กระบี่ไร้เทียมทาน
กระบี่ไร้เทียมทาน (จีน: 天蠶變) เป็นละครโทรทัศน์ประเภทบันเทิงคดีกำลังภายใน จำนวน 60 ตอน ในปีพ.ศ.2522 (1979) ผลิตและออกอากาศทางช่อง อาร์ทีวี(เอทีวี) (Rediffusion Television) ในฮ่องกง[1] โดยเรตติ้งเฉลี่ย 22.5 % ของจำนวนประชากรฮ่องกงทั้งหมดในปีนั้น เท่ากับมีคนดูสดเฉลี่ยต่อตอนอยู่ที่ 1,109,250 คนในฮ่องกง (เรื่องแรกของช่อง RTV ที่มีผู้ชมดูสดเฉลี่ยต่อตอนเกินล้านคน) และยังถูกสร้างเป็นภาพยนตร์โดยชอว์บราเดอร์ในปี 1983 โดยมีฉีเส้าเฉียนกลับมารับบท ฮุ้น ปวยเอี๊ยง อีกครั้ง เรื่องย่อเรื่องราวคือการเดินทางของฮีโร่ที่ชื่อ ฮุ้น ปวยเอี๊ยง จากคนรับใช้ผู้ต่ำต้อยในสำนักบู๊ตึ๊ง สู่การเป็นนักสู้ที่โดดเด่นในโลกแห่งการต่อสู้ โครงเรื่องแม้ว่า ฮุ้น ปวยเอี๊ยง (หยุน เฟยหยาง) ดูเหมือนจะไร้ความสามารถด้านการต่อสู้ และถูกศิษย์ในสำนักดูหมิ่น แต่จริง ๆ แล้วเขาเป็นนักสู้ที่มีความสามารถมากที่สุดในบรรดาศิษย์ทุก ๆ คนในสำนัก ทุกคืนตั้งแต่วัยเด็ก ฮุ้น ปวยเอี๊ยง แอบฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ในป่าซึ่งสอนเขาโดยอาจารย์สวมหน้ากากซึ่งมีตัวตนเป็นความลับแม้กระทั่งสำหรับเขาด้วย เขาเป็นลูกนอกสมรสของ แชซ้ง เจ้าสำนักบู๊ตึ๊ง อย่างไรก็ตามในลัทธิเต๋าเขาต้องเป็นพรหมจรรย์ แชซ้งไม่กล้ายอมรับว่า ฮุ้น ปวยเอี๊ยง เป็นลูกชายของเขา หรือด้วยความกลัวที่จะถูกค้นพบความจริงจึงยอมรับ ฮุ้น ปวยเอี๊ยง เป็นลูกศิษย์อย่างเป็นทางการของสำนัก การแข่งขันกับละครของทีวีบีและการเปลี่ยนตัวกลางปีพ.ศ. 2522 (1979) อาร์ทีวี ได้เปิดตัวละครศิลปะการต่อสู้เรื่อง "กระบี่ไร้เทียมทาน" (Reincarnated 1979) นำแสดงโดย "ฉีเส้าเฉียน" รับบท ฮุ้นปวยเอี้ยง, เหมียวเข่อซิ่ว รับบท ต๊กโกวหงส์, หม่าเหมียนเอ๋อ รับบท ลุ้นอ้วงยี้ และหวีอันอัน รับบท โป่วเฮียงกุน ออกอากาศ 9 กรกฎาคม - 28 กันยายน พ.ศ. 2522 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 20:00-21:00 น. เป็นละครที่ถ่ายไปออกอากาศไป เมื่อลงสู่จอโทรทัศน์โดยรอบปฐมทัศน์เปิดตัวละครสัปดาห์แรก(จันทร์ถึงศุกร์) สามารถมีผู้ชมโดยเฉลี่ยมากกว่าหนึ่งล้านสองแสนคนในฮ่องกง จากความนิยมปากต่อปาก ต่อมาในสัปดาห์ที่สอง(จันทร์ถึงศุกร์) ได้สร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับทางช่องอาร์ทีวี คือ สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าละครจากทีวีบีที่ฉายชนในช่วงเวลาเดียวกันได้เป็นครั้งแรก โดยมีผู้ชมโดยเฉลี่ยถึงหนึ่งล้านห้าแสนคนในฮ่องกง และยังคงทำเรตติ้งได้ดีอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์ถัด ๆ มา จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะถ่ายทำแค่ 30 ตอนจบ ด้วยความนิยมเป็นอย่างดี อาร์ทีวีเพิ่มเป็น 60 ตอนจบ ต่อมา ฉีเส้าเฉียน เริ่มมีปัญหากับทางช่องและมีข่าวลือตามมาอีกมากมาย จึงทำให้ต้องมีการเปลี่ยนตัวพระเอกของเรื่องเป็น กู้กวนจง แทนในภายหลัง ถึงแม้ว่าในตอนนั้น ฉีเส้าเฉียน จะกลายเป็นฮุ้นปวยเอี้ยงที่ครองใจผู้ชมละครทางช่องอาร์ทีวี แต่ด้วยการแสดงที่กล้าหาญและไม่ธรรมดาของ กู้กวนจง ซึ่งไม่ได้ด้อยกว่า ฉีเส้าเฉียน ทำให้ละครเรื่องนี้ยังคงได้รับความนิยมในระดับที่ดี สามารถทำ%เรตติ้งผู้ชมได้ 40% (ไม่ใช่เรตติ้งเฉลี่ยแต่เป็นเรตติ้งสูงสุด)[2]สำหรับช่องอาร์ทีวีถือว่าเรตติ้งดังกล่าวสูงมากแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีละครทางช่องอาร์ทีวีเรื่องไหนทำเรตติ้งได้ขนาดนี้มาก่อน เพื่อขัดขวางเรตติ้งไม่ให้สูงไปกว่านี้ทางทีวีบีได้แก้เกมโดยหยิบบางตอนในนวนิยายของโกวเล้งเรื่อง "ชอลิ่วเฮียง จอมโจรจอมใจ" มาสร้างและดึงนักแสดงชั้นแนวหน้าของทางช่อง อย่าง เจิ้งเส้าชิว มารับบท ชอลิ้วเฮียง,เจ้าหย่าจือ รับบท โซวย่งย้ง,วังหมิงฉวน รับบท ซิมฮุ่ยซัง,อู๋ม่งต๊ะ รับบท โอวทิฮวย เป็นต้น และเร่งการถ่ายทำ เพื่อจะชิงพื้นที่ของเรตติ้งที่หายไปกลับคืนมาจากละครของทางอาร์ทีวีเรื่องนี้ เมื่อได้ออกอากาศในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2522 ชนกับ กระบี่ไร้เทียมทาน ในที่สุดทาง ทีวีบี ก็สามารถขัดขวางเรตติ้งละคร "กระบี่ไร้เทียมทาน" ได้สำเร็จทำให้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนในช่วงท้าย ๆ ของ กระบี่ไร้เทียมทาน ทำได้น้อยมาก เรตติ้งในฮ่องกงสำหรับช่อง อาร์ทีวี (เอทีวี) ถือว่าละครเรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน ประสบความสำเร็จ ในเชิงฝ่ากำแพง "ค่านิยมดูเฉพาะช่องทีวีบีของชาวฮ่องกง" ได้สำเร็จ(ชั่วขณะ)
เป็นที่ทราบกันดีว่าโดยทั่วไปเรตติ้งละครของช่อง ทีวีบี (TVB) จะสูงมากกว่าช่อง อาร์ทีวี (RTV)หรือเอทีวี (ATV) อยู่หลายเท่า หรือแม้แต่ละครธรรมดาที่ไม่ค่อยฮิตของทีวีบี ก็ยังมีเรตติ้งที่สูงกว่า ละครฮิตของช่องอาร์ทีวี(เอทีวี) เนื่องจาก วัฒนธรรมการดูโทรทัศน์ในฮ่องกง "(ค่านิยมดูเฉพาะช่องทีวีบี)" ได้ฝังรากลึกอยู่ในใจของผู้ชม(ส่วนใหญ่)ชาวฮ่องกง ส่งผลให้ช่องทีวีบีมีเรตติ้งที่สูงมากและสูงกว่าทุกช่องที่เป็นคู่แข่ง ในยุคทองของเรตติ้งละครในฮ่องกง คือช่วง ค.ศ. 1977-1989 ละครของช่องทีวีบีจะมีผู้ชมโดยเฉลี่ย 2-3 ล้านคนดูต่อตอนเป็นประจำทุกคืนอยู่แล้ว แล้วแต่ว่าเรื่องไหนคนดูจะเยอะกว่ากัน และโดยส่วนใหญ่จำนวนผู้ชมละครของทางช่องอาร์ทีวี(เอทีวี) เฉลี่ยจะอยู่ที่ 5 แสนคน ถึงสูงสุดไม่เกิน 1.5 ล้านคนดูต่อตอน ดังนั้นละครของทางช่องนี้จึงมีจำนวนมากมายหลายเรื่องที่มียอดคนดูเฉลี่ยต่อตอนอยู่ที่ 500,000-999,999 คนเท่านั้น และจะมีน้อยเรื่องที่สามารถสร้างปรากฎการณ์ทำยอดคนดูเฉลี่ยถึง 1 ล้านคน สำหรับช่องอาร์ทีวี(เอทีวี) ถ้ามีละครเรื่องไหนทำยอดผู้ชมเฉลี่ยต่อตอนถึงหนึ่งล้านคนขึ้นไปจะถูกเรียกว่า "ประสบความสำเร็จ" ในขณะเดียวกันในช่วงยุคทองของวงการโทรทัศน์ เรตติ้งเฉลี่ยหนึ่งล้านคนสำหรับช่องทีวีบี ถือว่าน้อยมาก ละครของช่องอาร์ทีวี(เอทีวี) มีจำนวนมากมายที่เรตติ้งเฉลี่ยไม่ถึง 20 จุดเปืด ดังนั้น ละครเรื่อง "กระบี่ไร้เทียมทาน" นับได้ว่าเป็นหนึ่งในละครน้อยเรื่องของทางช่องอาร์ทีวี(เอทีวี)ที่มียอดผู้ชมเฉลี่ยต่อตอนเกิน หนึ่งล้านคนดู ถือได้ว่า ประสบความสำเร็จมากแล้ว สำหรับช่องอาร์ทีวี(เอทีวี) และยังมีละครเรื่องอื่น ๆ เช่น "แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด" (大地恩情 1980) และ "วัยฝัน ยอดนักไอคิว" (IQ成熟時 1981) ที่มียอดผู้ชมโดยเฉลี่ยเกินหนึ่งล้านคนดูต่อตอนได้ด้วยเช่นกัน เรตติ้ง(ครั้งแรก)ในเมืองไทยในปีพ.ศ. 2523 ทางช่อง 3 มีละครฮ่องกงที่สร้างปรากฎการณ์ ฮิตถล่มทลายทั่วประเทศไทยถึงสองเรื่องในปีเดียวกัน คือ กระบี่ไร้เทียมทาน และ เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ในอดีตละครชุดเรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน ได้มีการออกอากาศครั้งแรกทางช่อง 3 ในปีพ.ศ. 2523 สร้างความเกรียวกราวในไทยมาก และมีเรตติ้งตอนจบ สูงถึง 88% (จากจุดเปิดที่สามารถรับชมช่อง 3 ได้ทั่วประเทศ) ส่งให้ดารานำทั้งสามคนคือ ฉีเส้าเฉียน , กู้กวนจง และ หวีอันอัน กลายเป็นขวัญใจจอแก้วในเมืองไทย ทันที เรตติ้งดังกล่าวสูงเป็นอันดับสองรองจากละครฮิตของทีวีบีที่ฉายทางช่อง 3 ในปีเดียวกัน คือ เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ที่มีเรตติ้งตอนจบ สูงถึง 90% (จากจุดเปิดที่สามารถรับชมช่อง 3 ได้ทั่วประเทศ) การออกอากาศในต่างประเทศตอนออกอากาศ(ครั้งแรก) ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นทั้งในไต้หวัน และ ไทย อีกทั้งบทเพลงนำประกอบละครก็เป็นที่จดจำ โดยในไทย ได้ออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2523 (1980) ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ แต่เมื่อออกอากาศไปได้สักระยะ ละครได้รับความนิยมอย่างมากจนทางช่องต้องขยายวันออกอากาศเป็นจันทร์ถึงศุกร์ โดยมี จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร และศิริพร วงศ์สวัสดิ์ ให้เสียงพากย์ ต่อมามีการสร้างเป็นภาพยนต์ในค่าย ชอว์บราเดอร์ ในปีพ.ศ. 2526 (1983) เรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน (Bastard Swordsman) เป็นเรื่องราวอิงจากละครเรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน ตามต่อด้วยภาพยนต์เรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน ภาค 2 (Return Of Bastard Swordsman 1984) อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia