การบริจาคโลหิต
![]() การบริจาคโลหิต คือการเก็บโลหิตจากผู้มีความประสงค์จะบริจาค เลือดนั้นนำไปใช้สำหรับการถ่ายเลือด และ/หรือการเยียวยาทางชีวเภสัชวิทยาโดยกระบวนการที่เรียกว่า การแยกส่วน (การแยกองค์ประกอบของเลือดครบ) การบริจาคอาจบริจาคเลือดครบ หรือเฉพาะองค์ประกอบหนึ่งของเลือดโดยตรง (apheresis) ก็ได้ ธนาคารเลือดมักเป็นผู้ดำเนินการเก็บเลือดและกระบวนการต่อจากนั้น ผู้ประสงค์จะบริจาคโลหิตจะได้รับการประเมินปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เลือดไม่ปลอดภัย ขั้นตอนการคัดกรองมีการทดสอบโรคที่สามารถส่งต่อได้ทางการถ่ายเลือด เช่น เอชไอวีและไวรัสตับอักเสบ ผู้บริจาคต้องตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์และรับการทดสอบทางกายสั้น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการบริจาคโลหิตไม่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริจาค ความถี่ของการบริจาคโลหิตนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของเลือดที่บริจาคและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา ผู้บริจาคสามารถบริจาคเลือดครบได้ทุก 8 สัปดาห์ (56 วัน) และบริจาคเฉพาะเกล็ดเลือดได้ทุก 3 วัน การคัดกรองเพื่อความปลอดภัยของผู้รับโลหิตเพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาคโลหิตผู้บริจาคโลหิตจะได้รับการตรวจร่างกายเพื่อประเมินสุขภาพและถามคำถามต่างๆ เกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าการบริจาคโลหิตจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริจาค ผู้บริจาคจะได้รับการตรวจความเข้มข้นของเลือด (ระดับฮีมาโทคริต หรือ ระดับฮีโมโกลบิน) เพื่อให้แน่ใจว่าหลังบริจาคเลือดแล้วจะไม่เกิดภาวะโลหิตจางขึ้น การตรวจขั้นตอนนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บริจาคถูกปฏิเสธเลือดที่พบบ่อยที่สุด[1] ระดับฮีโมโกลบินที่กาชาดอเมริกายอมรับให้บริจาคโลหิตได้คือมากกว่า 12.5 g/dL ในผู้หญิง หรือมากกว่า 13.0 g/dL ในเพศชาย และไม่เกิน 20 g/dL ผู้ที่มีระดับฮีโมโกลบินน้อยกว่าหรือมากกว่าค่าที่กำหนดนี้จะถูกปฏิเสธไม่ให้บริจาคโลหิต[2] นอกจากความเข้มข้นของเลือดแล้วผู้บริจาคจะได้รับการตรวจวัดอัตราชีพจร ความดันโลหิต และอุณหภูมิกาย ผู้บริจาคสูงอายุบางรายจะถูกปฏิเสธเนื่องจากอายุเกิน[3] นอกจากอายุแล้วน้ำหนักและส่วนสูงก็เป็นอีกปัจจัยที่จะนำไปพิจารณาคัดผู้บริจาค เช่น กาชาดอเมริกากำหนดให้ผู้ที่จะบริจาคเลือดเต็มหรือเกล็ดเลือดต้องมีน้ำหนักอย่างน้อย 50 กิโลกรัม หรือมากกว่า 59 กิโลกรัมในเพศชายและ 68 กิโลกรัมในเพศหญิง สำหรับการบริจาคเลือดแดงสองเท่า[4] ยังไม่มีการศึกษาความปลอดภัยในการบริจาคตโลหิตสำหรับผู้บริจาคที่กำลังตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้วจะงดรับบริจาคโลหิตจากผู้ตั้งครรภ์จนกว่าจะอยู่ในระยะมากกว่า 6 สัปดาห์หลังคลอด[5] ขั้นตอนการบริจาคโลหิต
หลังบริจาคโลหิตจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้บริการให้ และนั่งพักสักระยะหนึ่ง เพื่อสังเกตอาการหลังบริจาคโลหิต[6] คุณสมบัติผู้บริจาค
เพื่อที่ผู้บริจาค จะไม่ต้องเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ในการรอบริจาค ผู้บริจาคควรสำรวจตนเองว่า มีคุณสมบัติเพียบพร้อมสำหรับการบริจาคหรือไม่ ซึ่งผู้บริจาค ควรมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
การบริจาคเมื่อถึงหน่วยบริจาครับบริจาคโลหิต จะมีผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน นำใบกรอกเพื่อเขียนประวัติของผู้บริจาคและเซ็นชื่อยินยอม และยอมรับว่าข้อมูลทั้งหมดเป็นความจริง เมื่อกรอกเรียบร้อยจะถึงขั้นตอนการวัดความดัน และตรวจโลหิตขั้นต้น เพื่อคัดกรองโลหิตในขั้นต้น และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาคเอง หลังจากนั้นผู้บริจาคจะถูกพามานอนบนเตียงบริจาคเพื่อเจาะเข็มเข้าเส้นเลือด เพื่อนำโลหิตใส่ยังถุงโลหิต เป็นจำนวน 350 – 450 มิลลิลิตร เจ้าหน้าที่นำเข็มเจาะออก ควรนอนพักเพื่อปรับสภาพสักครู่ เมื่อลุกออกจากเตียง ควรรับอาหารว่าง ที่ทางหน่วยบริการจัดเตรียมไว้ ซึ่งหลักๆ ได้แก่ น้ำหวาน (น้ำแดง) และ ขนมที่มีธาตุเหล็ก พร้อมทั้งรับธาตุเหล็กกลับไปรับประทาน การปฏิบัติตัวหลังการบริจาคหลังจากการบริจาคโลหิตแล้ว ผู้บริจาคควรปฏิบัติตนหลังการบริจากตามคำแนะนำ เพื่อประโยชน์ของผู้บริจาคเอง ดังนี้
ประเภทของการบริจาคเลือดโลหิตรวม Whole Bloodบริจาคได้ทุก 3 เดือน ใช้กับผู้ป่วยที่เกิดภาวะสูญเสียโลหิตเฉียบพลัน เช่น อุบัติเหตุ ผ่าตัด เลือดออกในกระเพาะอาหาร การคลอดบุตร เม็ดเลือดแดง Red Cellsบริจาคได้ทุก 4 เดือน ใช้รักษาผู้ป่วยที่สูญเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ใช้เวลาในการบริจาค 45 นาที เกล็ดเลือด Plateletsเกล็ดเลือด คือ ส่วนประกอบของเลือดช่วยทำให้เลือดแข็งตัว และช่วยอุดรอยฉีกขาดของเส้นเลือด เกล็ดเลือดมีอายุสั้นเมื่อออกมานอกร่างกายจะมีอายุประมาณ 5 วัน ต้องเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 22 องศา พร้อมกับการเขย่าเบาๆ ตลอดเวลา
ผู้บริจาคจะถูกเจาะแขนข้างหนึ่ง บริจาคด้วยเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ (Blood Cell Separator Device) เครื่องจะปั่นแยกเกล็ดเลือดไว้โดยคืนส่วนอื่นกลับสู่ร่างกาย บริจาคได้ทุก 1 เดือน ใช้รักษาผู้ป่วยที่ภาวะเกล็ดเลือดโลหิตต่ำและมีปัญหาเลือดออกไม่หยุด เช่น ไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดเลือดขาว ใช้เวลาในการบริจาค 1–2 ชั่วโมง พลาสมา Plasmaพลาสมา คือส่วนประกอบของโลหิตที่มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองใสซึ่งประกอบด้วย น้ำ 92% สารโปรตีน 8% การบริจาคพลาสมา บริจาคด้วยเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ (Blood Cell Separator Device) เครื่องจะปั่นแยกพลาสมาไว้โดยคืนส่วนอื่นกลับสู่ร่างกาย
- ผู้ชาย น้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัม - ผู้หญิง น้ำหนักมากกว่า 60 กิโลกรัม
ผู้ที่มีอาการช็อคจากการขาดน้ำ ผลิตเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
บริจาคได้ทุก 14 วัน ใช้เวลาในการบริจาค 45 นาที สเต็มเซลล์ Stem Cells
การลงทะเบียนอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ต้องลงทะเบียนพร้อมการบริจาคโลหิต ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ การบริจาคโลหิต |
Portal di Ensiklopedia Dunia