กรดมาลิก
DL -Malic acid
ชื่อ
Preferred IUPAC name
2-Hydroxybutanedioic acid
ชื่ออื่น
Hydroxybutanedioic acid 2-Hydroxysuccinic acidL -Malic acidD -Malic acid (–)-Malic acid (+)-Malic acid (S )-Hydroxybutanedioic acid (R )-Hydroxybutanedioic acid
เลขทะเบียน
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard
100.027.293
EC Number
เลขอี
E296 (preservatives)
KEGG
UNII
InChI=1S/C4H6O5/c5-2(4(8)9)1-3(6)7/h2,5H,1H2,(H,6,7)(H,8,9)
Y Key: BJEPYKJPYRNKOW-UHFFFAOYSA-N
Y InChI=1/C4H6O5/c5-2(4(8)9)1-3(6)7/h2,5H,1H2,(H,6,7)(H,8,9)
Key: BJEPYKJPYRNKOW-UHFFFAOYAM
คุณสมบัติ
C 4 H 6 O 5
มวลโมเลกุล
134.087 g·mol−1
ความหนาแน่น
1.609 g cm−3
จุดหลอมเหลว
130 องศาเซลเซียส (266 องศาฟาเรนไฮต์; 403 เคลวิน)
558 g/L (ที่ 20 °C)[ 1]
pKa
pK a1 = 3.40, pK a2 = 5.20 [ 2]
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
มาเลต
กรดซักซินิก กรดทาร์ทาริก กรดฟูมาริก
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
n-บิวทานอล บิวทีรัลดีไฮด์ โครโตนัลดีไฮด์ โซเดียมมาเลต
Chemical compound
กรดมาลิก (อังกฤษ : malic acid ) เป็นสารประกอบอินทรีย์ ที่มีสูตรเคมีคือ C4 H6 O5 เป็นกรดไดคาร์บอกซิลิก ที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดผลิตได้ กรดมาลิกมีสองแบบคือแบบ L และแบบ D มีเฉพาะแบบ L ที่พบในธรรมชาติ เกลือ และเอสเทอร์ ของกรดมาลิกเรียกว่า มาเลต มาเลตมีความสำคัญในปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอน C4 เป็นแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์ ในวัฏจักรแคลวินและแอนไอออนของมาเลตเป็นสารมัธยันตร์ในวัฏจักรกรดซิตริก
คาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ นักเคมีชาวเยอรมัน/สวีเดนสกัดกรดมาลิกจากน้ำแอปเปิล เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1785[ 3] สองปีต่อมา อ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีชาวฝรั่งเศสตั้งชื่อสารนี้ว่า acide malique ตามคำในภาษาละติน mālum ที่แปลว่าแอปเปิล [ 4] [ 5] กรดมาลิกทำให้แอปเปิลเขียวมีรสเปรี้ยวและให้รสชาติอย่างเด่นชัดในรูบาร์บ นอกจากนี้ยังพบในองุ่น ทำให้ไวน์มีรสเปรี้ยว อย่างไรก็ตาม กรดมาลิกในองุ่นจะลดลงเมื่อผลองุ่นสุก เมื่อใช้ในอาหารกรดมาลิกจะมีเลขอี เท่ากับ E296 ผสมในลูกอมให้รสเปรี้ยวจัด กรดมาลิกได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหารในสหภาพยุโรป[ 6] สหรัฐอเมริกา[ 7] ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[ 8]
อ้างอิง
↑ "chemBlink Database of Chemicals from Around the World" . chemblink.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-10-30. สืบค้นเมื่อ 2016-11-21 .
↑ Dawson, R. M. C. et al., Data for Biochemical Research , Oxford, Clarendon Press, 1959.
↑ Carl Wilhelm Scheele (1785) "Om Frukt- och Bår-syran" (On fruit and berry acid), Kongliga Vetenskaps Academiens Nya Handlingar (New Proceedings of the Royal Academy of Science), 6 : 17-27. From page 21: " … vil jag hådanefter kalla den Åple-syran." ( … I will henceforth call it apple acid .)
↑ de Morveau, Lavoisier, Bertholet, and de Fourcroy, Méthode de Nomenclature Chimique (Paris, France: Cuchet, 1787), p. 108.
↑ The Origin of the Names Malic, Maleic, and Malonic Acid Jensen, William B. J. Chem. Educ. 2007 , 84, 924. Abstract เก็บถาวร 2007-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ UK Food Standards Agency: "Current EU approved additives and their E Numbers" . สืบค้นเมื่อ 2011-10-27 .
↑ US Food and Drug Administration: "Listing of Food Additives Status Part II" . สืบค้นเมื่อ 2011-10-27 .
↑ Australia New Zealand Food Standards Code"Standard 1.2.4 - Labelling of ingredients" . สืบค้นเมื่อ 2011-10-27 .
แหล่งข้อมูลอื่น