และบังคับใช้โดยไม่เกินความจำเป็นอันสมควร[7] แบ่งตามประเทศแคนาดาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ผู้คนจำนวน 200 คน ประกอบไปด้วย ผู้ประท้วง, คนยืนดูที่ไม่เกี่ยวข้อง และนักข่าว ถูกปิดล้อมที่สี่แยกถนนควีนและสปาดิน่า อเวนิว เมืองโตรอนโต ระหว่างการประท้วงในการประชุมสุดยอดกลุ่ม 20 นอกจากนี้ ยังมีผู้คนอีกหลายร้อยคนถูกปิดล้อมบริเวณด้านนอกโรงแรมโนโวเทล บนเอสพลานาดและถูกจับกุม[11] ในปีต่อมา กรมตำรวจโตรอนโตได้ออกมาปฏิญาณว่าจะไม่ใช่ยุทธวิธีการปิดล้อมอีก[12] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 เดวิด 'มาร์ค' เฟนตัน ผู้กำกับการตำรวจถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย 2 ข้อหา และประพฤติตัวไม่น่าเชื่อถืออีก 1 ข้อหา ถือเป็นความผิดทางวินัยภายใต้บัญญัติบริการตำรวจออนแทรีโอสำหรับการสั่งการปิดล้อมในปี พ.ศ. 2553[13] อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาที่ตัดสินใจลงโทษเฟนตันก็ได้ออกมาระบุเช่นกันว่า "การผิดล้อมหรือล้อมกรอบไม่ถือว่าผิดกฎหมาย"[14] ![]() เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554 ผู้ประท้วงประมาณ 250–300 คนในเมืองนอนทรีออลถูกปิดล้อมที่แซงขเดอนีทางตอนเหนือของมง์รอยัลระหว่างการเดินขบวนต่อต้านความรุนแรงของตำรวจประจำปี ตำรวจใช้ระเบิดสตัน, อุปกรณ์ปราบจลาจล และม้าเพื่อปิดล้อมฝูงชน[15] เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ตำรวจในมอลทรีออลได้เคลื่อนกำลังเข้าจับกุมผู้ประท้วงที่เป็นนักศึกษาด้วยวิธีการปิดล้อมและจับกุมผู้ประท้วงจำนวน 518 ราย ถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดในคืนเดียวนับตั้งแต่การประท้วงของนักศึกษาที่เริ่มต้นเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน[16] เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในการเดินขบวนต่อต้านความรุนแรงของตำรวจประจำปี ตำรวจปิดล้อมผู้ประท้วงบนถนนสเต-แคทเธอรีนในมอนทรีออล หลังจากการเดินขบวนถูกประกาศว่าผิดกฎหมายเนื่องจากไม่ได้ยื่นแผนการเดินก่อนการประท้วง หลังจากพยายามสลายตัวกลุ่มผู้ประท้วงเกือบสองชั่วโมง ตำรวจได้ปิดล้อมและจับกุมทุกคนที่ติดอยู่ในการปิดล้อม หลังจากนั้นช่วงเย็นตำรวจได้ระบุว่ามีการจับกุมประมาณ 250 ราย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 2 นาย และผู้ประท้วง 1 รายที่ไม่สบาย[17] เดนมาร์กผู้ชุมนุมด้วยความสงบจำนวนประมาณ 250–1000 รายระหว่างการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2552 ณ โคเปนเฮเกนถูกตำรวจปิดล้อม โฆษกตำรวจระบุว่าการกักตัวผู้ชุมนุมมีความจำเป็นเพื่อป้องกันความวุ่นวาย[18] ฟินแลนด์การเดินขบวนของกลุ่มอนาธิปไตยฟินแลนด์สแมชอาเซมถูกขัดขวางโดยตำรววจปราบจลาจล 200 นาย และตำรวจอีกหลายร้อยคนและบุคลากรหน่วยยามชายแดนฟินแลนด์ได้ปิดล้อมผู้คนที่เดินขบวนประมาณ 300–500 รายรวมถึงคนยืนดูที่ไม่รู้เรื่องด้วยบริเวณหน้าเคียสมาในตัวเมืองเฮลซิงกิเป็นระยะเวลานานกว่า 3 ชั่วโมงในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 ฝรั่งเศสบนสะพานกิโยติแยร์ในลียงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ผู้ประท้วงหลายร้อยคนถูกปิดล้อมเป็นเวลาหลายชั่วโมง ในวันรุงขึ้นที่จตุรัสเพลสเบลล์กูร์ ประชาชนและผู้ประท้วงปกป้องเงินบำนาญสาธารณะประมาณ 500 คนถูกปิดล้อมเป็นเวลา 6 ชั่วโมงโดยไม่มีทั้งอาหารและน้ำโดยตำรวจและทหาร พวกเขาถูกขัดควางไม่ให้เดินขบวน โดยมีการใช้แก๊สน้ำตาและปืนฉีดน้ำแรงดันสูง[19] เยอรมนีตัวอย่างแรกของการปิดล้อมเกิดขึ้นโดยตำรวจเยอรมันในปี พ.ศ. 2529 ระหว่างการเดินขบวนของกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านนิวเคลียร์ที่ไฮลิเกนไกสท์เฟลด์ ฮัมบูร์ก เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ตำรวจฮัมบูร์กได้ปิดล้อมผู้คนประมาณ 800 คนไว้ในการปิดล้อม (kettle) เป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง[20] ยุทธวิธีการปิดล้อมของเยอรมันแยกความแตกต่างระหว่างการปิดล้อมแบบตรึงอยู่กับที่ (Polizeikessel) และการปิดล้อมแบบเคลื่อนที่ ซึ่งผู้ประท้วงจะถูกิดล้อมโดยวงล้อมของตำรวจขณะเคลื่อนที่เดินขบวน (Wanderkessel) วงล้อมประเภทนี้ยังถูกใช้เป็นประจำในสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะมีการปรับปรุงยุทธวิธีดังกล่าวให้ดีขึ้นและใช้งานกับกลุ่มผู้ประท้วงกลุ่มเอ็น 30 และเรียกมันว่าการปิดล้อม (kettle) การปิดล้อมถูกท้าทายในศาลเยอรมันหลายครั้ง โดยการปิดล้อมที่ฮัมบูร์กในปี พ.ศ. 2529 ถูกตัดสินว่าผิดกฎหมายโดยศาลปกครองฮัมบูร์ก ในขณะที่ศาลแขวงได้ตัดสินว่าตำรวจเยอรมันมีความผิดในฐานลิดรอนเสรีภาพส่วนบุคคลโดยมิชอบ หลังจากการประท้วงต่อต้านนิวเคลียร์ในปี พ.ศ. 2545 ในเมืองฮิตแซคเกอร์ รัฐนีเดอร์ซัคเซิน ผู้ประท้วงคนหนึ่งได้ยื่นฟ้องต่อศาลเนื่องจากเธอถูกปฏิเสธการเข้าห้องน้ำระหว่างการถูกควบคุมตัวอยู่ในการปิดล้อมของตำรวจ ศาลแขวงพบว่าเธอถูกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมและตำรวจได้ปฏิบัติอย่างผิดกฎหมาย[21] อิสราเอลระหว่างการประท้วงการสังหารผู้ประท้วงตามแนวรั้วฉนวนกาซา ตำรวจอิสราเอลในเยรูซาเลมและไฮฟาในยุทธวิธีการปิดล้อม (kettling) สองครั้ง[22] และเกิดการจับกุมหลายสิบคนระหว่างการปิดล้อมหลายชั่วโมง ในบรรดาผู้ถูกปิดล้อมนั้นมีสมาชิกรัฐสภาอิสราเอลจากจอนท์ลิลท์ สเปนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 อคัมปาดา โซลเรียกรร้องให้มีการประท้วงแบบกาเซโรลาโซเนื่องจากสเปนมีค่าความเสี่ยงเกินกว่า 500 คะแนนในวันนั้น ผู้ประท้วงกำลังเดินผ่านถนนอัลคาลาในมาดริด ตำรวจได้ปิดล้อมพวกเขาเป็นเวลานานกว่าครึ่งชั่วโมง หลังจากที่ผู้ประท้วงได้ประกาศขอกำลังสนับสนุนบนอินเตอร์เน็ต ทำให้มีผู้คนมานั่งล้อมรอบบริเวณที่ปิดล้อมนั้นนอกวงปิดล้อมของตำรวจประมาณ 500 คนจนว่าตำรวจจะยกเลิกการปิดล้อมดังกล่าว จนในที่สุดตำรวจยอมเปิดวงปิดล้อมและปล่อยให้ผู้ประท้วงเดินขบวนต่อไปยังเมืองปูเอร์ตา เดล โซล[23] ระหว่างการประท้วงโดยสงบนั้นในแคว้นคาตาโลเนีย หลังจากการจับกุมประธานาธิบดีการ์เลส ปุจเดมองต์โดยทางการเยอรมันเมื่อปี พ.ศ. 2561 ตำรวจได้ใช้วิธีการปิดล้อม (kettling) เป็นยุทธวิธีในการทำให้ผู้ประท้วงยุติการชุมนุม[24] สหราชอาณาจักรความท้าทางทางกฎหมายหลังจากการใช้การปิดล้อม (kettling) ระหว่างการประท้วงในวันแรงงานเมื่อปี พ.ศ. 2544 ผู้ถูกจับกุมสองรายในเหตุการณ์นั้นที่อ็อกซ์ฟอร์ดเซอร์คัสได้ฟ้องร้องต่อตำรวจนครบาลฐานกักขังโดยมิชอบ และกล่าวหาว่าเป็นการละเมิดอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป และระบุเพิ่มเติมว่าพวกเขาถูกควบคุมตัวโดนไม่ได้รับอาหาร น้ำ หรือห้องน้ำ[25] ทั้งคู่แพ้คดีในศาลเมื่อปี พ.ศ. 2548[26] และแพ้ในการอุธรณ์ในปี พ.ศ. 2550[27] เมื่อศาลอุธรณ์ยืนตามศาลสูง ในปี พ.ศ. 2552 ออสติน กับ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[28] เป็นคำตัดสินของสภาขุนนาง ได้ตัดสินว่าศาลสูงมีสิทธิ์ที่จะคำนึงถึง "วัตถุประสงค์" ของการลิดรอนเสรีภาพก่อนที่จะตัดสินตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน[29]
โจทย์จากการประท้วงในปี พ.ศ. 2544 พร้อมด้วยประชาชนที่ไม่ได้ร่วมประท้วงอีกสามรายซึ่งถูกปิดล้อม (kettled) โดยตำรวจ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป โดยการอ้างว่าการปิดล้อมเป็นการละเมิดมาตรา 5 ของอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัย ในขณะที่สภาขุนนางระบุว่า "ยอมรับว่าเธอเป็นผู้ประท้วงที่ชอบด้วยกฎหมายและสันติ ซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ไม่ให้ไปรับลูกของเธอ" ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปได้ตัดสินว่าการปิดล้อม (kettling) เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย และตำรวจนครบาลมีสิทธิ์ที่จะควบคุมตัวบุคคลกลุ่มต่าง ๆ เป็น "วิธีการที่ก้าวก่ายน้อยที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการปกป้องประชาชนจากความรุนแรง"[4] ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ศาลได้ตัดสินว่า:
สหรัฐขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์, วอชิงตัน ดี.ซี., 2545ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงต่อต้านโลกาภิวัฒน์ที่กำลังดำเนินการอยู่และการเดินขบวนก่อต้านการรุกรานอิรักที่กำลังจะเริ่มขึ้น ผู้ประท้วงและประชาชนทั่วไปที่ยืนดูเหตุการณ์ถูกปิดล้อม (kettled) ในเพอร์ชิ่งพาร์คและถูกจับกุมโดยตำรวจดีซี[31] การประท้วงในกรณีจอร์จ ฟลอยด์และบรีออนนา เทย์เลอร์, 2563ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน พ.ศ. 2563 หลายเมืองในสหรัฐเผชิญกับการประท้วง การจลาจล และการปล้นสะดมหลังจากเหตุการณ์การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์โดยตำรวนใจเมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินิโซตา ตำรวจตอบโต้อย่างรุนแรงต่อทั้งการจลาจลและผู้ประท้วงที่ไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งในกรณีหลังขัดต่อการคุ้มครองสิทธิตามการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งแรก การปิดล้อม (kettling) ถูกใช้โดยกว้างขวางโดยกรมตำรวจนิวยอร์ก (NYPD) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประท้วงกระจายไปตามถนนเส้นต่าง ๆ ในเมือง ต่อมาผู้ประท้วงถูกจับกุมในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งเคอร์ฟิวตามกฎหมาย[32] เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563 กรมตำรวจนิวยอร์กได้จับกุมผู้ประท้วงกว่า 5,000 รายบนสะพานแมนฮัตตันเป็นเวลาเกือบหนึ่งชั่วโมง ก่อนที่จะปล่อยให้ผู้ประท้วงสลายตัวไปในอีกฝั่งของสะพาน[33][34][32] ในวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ตำรวจได้ปิดล้อมผู้ประท้วงจำนวน 60 รายเข้าไปในบ้านบนถนนสวอนน์ และพยายามเอาพวกออกมา โดยผู้ประท้วงสามารถออกมาได้ในช่วงเช้าวันรุ่งขึ้นเมื่อเคอร์ฟิวยุติลง[35] กรมตำรวจชาร์ลอตต์-เมคเลนเบิร์ก (CMPD) ในเมืองชาร์ลอตต์ รัฐนอร์ธแคโรไลนา ได้ปิดล้อมโดยฝูงชนระหว่างการเดินขบวนอย่างสงบ บริเวณหัวขบวน เจ้าหน้าที่ได้ยิงแก๊สน้ำตา และระเบิดแฟลช โดยตำรวจปราบจลาจลขนาบกันจากด้านท้ายขบวน ในตำแหน่งที่ผู้ประท้วงโดนบีบโดยโครงสร้างในด้านที่เหลือ ตำรวจถูกกล่าวหาว่ายิงแก๊สน้ำตา กระสุนพริกไทย และกระสุนยางอย่างไม่เลือกหน้า ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาถึงการใช้ยุทธวิธีปิดล้อมดังกล่าว แต่การสื่อสารทางวิทยุที่ถูกบันทึกไว้ระบุว่ามีการดำเนินการตามแผนการจับกุมและการปฏิบัติการที่ประสานกัน และเจ้าหน้าที่ได้เฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน[36][37] นอกจากนี้ยังมีการใช้งานในดัลลัส บนสะพานมาร์กาเร็ต ฮันท์ ฮิลล์ ซึ่งผู้ประท้วงถูกใช้แก๊สน้ำตาและจับกุมด้วยซิปรัด การปิดล้อมและจับกุมจำนวนมากยังถูกนำมาใช้งานที่ฟิลาเดลเฟีย ฮูสตัน แอตแลนตา ชิคาโก ลอสแองเจลิส ซีแอตเทิล พอร์ตแลนด์ออริกอน และดิมอยน์[36] การปิดล้อม (kettling) ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในเมืองลุยส์วิลล์ระหว่างการประท้วงในกรณีของบรีออนนา เทย์เลอร์ รวมถึงการล้อมโบสถ์ที่ให้ที่หลบหนีผู้ประท้วงในช่วงไม่กี่วันหลังจากการตัดสินของคณะลูกขุนใหญ่ในเดือนกันยายน และจับกุมผู้คนจำนวนมากที่พยายามจะหนีออกไป[38] เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ผู้ประท้วงจำนวน 646 รายในเมืองมินนีแอโพลิสถูกปิดล้อม (kettled) บนทางหลวงและถูกจับกุมขณะประท้วงต่อต้านคำขู่ของโดนัลด์ ทรัมป์ที่จะท้าทายการเลือกตั้งสหรัฐ และความอยุติธรรมในสังคม[39] บรูคลินเซ็นเตอร์ มินนิโซตา: การประท้วงกรณีดอนเท ไรท์, 2564ในช่วงต้นเดือนจนถึงกลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 การประท้วงเกี่ยวกับเหตุฆาตกรรมดอนเท ไรท์ เกิดขึ้นหลายคืนติดต่อกันนอกกรมตำรวจบรูคลินเซ็นเตอร์ ในคืนวันที่ 16 เมษายน ตำรวจได้ประกาศว่าการรวมตัวกันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และใช้งานระเบิดแฟลชและระเบิดควัน นอกจากนี้ยังมีการใช้อาวุธเคมี เช่น แก๊สน้ำตา และ/หรือสเปรย์พริกไทยเพื่อควบคุมผู้ประท้วง[40][41] หลังจากนั้นไม่นาน เมืองได้ประกาศใช้เคอร์ฟิวเวลา 23.00 น. เมื่อเวลา 22.40 น. ซึ่งผู้ประท้วงจำนวนมากถูกผิดล้อมระหว่างพยายามออกจากพื้นที่ชุมนุม โดยมีผู้ประท้วง 136 รายจากหลายร้อยคนถูกจับกุมโดยตำรวจ[42][40] ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia