กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขต
![]() กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขต (อังกฤษ: territorial dispute) เป็นการที่องค์กรซึ่งเป็นรัฐชาติตั้งแต่สององค์กรหรือกว่านั้นขัดแย้งกันเรื่องการครอบครองอาณาเขต หรือเป็นความขัดแย้งจากการที่รัฐเกิดใหม่หรือผู้เข้ายึดครองอ้างว่า ดินแดนใด ๆ เป็นอาณาเขตของตน เพราะตนได้ดินแดนนั้นมาจากรัฐอื่น และตนไม่รับรองการมีอยู่ของรัฐอื่นนั้นอีก (รัฐอื่นนั้นกลายเป็นของตนแล้ว) กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตมักเกี่ยวข้องกับการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ไร่สวนเรือกนาอันอุดมสมบูรณ์ หรือขุมน้ำมัน และอาจถูกขับเคลื่อนด้วยอุดมคติทางการเมือง วัฒนธรม ศาสนา หรือชาตินิยม ทั้งมักเป็นผลมาจากข้อความเคลือบคลุมในสนธิสัญญากำหนดอาณาเขตเดิม กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตยังเป็นสาเหตุหลักของสงครามและการก่อการร้าย เพราะรัฐทั้งหลายมักพยายามจะอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนใด ๆ โดยเข้ารุกรานดินแดนนั้น ขณะที่องค์กรซึ่งยังไม่เป็นรัฐชาติก็มักพยายามก่อการร้ายเพื่อสร้างอิทธิพลเหนือกิจกรรมทางการเมือง อย่างไรก็ดี กฎหมายระหว่างประเทศไม่สนับสนุนให้รัฐใช้กำลังผนึกดินแดนรัฐอื่นเข้าสู่รัฐตน เช่น กฎบัตรสหประชาชาติระบุว่า
บางครั้งเมื่ออาณาเขตไม่แน่ชัด คู่พิพาทอาจกำหนดเส้นควบคุม (line of control) ไว้เป็นเขตแดนระหว่างประเทศในทางนิตินัย เช่น กรณีอักไสชิน ช่องแคบไต้หวัน และกัศมีร์ แต่การกำหนดเส้นควบคุมนี้ แม้กระทำกันชัดเจนมั่นคง ก็ไม่มีผลเป็นการตกลงเขตแดนระหว่างประเทศโดยชอบธรรม ในกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตนั้น ยังมีศัพท์บางศัพท์ คือ
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia