กัญชาเทศ
กัญชาเทศ (จีน: 益母草; พินอิน: Yìmǔcǎo) ชื่อวิทยาศาสตร์: Leonurus sibiricus เป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae พบตั้งแต่ไซบีเรียจนถึงจีน ชื่ออื่น: ซ้าซา (นครพนม), ส่านํ้า (เลย), ผักหนอกช้าง (น่าน), เอี้ยะบ่อเช่า (จีนแต้จิ๋ว),[1] กัญชาจีน[2] เป็นพืชปลูกในสหรัฐ ในไทยพบตามหมู่บ้านชาวเขา ใบมีรูปร่างคล้ายใบกัญชา ออกดอกตามซอก ทุกส่วนของต้นมีกลิ่นหอมแรง มีสารลีโอนูรีน ฤทธิ์คล้ายกับยากล่อมประสาท โดยเพิ่มระดับของ 5-ไฮดรอกซีทริปตามีน, นอร์อะดรีนาลีน และโดพามีน[3] เป็นยาสมุนไพร โดยตำรับยาพื้นบ้านใช้รักษามาลาเรีย[4] ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ขึ้นในทุ่งหญ้าที่มีหินหรือทราย, ป่าสน ที่ความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึง 1,500 เมตร มีลำต้นตรงเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านเล็กน้อย ความสูง 1–1.2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปวงรีขอบใบหยักเว้าลึก ยาว 5–7 เซนติเมตร กว้าง 4–5 เซนติเมตร ดอกช่อ ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 ปาก ดอกมีหลายสีตามแต่สายพันธุ์เช่น สีขาว, สีม่วง และ สีแดง ออกช่วงฤดูฝนต่อเนื่องไปจนถึงฤดูหนาว ผล รูปทรงกลม แห้งไม่แตกขนาดเล็ก มี 3 สัน มีเมล็ดขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด[2][5] เภสัชวิทยาช่วงที่ยังไม่ออกดอกสารที่พบในใบกัญชาเทศจะมีปริมาณมากกว่าช่วงที่ออกดอกแล้ว โดยเป็นสารประเภทแอลคาลอยด์ เช่น ลีโอนูรีน (Leonurine) ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้มดลูกบีบตัว และมีสาร Stachydrine, Leonuridine, Leonurinine เป็นต้น ส่วนข้อมูลอีกแหล่งระบุว่าลำต้นมีน้ำมันหอมระเหย 0.5% มีสารแอลคาลอยด์ ลีโอนูรีน ลักษณะเป็นผงอสัณฐานสีส้ม, มีสาร iridoids, leonuride ฯลฯ มีสารฟลาโวนอยด์ เช่น อะพิจีนีน, รูติน, เควอซิติน และอื่น ๆ[5] กัญชาเทศ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ทำให้หลอดเลือดหดตัว ต้านการแข็งตัวของเลือด ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ[6] น้ำต้มของลำต้นหรือสารสกัดจากแอลกอฮอล์ เมื่อนำมาฉีดเข้าหลอดเลือดดำของกระต่ายที่นำมาทดลองหรือให้กระต่ายทดลองกิน พบว่ามดลูกของกระต่ายที่อยู่ในร่างกายหรือนำออกมานอกร่างล้วนมีการบีบตัวแรงและถี่ขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่า น้ำต้มมีประสิทธิภาพในการบีบตัวแรงกว่าสารที่สกัดได้จากแอลกอฮอล์ และยังพบว่าการออกฤทธิ์นั้นคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง แต่ประสิทธิภาพจะด้อยกว่า เมื่อนำสารแอลคาลอยด์ที่ได้จากต้นกัญชาเทศ มาฉีดเข้าเส้นเลือดดำของกระต่ายที่นำมาทดลอง พบว่ามีผลทำให้กระต่ายมีการขับปัสสาวะถี่ขึ้น น้ำต้มหรือน้ำแช่ของลำต้นกัญชาเทศ มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อแบคทีเรียของโรคผิวหนังได้[5] แอลคาลอยด์![]() แอลคาลอยด์ที่แยกได้จากพืชชนิดนี้ได้แก่:[8]
อ้างอิง
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia