กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 ธันวาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสเพ็ญพรรณ เสียมภักดี

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2489) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เป็นบุตรของนายสง เสียมภักดี อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสียมภักดี[1] และนางฟองจันทร์ เสียมภักดี มีพี่น้อง 7 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) จากสถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี สมรสกับนางเพ็ญพรรณ มีบุตร 2 คน

การทำงาน

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี เป็นอดีตข้าราชการ ในกระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการคือ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่[2]

ต่อมาได้ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน[3] พร้อมกับนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ และ ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และได้รับการเลือกตั้ง ต่อมา พ.ศ. 2554 ได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย[4][5]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากต้องการพักผ่อน[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคพลังประชาชน
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
ภาพรถหาเสียง ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พ.ศ. ๒๕๑๒ข่าวเหตุการณ์หลังจากไฟไหม้ตลาดต้นลำใยและตลาดวโรรสในอดีต[ลิงก์เสีย]
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-14.
  3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23
  4. "นายกฤษดาภรณ์ เสียมภักดี - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-05. สืบค้นเมื่อ 2011-12-29.
  5. เด็ก "เติ้ง" กวนใจพท.วืดยึดเหนือตอนบน
  6. พท.วางตัวว่าผู้สมัคร ส.ส.เชียงใหม่ 9 เขต เผยเขต 3 บ้านเกิด ‘แม้ว-ปู’ ตระกูลชินวัตรไม่ส่งตัวแทน
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๓, ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๖๕, ๓๐ มกราคม ๒๕๔๒

แหล่งข้อมูลอื่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia