กันตรวดี

กันตรวดี/กะเหรี่ยงแดงตะวันออก
ကန္ဒရဝတီ
รัฐเจ้าฟ้าของกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดง
พุทธศตวรรษที่ 22 – พ.ศ. 2502

แผนที่กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงใน พ.ศ. 2460
พื้นที่ 
• พ.ศ. 2474
6,475 ตารางกิโลเมตร (2,500 ตารางไมล์)
ประชากร 
• พ.ศ. 2474
30,677 คน
การปกครอง
 • ประเภทสมบูรณาญาสิทธิราช
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
พุทธศตวรรษที่ 22
• เจ้าฟ้าสละอำนาจ
พ.ศ. 2502
ก่อนหน้า
ถัดไป
กลุ่มรัฐไทใหญ่
รัฐกะยา
เจ้าฟ้ากะเหรี่ยงแดงที่เดลฮี ดูร์บาร์ เมื่อ พ.ศ. 2446 เจ้าฟ้าของบ่อลาแก กันตรวดี และเจโบจียืนอยู่แถวหลัง
เขตการปกครองในกลุ่มรัฐฉานและกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงที่ถูกผนวกเข้ากับประเทศไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่า สหรัฐไทยเดิม

กันตรวดี (Kantarawadi หรือ Gantarawadi[1]) เป็นรัฐหนึ่งในกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรัฐกะยา ประเทศพม่า บางครั้งเรียก กะเหรี่ยงแดงตะวันออก เพราะตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน[2]

ประวัติศาสตร์

กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงหรือยางแดง เป็นดินแดนอิสระที่ปกครองด้วยเจ้าฟ้าและถูกควบคุมโดยเจ้าฟ้าไทใหญ่มาแต่เดิม ในราวพุทธศตวรรษที่ 24 มีรัฐที่เป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ 5 รัฐ ต่อมา ใน พ.ศ. 2407 เจ้าฟ้ากะเหรี่ยงแดงได้ร้องขอให้อังกฤษเข้ามาอารักขา แต่อังกฤษไม่ได้แสดงความสนใจ หลังจากเจ้าฟ้าพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2412 โอรสทั้งสององค์หวั่นเกรงการรุกรานของพม่าจึงร้องขอการคุ้มครองจากอังกฤษ แต่อังกฤษปฏิเสธ เมื่อพม่าต้องการรวมเขตของกะเหรี่ยงแดงเข้ามาในการปกครอง อังกฤษได้รับรองความเป็นเอกราชของรัฐทั้งสี่ ซึ่งต่อมา รัฐกะเหรี่ยงแดง 4 รัฐคือบ่อลาแก นามเมกอน นองปาเล และเจโบจี ถือเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2418 ส่วนกันตรวดีถือว่าเป็นเอกราชแต่ไม่อยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ กันตรวดีเริ่มส่งบรรณาการให้อังกฤษในสมัยเจ้าฟ้าลอปอเมื่อ พ.ศ. 2431 ต่อมาเจ้าฟ้าลาวีที่ครองเมืองต่อมาได้ยอมจ่ายบรรณาการ 5,000 รูปีให้แก่อังกฤษเพื่อประกันตำแหน่งเจ้าฟ้าของตน[1]

ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐเชียงตุงถูกรุกรานโดยกองทัพพายัพของไทย[3] ต่อมา สนธิสัญญาระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นกับจอมพล ป. พิบูลสงครามของไทยในเดือนธันวาคม ปีเดียวกันนั้น ได้ยกดินแดนรัฐกันตรวดีซึ่งอยู่ระหว่างชายแดนไทยกับแม่น้ำสาละวินให้เป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐไทยเดิม ซึ่งมีดินแดนเชียงตุงและเมืองพาน การผนวกเกิดขึ้นเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486[4] ไทยได้คืนดินแดนที่ผนวกนี้ใน พ.ศ. 2488 และยกเลิกการอ้างสิทธิเหนือดินแดนนี้ในพ.ศ. 2489 เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และถอนตัวจากการต้องเป็นผู้แพ้สงครามเพราะเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ[5]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Imperial Gazetteer of India, v. 15, p. 36.
  2. Khu Oo Reh (October 2006). "Highlights in Karenni History to 1948". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 19 December 2010.
  3. "Thailand and the Second World War". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-27. สืบค้นเมื่อ 2014-12-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. Shan and Karenni States of Burma
  5. David Porter Chandler & David Joel Steinberg eds. In Search of Southeast Asia: A Modern History. p. 388

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia