กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Caucasian languages)[ 3] หรือกลุ่มภาษาปอนติก หรืออับคาซ-อะดืยเก เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเทือกเขาคอเคซัส [ 4] โดยเฉพาะในรัสเซีย จอร์เจีย และตุรกี และมีผู้พูดภาษาเหล่านี้กลุ่มเล็กๆในตะวันออกกลาง ทางยูเนสโกจัดให้ภาษาทั้งหมดอยู่ในช่วง "เสี่ยงต่อการสูญหาย" หรือ "เสี่ยงต่อการสูญหายอย่างมาก"[ 5]
ลักษณะสำคัญ
กลุ่มภาษานี้ทั้งหมดมีเสียงสระน้อย ( 2 หรือ 3 เสียง) แต่มีเสียงพยัญชนะมาก ตัวอย่างเช่น ภาษาอูบึก มีสระเพียง 2 เสียง แต่ถือเป็นภาษาที่มีเสียงพยัญชนะมากที่สุดสำหรับภาษาที่อยู่นอกเขตแอฟริกาตอนใต้ ซึ่งนักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่าการเกิดเสียงพยัญชนะจำนวนมากเกิดจากการรวมกันของเสียงพยัญชนะที่อยู่ใกล้เคียงกันหรือกับเสียงพยัญชนะที่กลายมาจากเสียงกึ่งสระและควบรวมกันกลายเป็นพยัญชนะใหม่ และอาจเกิดจากระบบอุปสรรคในไวยากรณ์สมัยโบราณ ที่เสียงพยัญชนะที่เป็นอุปสรรคควบรวมกับพยัญชนะอีกตัวกลายเป็นเสียงพยัญชนะใหม่ เช่นกัน
ไวยากรณ์
ภาษาในกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือมีระบบนามแบบการกที่เรียบง่าย แต่มีระบบของคำกริยาที่ซับซ้อนจนดูเหมือนว่าโครงสร้างของประโยคทั้งหมดรวมอยู่ภายในคำกริยา
การจัดจำแนก
ภาษาในกลุ่มนี้มี 5 ภาษาคือ ภาษาอับฮาเซีย ภาษาอบาซา ภาษากาบาร์เดีย หรือภาษาเซอร์คาเซียตะวันออก ภาษาอะดืยเก หรือเซอร์คาเซียตะวันตก และภาษาอูบึกซึ่งตายแล้ว
ภาษาอะดืยเก เป็นภาษาที่มีจำนวนผู้พูดมากภาษาหนึ่งในกลุ่มนี้ มี 500,000 คน ในรัสเซียและตะวันออกกลาง แบ่งเป็นในตุรกี 180,000 คน ในรัสเซีย 125,000 คน และเป็นภาษาราชการในสาธารณรัฐอะดืยเกีย ในจอร์แดน 45,000 คน ในซีเรีย 25,000 คน และในอิรัก 20,000 คน มีผู้พูดจำนวนเล็กน้อยในสหรัฐ
ภาษากาบาร์เดีย มีผู้พูดทั้งหมดราว 1 ล้านคน แบ่งเป็นในตุรกี 550,000 คน และในรัสเซีย 450,000 คน และเป็นภาษาราชการในสาธารณรัฐกาบาร์ดิโน-บัลกาเรีย และสาธารณรัฐการาเชย์-เซอร์กัสเซีย มีเสียงพยัญชนะน้อยที่สุดในกลุ่มนี้คือมีเพียง 48 เสียง
ภาษาอับฮาเซีย มีผู้พูดราว 100,000 คนในอับคาเซีย ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองในจอร์เจียและเป็นภาษาราชการด้วย จำนวนผู้พูดในตุรกีไม่แน่นอน ภาษานี้เริ่มใช้เป็นภาษาเขียนเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 บางครั้งจัดให้เป็นภาษาเดียวกับภาษาอบาซา โดยแยกเป็นคนละสำเนียงเพราะมีความใกล้เคียงกันมาก
ภาษาอบาซา มีผู้พูดทั้งหมด 45,000 คน แบ่งเป็นในรัสเซีย 35,000 คน และในตุรกี 10,000 คน มีการใช้เป็นภาษาเขียนแต่ไม่มีสถานะเป็นภาษาราชการ
ภาษาอูบึก เป็นภาษาที่ใกล้เคยงกับภาษาอับคาซและภาษาอบาซามากกว่าอีก 2 ภาษาของกลุ่มนี้ ผู้พูดภาษานี้เปลี่ยนไปพูดภาษาอะดืยเก ภาษาอูบึกเป็นภาษาตายอย่างแท้จริงเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2535 เมื่อ ผู้พูดภาษานี้คนสุดท้ายคือ เตฟฟิก เอเซนต์ เสียชีวิตลง จัดเป็นภาษาที่มีเสียงพยัญชนะมากที่สุดในโลกเพราะมีถึง 81 เสียง ไม่มีการใช้เป็นภาษาเขียน
ความสัมพันธ์กับภาษาอื่น
ความเชื่อมโยงกับภาษาฮัตติก
ในอดีตจนถึง 1,257 ปีก่อนพุทธศักราช บริเวณอนาโตเลีย รอบๆฮัตตูซา ซึ่งต่อมาถูกยึดครองโดยชาวฮิตไตต์ เคยเป็นดินแดนของชาวฮัตเตียนมาก่อน ซึ่งพูดภาษาที่ไม่ใช่ตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน และไม่เกี่ยวข้องกับภาษาฮิตไตต์ ภาษาฮัตติก ที่เป็นภาษาโดดเดี่ยวนี้อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มภาษานี้ได้
ความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน
กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนืออาจเคยมีความเกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนมาก่อนเมื่อ 12,000 ปีก่อนหน้านี้ โดยมีภาษษปอนดิกดั้งเดิมเป็นภาษาในยุคเริ่มแรกแต่แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับเท่าใดนัก[ 6] [ 7]
ความเชื่อมโยงกับกลุ่มภาษาคอเคซัสเหนือ
นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่รวมกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือเข้ากับกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มภาษาคอเคซัสเหนือ แต่ความเชื่อมโยงของภาษาสองกลุ่มนี้มีไม่มากนัก
ความเชื่อมโยงระดับสูง
มีนักภาษาศาสตร์บางคนพยายามเชื่อมโยงในระดับที่สูงกว่านี้ เช่นเชื่อมโยงเข้ากับภาษาเดเน-คอเคเซียน ภาษาบาสก์ ภาษาบูรูศัสกี ภาษาเยนิสเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีความพยายามเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ตระกูลภาษายูราลิก ตระกูลภาษาอัลไตอิก ตระกูลภาษาคาร์ทเวเลียน แต่ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด
อ้างอิง
↑ Matthews, W. K. (2013). Languages of the USSR . Cambridge University Press. p. 147. ISBN 9781107623552 .
↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Abkhaz–Adyge" . Glottolog 2.2 . Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
↑ "Archived copy" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-08-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20 .{{cite web }}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์ )
↑ Hoiberg, Dale H. (2010)
↑ "UNESCO Atlas of the World's Languages in danger" . www.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-06-03 .
↑ Colarusso, John (2003). "Further Etymologies between Indo-European and Northwest Caucasian". Current Trends in Caucasian, East European and Inner Asian Linguistics, Papers in Honor of Howard Aronson . Amsterdam: Dee Ann Holisky and Kevin Tuite . pp. 41–60.
↑ Colarusso, John (1997), "Phyletic Links between Proto-Indo-European and Proto-Northwest Caucasian", The Journal of Indo-European Studies , 25 (1–2): 119–151
ข้อมูล
Burney, Charles (2004). Historical dictionary of the Hittites . Historical Dictionaries of Ancient Civilizations and Historical Era. Lanham, MD: Scarecrow Press. ISBN 978-0810849365 .
Chirikba, Viacheslav (1996). Common West Caucasian. The Reconstruction of its Phonological System and Parts of its Lexicon and Morphology . Leiden: Research School CNWS, School of Asian, African, and Amerindian Studies. ISBN 978-9073782716 .
Colarusso, John (1997). "Phyletic Links between Proto-Indo-European and Proto–Northwest Caucasian". The Journal of Indo-European Studies . Chicago Linguistic Society. 25 (1–2): 119–151.
Colarusso, John (2003). "Further Etymologies between Indo-European and Northwest Caucasian". ใน Holisky, Dee Ann; Tuite, Kevin (บ.ก.). Current Trends in Caucasian, East European and Inner Asian Linguistics, Papers in Honor of Howard Aronson . Current Issues in Linguistic Theory. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company. pp. 41 –60. ISBN 978-1588114617 .
Hoiberg, Dale H., บ.ก. (2010). "Abkhazo-Adyghian languages" . Encyclopedia Britannica . Vol. I: A-ak Bayes (15th ed.). Chicago, IL: Encyclopedia Britannica Inc. p. 33 . ISBN 978-1-59339-837-8 .
Nichols, Johanna (Mar 1986). "Head-Marking and Dependent-Marking Grammar" . Language . Linguistic Society of America. 62 (1): 56–119. doi :10.1353/lan.1986.0014 . JSTOR 415601 . S2CID 144574879 .
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น