คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของแก๊สเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
บทความนี้สรุปประวัติศาตร์พัฒนาการของกฎซึ่งอธิบายแก๊สอุดมคติ รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับกฎของแก๊สอุดมคติและพัฒนาการ ดู
แก๊สอุดมคติ
กฎของแก๊ส (อังกฤษ: Gas laws) พัฒนาขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 เมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มตระหนักว่าสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างความดัน (
) ปริมาตร (
) และอุณหภูมิ (
) ของแก๊สตัวอย่าง ซึ่งจะเป็นค่าประมาณสำหรับแก๊สทั้งหมด สำหรับรายละเอียดของกฎข้างต้นและกฎอื่น ๆ จะได้อธิบายข้างล่างนี้
กฎของบอยล์
ในปี 1662 โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle) นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและความดันของแก๊สที่มีปริมาณและอุณหภูมิคงตัว เขาสังเกตว่าปริมาตรของแก๊สที่มีมวลหนึ่ง ๆ แปรผกผันกับความดันของแก๊ส กฎของบอยล์ตีพิมพ์ในปี 1662 กล่าวว่า หากอุณหภูมิคงตัว ผลคูณของความดันและปริมาตรของแก๊สอุดมคติที่มีมวลหนึ่ง ๆ ในระบบปิดเป็นค่าคงตัวเสมอ สามารถยืนยันได้โดยการทดลองใช้เครื่องวัดความดันและภาชนะที่มีปริมาตรไม่คงตัว และยังหาได้จากทฤษฎีจลน์ของแก๊ซ เมื่อลดปริมาตรภาชนะที่มีจำนวนโมเลกุลที่แน่นอนอยู่ภายใน ทำให้โมเลกุลชนกับพื้นผิวของภาชนะมากขึ้นต่อหน่วยเวลา ส่งผลให้ความดันเพิ่มขึ้น
กฎของบอยล์เป็นดังต่อนี้
ปริมาตรของแก๊สที่มีมวลหนึ่ง ๆ แปรผกผันกับความดันเมื่ออุณหภูมิคงตัว
แสดงความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ดังสมการ
![{\displaystyle V\propto {\frac {1}{P}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/af5d27fb746798dd4fcbd49c72bd41c496b7a32b)
หมายความว่า ปริมาตรแปรผกผันกับความดัน หรือ
![{\displaystyle P\propto {\frac {1}{V}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/36e185ae17420ddc45220bfc1572201e27f4131d)
หมายความว่า ความดันแปรผกผันกับปริมาตร หรือ
![{\displaystyle PV=k_{1}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/376a5d33d1cb214ee04947f322227db1653138e2)
หมายความว่า ผลคูณของความดันและปริมาตรของแก๊สเท่ากับค่าคงตัว
ดังนั้น
![{\displaystyle P_{1}V_{1}=P_{2}V_{2}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/522e50ea8f8539521eff96ee2eafe2f36872e79a)
เมื่อ
คือ ความดัน
คือ ปริมาตร
คือ ค่าคงตัวในสมการนี้ (ไม่เท่ากันกับค่าคงตัวของสมการอื่นในบทความนี้)
กฎของชาร์ล
กฎของชาร์ลค้นพบในปี 1787 โดยฌัก อาแล็กซ็องดร์ เซซาร์ ชาร์ล (Jacques Alexandre César Charles) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า แก๊สอุดมคติที่มีมวลหนึ่ง ๆ ในความดันคงตัว ปริมาตรจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิสัมบูรณ์ของแก๊สนั้น ๆ ในระบบปิด
กฎของชาร์ลเป็นดังต่อไปนี้
ปริมาตรของแก๊สที่มีมวลหนึ่ง ๆ ในความดันคงตัวจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิ
แสดงความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ดังสมการ
![{\displaystyle V\propto T}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/fdd10ef227c1e2f9bb313f1c9eeaefc6886c6376)
หรือ
![{\displaystyle {\frac {V}{T}}=k_{2}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/7bd3cd84a4d5a04371a54f2d5098ae6febb933d8)
ดังนั้น
![{\displaystyle {\frac {V_{1}}{T_{1}}}={\frac {V_{2}}{T_{2}}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/dac6c4cc0111f3adcee36af38f87a7de1634f9a8)
เมื่อ
คือ ปริมาตร
คือ อุณหภูมิ (K)
คือ ค่าคงตัวในสมการนี้ (ไม่เท่ากันกับค่าคงตัวของสมการอื่นในบทความนี้)
กฎของแก-ลูว์ซัก
กฎของแก-ลูว์ซัก (บางครั้งเขียนว่ากฎของเก-ลัสแซกหรือกฎของเกย์ลูสแซก) ค้นพบโดยโฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก (Joseph Louis Gay-Lussac) นักฟิสิกส์และนักเคมีชาวฝรั่งเศสในปี 1808 กล่าวว่า แก๊สอุดมคติที่มีมวลหนึ่ง ๆ และมีปริมาตรคงตัว ความดันที่กระทำต่อภาชนะจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิสัมบูรณ์
แสดงความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ดังสมการ
![{\displaystyle P\propto T}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/a884dffc64a6ac1fc8a41a5937b0d3fd021c3cc8)
หรือ
![{\displaystyle {\frac {P}{T}}=k_{3}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/3d055244f960d841fd5a303583c7c1a85449ec7a)
ดังนั้น
![{\displaystyle {\frac {P_{1}}{T_{1}}}={\frac {P_{2}}{T_{2}}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/6f47b00a91dd94ee017658d246ba3a11a2ef9bc1)
เมื่อ
คือ ความดัน
คือ อุณหภูมิ (K)
คือ ค่าคงตัวในสมการนี้ (ไม่เท่ากันกับค่าคงตัวของสมการอื่นในบทความนี้)
กฎของอโวกาโดร
กฎของอโวกาโดรสันนิษฐานว่าค้นพบเมื่อปี 1811 กล่าวว่า หากอุณหภูมิและความดันคงตัว ปริมาตรของแก็สอุดมคติจะแปรผันตรงกับจำนวนโมเลกุลของแก๊สในภาชนะ นำมาสู่ปริมาตรโมลาร์ของแก๊สที่ STP (273.1 K, 1 atm) ประมาณ 22.4 L
แสดงความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ดังสมการ
![{\displaystyle V\propto n\,}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/c9f99343e99cb03010c68a0e77de2c9117c928e0)
หรือ
![{\displaystyle {\frac {V_{1}}{n_{1}}}={\frac {V_{2}}{n_{2}}}\,}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/50f9d9fb325e1bd777e27d253691e02d6940d963)
เมื่อ
คือ ปริมาตร
คือ จำนวนโมเลกุลของแก๊ส (หรือจำนวนโมลของแก๊ส)
กฎรวมแก๊สและกฎของแก๊สอุดมคติ
จากกฎทั้งสามกฎข้างต้น นำมารวมได้เป็นกฎรวมแก๊ส ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ ของแก๊สที่มีมวล (ปริมาณ) คงตัว ดังสมการ
![{\displaystyle PV=k_{5}T}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/9cf2a30cd6b1bd93ebabac67f9c54c029d799242)
หรือเขียนได้อีกแบบหนึ่งว่า
![{\displaystyle {\frac {P_{1}V_{1}}{T_{1}}}={\frac {P_{2}V_{2}}{T_{2}}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/171a1e95810f86795f3393fdd717a7eb1925fb67)
อาศัยกฎของอาโวกาโดร สามารถเปลี่ยนกฎรวมแก๊สให้เป็นกฎของแก๊สอุดมคติหรือกฎแก๊สสมบูรณ์ ดังสมการ
![{\displaystyle PV=nRT}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/934032db2ac1f12624f85a90eeba651dcf4af377)
เมื่อ
คือ ความดัน (Pa)
คือ ปริมาตร (m2)
คือ จำนวนโมลของแก๊ส
คือ ค่าคงตัวสากลของแก๊ส (8.3144598 kPa∙L∙mol−1∙K−1)
คือ อุณหภูมิ (K)
สูตรที่เหมือนกับกฎนี้คือ
![{\displaystyle PV=Nk_{B}T}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/5a2463a02b226ea66d036b1ae5385986c3d271a8)
เมื่อ
คือ ความดัน (Pa)
คือ ปริมาตร (m2)
คือ จำนวนโมเลกุลของแก๊ส
คือ ค่าคงตัวของโบลต์ซมันน์ (1.381×10−23 J∙K−1)
คือ อุณหภูมิ (K)
สมการเหล่านี้ใช้สำหรับแก๊สอุดมคติอยู่ในสภาวะที่สมมติขึ้นมา ซึ่งไม่ได้พิจารณาปรากฏการณ์ระหว่างโมเลกุล (ดูแก๊สจริง) กฎเหล่านี้จึงไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมที่แท้จริงของแก๊สจริงได้ อย่างไรก็ตาม กฎของแก๊สอุดมคติเป็นการประมาณที่ดีสำหรับแก๊สส่วนมากภายใต้ความดันและอุณภูมิที่พอดี
กฎนี้ส่งผลกระทบที่สำคัญ ดังนี้
- หากอุณหภูมิและความดันของแก๊สคงตัว ปริมาตรจะแปรผันตรงกับจำนวนโมเลกุลของแก๊ส
- หากอุณหภูมิและปริมาตรของแก๊สคงตัว ความดันจะแปรผันตรงกับจำนวนโมเลกุลของแก๊ส
- หากจำนวนโมเลกุลและอุณหภูมิของแก๊สคงตัว ความดันจะแปรผกผันกับปริมาตรของแก๊ส
- หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงแต่จำนวนโมเลกุลของแก๊สยังคงตัว ความดันและ/หรือปริมาตรของแก๊สจะแปรผกผันกับอุณหภูมิ
กฎอื่น ๆ ของแก๊ส
อัตราการแพร่ของโมเลกุลของแก๊สแปรผกผันกับรากที่สองของความหนาแน่นของแก๊ส ณ อุณหภูมิคงตัว นำมารวมกับกฎของอโวกาโดรเนื่องจากปริมาตรเท่ากันจะมีจำนวนโมเลกุลเท่ากัน นั่นคืออัตราการแพร่จะแปรผกผันกับรากที่สองของมวลโมเลกุล
ดังนั้น
เมื่อ
คือ อัตราการแพร่ผ่านของแก๊ส 1
คือ อัตราการแพร่ผ่านของแก๊ส 2
คือ มวลโมลาร์ของแก๊ส 1
คือ มวลโมลาร์ของแก๊ส 2
หากแก๊สแต่ละชนิดและแก๊สผสมอยู่ในอุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน ความดันของแก๊สผสมคือผลรวมของความดันย่อยของแก๊สแต่ละชนิด ดังนี้
เมื่อ
คือ ความดันรวมของแก๊สผสม
คือ ความดันย่อยหรือความดันของแก๊สแต่ละชนิดในอุณหภูมิและปริมาตรหนึ่ง ๆ
หากแก๊สแต่ละชนิดและแก๊สผสมอยู่ในอุณหภูมิและความดันเดียวกัน ปริมาตรของแก๊สผสมคือผลรวมของปริมาตรย่อยของแต่ละส่วนประกอบ ดังนี้
เมื่อ
คือ ปริมาตรรวมของแก๊สผสม
คือ ปริมาตรย่อยหรือปริมาตรของแก๊สแต่ละชนิดในอุณหภูมิและความดันหนึ่ง ๆ
หากอุณหภูมิคงที่ ปริมาณของแก๊สหนึ่ง ๆ ที่ละลายในของเหลวชนิดและปริมาตรหนึ่ง ๆ จะแปรผันตรงกับความดันย่อยของแก๊สในสภาวะสมดุลที่อยู่ในของเหลวนั้น
คิดค้นในปี 1873 โดย Johannes Diderik van der Waals
อ้างอิง